IFRS + AEC กับอนาคตนักบัญชีไทย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาประจำปีของบริษัท Pricewaterhousecoopers เรื่องการพัฒนาการรายงานการเงินประจำปี 2009 ที่โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ ประเด็นสำคัญในการสัมมนาในครั้งนี้คือ update ว่าขณะนี้ สภาวิชาชีพบัญชี มีความคืบหน้าในการปรับปรุงและมีความพร้อมเพียงใดในการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานบัญชีไทย Thai Generally Accepted Accounting Principle หรือ ที่เรียกว่า Thai GAAP มาเป็น มาตรฐานสากล หรือที่เรียกว่า International Financial Reporting Standard IFRS เพื่อให้มาตรฐานบัญชีทุกอย่างรวมกันเป็นมาตรฐานเดียวทั่วโลก ซึ่งบางประเทศได้นำมาตรฐานนี้ไปใช้แล้ว เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ กำหนดให้ทุกบริษัทต้องทำงบการเงินตาม IFRS ตั้งแต่ปี 2005

ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้ได้ยาก เนื่องจากเรายังต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ และยังต้องแสดงให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่มาตรฐานเดียวกันกับหลักมาตรฐานสากลของโลก ซึ่งการที่ประเทศไทยจะนำมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้มาปฏิบัติสามารถเลือกทำได้ 2 วิธีคือ
1. ประกาศรับ IFRS เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานการบัญชี(Adoption approach)
2. พัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทยให้มีรายละเอียดที่ครอบคลุม ลดความแตกต่างและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน IFRS (Convergence approach) อย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับและต่อเนื่อง

ทางสภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้บริษัทไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องนำมาตรฐานฉบับใหม่นี้มาใช้ในปี 2011 และ 2013 ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นความกังวลใจของนักบัญชีไทยในปัจจุบันมิใช่น้อยที่จะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมกับความท้าทายครั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ สำหรับบริษัทที่ผมทำงานในปัจจุบันได้ adopt IFRS มาใช้เป็นที่เรียบร้อยในบางส่วน เพราะเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงค์โปร์

ประกอบกับ เหลืออีกแค่เพียง 6 ปี สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่รู้จักกันในนามอาเซียน จะเดินทางไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ในปี 2015 ที่ชาติ สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 550 ล้านคน จะรวมตัวกลายเป็นฐานตลาดเดียวกันทั้งสินค้า แรงงาน บริการ การลงทุน รวมถึงงานด้านบัญชีการเงินด้วย สามารถที่จะเคลื่อนย้ายระหว่างกันได้อย่างเสรี หมายถึงคนในประเทศอาเซียนสามารถเข้าไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างคล่องตัว

ผมฟังการสัมมนาในครั้งนี้ด้วยความกังวลใจอยู่ไม่น้อย ว่าเราจะผ่านก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดีเพียงไร เพราะพื้นฐานความพร้อมของบุคลากรในประเทศของเรา โดยเฉพาะนักศึกษาอนาคตชาติในปัจจุบัน จะสามารถต้านทานศักยภาพของคนในอาเซียนโดยเฉพาะ สิงค์โปร์ มาเลเซีย หรือแม้กระทั่งกัมพูชาได้อย่างไร

ทำไม ผมถึงกล่าวถึงกัมพูชา เพราะผมเคยมีประสบการณ์สัมผัสโดยตรง ขณะที่ทำงานอยู่ บริษัท Bristal Myer Squibb ประมาณ 7 ปีแล้ว ในตำแหน่ง Business Analyst นักวิเคราะห์ธุรกิจ บริษัทฯ มีแผนขยายธุรกิจในประเทศกัมพูชา บริษัทฯ ก็ส่งผมกับทีมงานของบริษัท Deloitte เข้าไปศึกษาช่องทางธุรกิจในเมืองพนมเปญกับเมืองเสียมเรียบ โดยจ้างนักศึกษามาเป็นล่ามเพื่อช่วยเหลือเวลาสนธนากับนักธุรกิจชาวกัมพูชา เชื่อไหมว่าผมทึ่งกับศักยภาพของนักศึกษาที่มาเป็นล่ามให้ผมมาก เขาพูดได้ถึง 5 ภาษา ได้แก่
1. ภาษาเขมร okay เพราะเป็นภาษาประจำชาติ
2. ภาษาจีน okay เพราะครอบครัวเขาเป็นคนจีน
3. ภาษาไทย พูดได้ดีและคล่องแคล้ว เพราะ เขาดูโทรทัศน์ ข่าวสาร ต่าง ๆ จาก โทรทัศน์ของไทย
4. ภาษาฝรั่งเศส เพราะ ประเทศกัมพูชาเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส หลักสูตรการเรียนการสอนของเขาจำเป็นต้องมีภาษาฝรั่งเศสด้วย
5. ภาษาอังกฤษ เพราะ เป็นภาคบังคับในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่เขากำลังเรียนอยู่

ตอนนี้ไทยเรามีปัญหากับประเทศกัมพูชา ผมสังเกตเห็นจากข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ นักวิชาการระดับครูบาอาจารย์ออกมาแสดงความเห็นเชิงลบโดยไม่แคร์ คิดว่าประเทศกัมพูชา เป็นประเทศเล็กไม่มีศักยภาพ ใด ๆ ที่สู้กับประเทศไทยได้ อย่าประมาณไปนะครับ กัมพูชาอาจจะเป็นเหมือนประเทศสิงคโปร์ก็ได้ใครจะรู้ แต่ประเทศไทยหละ ผมว่าเรามีแต่ถอยหลังลงคลอง ทุกวัน ๆ

Phiboon Buakhunngamcharoen
Group Financial Controller
Mermaid Drilling Ltd

BA, Yonok #5
MBA, NIDA Flex #4
EDP, Thammasat University

ข้อความนี้ถูกเขียนใน การบัญชี, ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับไปที่ IFRS + AEC กับอนาคตนักบัญชีไทย

  1. นิยม จันทกูล พูดว่า:

    คุณพิบูลย์ครับ,
    อ่านแล้วชักกลัวและเห็นด้วยกับคุณว่ากัมพูชากำลังวิ่งไปข้างหน้า และดีวันดีคืน เรากำลังเดินถอยหลัง ชัดเจนมากจากระบบการศึกษา หรือกระบวนการจัดการเรียนการสอนของเขา ผมเองเคยพูดกับมิตรสหายอย่เสมอว่าอย่าวัดความเก่งความสามารถด้วยความใหญ่โตของเน้อที่ประเทศ หรือ GDP เท่านั้นต้องวัดด้วยความสามารถการแข่งขัน และการยอมรับในบทบาทของแต่ละประเทศในสังคมนานาชาติเพราะสท้อน ศักยภาพของเขาตามมุมมองของสังคมระหว่างประเทศ

    พวกเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยประเภทที่มีโอกาสรู้ มีโอกาสเห็นดลกกว้างมากกว่า บ่อยกว่าอย่าละเลยและเช่วยเตือนกันทุกวิถีทางที่จะทำได้ก็คงจะช่วยให้เราตื่น ไม่หลงไหลกับตัวเองจนเกินไป.

    นิยม

  2. rathakate พูดว่า:

    เพิ่มเติม ผมเคยทำงานให้ลูกค้าที่พนมเปญมาอย่างน้อยๆ ก็ สองปีกว่าๆ กับ สองบริษํท
    อย่าได้ประเมินเค้าต่ำไปครับ CTO ที่เป็นคนเขมร ที่เคยทำงานด้วยเก่งมาก
    ภาษาอังกฤษ ระดับเดียวกับเจ้าของภาษา
    ทักษะไอที โทรคมนาคม ระดับอาจารย์ เขียนโค้ด ออกแบบ ตรวจสอบ ได้หมด
    ถามประวัติคร่าวๆ จบตรีที่เขมร ออกไปเป็นกุ้กที่ซาอุ รับจ้างเขียนโปรแกรม ทำงานมาหลากหลาย
    ศึกษาด้านไอทีเอาจากการทำงาน OJT และที่สำคํญลูกน้องคนเขมรระดับ manager นี่จบโทเมืองไทยหลายคน ลาดกระบังเยอะสุด ทักษะที่ดีที่สุดของคนเหล่านี้ คือ ภาษาอังกฤษ ครับ
    เทียบกะเด็กไทย ที่จบระดับเดียวกัน (ผมให้มหาลัยอันดับหนึ่งในไทยด้วย) ทักษะด้านภาษาเค้า
    ไม่ด้อยกว่าเราแน่ๆเผลอๆใช้ได้จริงดีกว่าเราอีก
    ที่เขมร เค้าไม่มีค่านิยมจบปริญญาครับ ถามเด็กวัยรุ่น ดูเค้าบอกเรียนภาษาเรียนทักษะให้เก่ง ใช้ได้จริง ดีกว่าจบ ป ตรีซะอีก ตอนเย็น เสาร์อาทิตย์ ที่วัยรุ่นไปเยอะที่สุดคือโรงเรียนสอนภาษากับสอนไปทีครับ

    แต่ทักษะที่เค้าขาดไปในเรื่องไอที คือ ทางด้าน analytical ที่ยังเรียบเรียง เรื่องหรือปัญหาจาดต้นไปจบไม่เก่งเท่าคนไทย เป็นเพราะโอกาสได้จับงานไอทีมีน้อยกว่านั่นเอง แต่ถ้าเค้าลงทุนด้านนี้จริง ผมว่าเก่งใช้ได้เลยครับ

ใส่ความเห็น