อบรมเรื่องตั้งคำถามและหาคำตอบของคนขี้สงสัย

วิทยากร การเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ วิทยากร การเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ

6 ต.ค.52 เข้าอบรมการเขียนงานวิจัยภาษาอังกฤษ จัดโดยคณะสังคมฯ ซึ่งวิทยากรรับเชิญเป็นกลุ่มอาจารย์สอนปริญญาโทจากมหาวิทยลัยพายัพ แม้วันนี้เป็นวันที่สอง ก็มีคนแน่นห้องเหมือนเดิม บุคลากรภายใน 29 คน (กว่าครึ่งมหาวิทยาลัย) บุคคลภายนอกอีกพอกัน เนื้อหาบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านมีดังนี้ 1)Sudha Subramanian เปิดด้วยการชวนแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัย อาจารย์หลายท่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งของโยนก และอาจารย์จากบุรีรัมย์ ฟังแล้วทึ่งในประสบการณ์ของหลายท่าน สำหรับหัวข้อประกอบด้วย Where do i start? และ How do i start? และ Three P’s : Probe ค้นหา, Passion ความชอบ , Persistence ความเพียร 2)Philip Keay, M.A., Dip,ELT สอนเขียนบทความแบบ Free writing โดยหัวข้อใหญ่คือ The process of writing มี 5 ขั้นตอนคือ 2.1)generating idea 2.2)planning 2.3)writing 2.4)revising 2.5) editing 3)Pearl Wattanakul, Ph.D. Department Head ท่านดู Active มาก สอนเรื่องการเขียนงานวิจัย ซึ่งมี Powerpoint นำเสนอวิธีการ 37 slides สำหรับหัวข้อที่สำคัญ อาทิ Process of Research, Research Proposal Structure, Classification of Research by Purpose, Classification of Research by Method 4)David Richards, M.Phil. เป็นท่านสุดท้าย แต่ผมติดภารกิจ จึงไม่อาจนำรายละเอียดมาเล่าให้ฟังได้ เสียดายมากครับ
     สำหรับการเรียนกับ Philip Keay ท่านให้ทำงานเขียนบทความแบบ free writing ในห้องอบรม แล้ว อ.นาดีน ช่วย prove เรื่อง gramma ซึ่งมีผลงานดังนี้

Nowadays, globalization is the life style of everybody. It is a new generation of life. Digital computer can use data in type of 0 and 1 and it can be applied to images, sounds, animation and movies. We have tried to make artificial intelligence which looks like humans. All computers go into one network among wire and wireless technology. Everybody has an email account on the internet and communicate on social networking sites. If i mention the twitter website, it would represent individuals of today.

+ http://www.thaiall.com/ppt/research_proposal_drpearl.ppt
+ http://www.facebook.com/family/Subramanian
+ http://tesol.payap.org/Faculty.html

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน งานวิจัยและบริการวิชาการ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

5 ตอบกลับไปที่ อบรมเรื่องตั้งคำถามและหาคำตอบของคนขี้สงสัย

  1. rathakate พูดว่า:

    ขอเอกสารที่ว่าได้ใหมคับอาจารย์เก๋

  2. atichart พูดว่า:

    สรุปแล้วโยนกจไปถึงเป้าหมายการทำวิจัยเป็นภาษาอังกฤษกันแค่ไหน ช่วยเล่าเพิ่มเติมด้วย มีโอกาส และอุปสรรคอะไรหรือไม่ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการมีจำนวนชิ้นของงานวิจัยรวมอยู่ด้วยหรือไม่ ตัว อ.เก๋ เองจะทำได้สัก 1 เรื่องหรือไม่ โยนกจะให้ Incentive เรื่องนี้หรือไม่และอย่างไร เป็น work in progress ที่ผู้บริหารต้องสานต่อไปด้วย

  3. จากการอบรม มีประโยชน์หลายเรื่อง แต่สิ่งที่ได้ชัดเจนมี 2 เรื่อง คือ
    1)เป็นการอบรมการเขียนงานวิจัย แต่วิทยากรพูดเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น สิ่งที่ได้คือ ทบทวนกระบวนการทำวิจัย การเขียน proposal, objective อะไรทำนองนี้ ก็ได้ slide มาครับ
    2)เป็นการอบรมการเขียนบทความทั่วไปนั่นหละครับ แต่พูดเป็นภาษาอังกฤษ คนที่เข้าอบรมก็จะมีทักษะการเขียนเพิ่มขึ้น เพียงแต่พูดเป็นภาษาอังกฤษ และเขียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ทักษะการเขียนไม่ได้ฝึกในวัน 2 วัน ผมต้องฝึกอีกเยอะ คาดว่าก่อนแก่ตาย คงเขียนได้ดีขึ้น
    .. ขอสรุป 2 ประเด็น

  4. สนับสนุนด้วยกับทุกข้อสรุปของอ.บุรินท์…ขอออกตัวไปวาดภาพลายเส้นตามวัดหัวเมืองท้ายเมือง นครลำปางให้วิจัยแบบศิลปะ เป็นมรดกแผ่นดินดีกว่านะเจ้า..ไม่มีใครไม่ต้องฝึก แต่ใครจะฝึกได้ถึงแก่ใจมากกว่ากันเท่านั้นเอง และข้าเจ้าคงไม่เหมาะกับแนวนี้แน่นอน แบบว่าทางใครทางมันนั่นแหละเจ้า ให้เชี่ยวชาญตามที่ตนเองถนัดดีกว่ามั้ง เหนื่อยมากกับอบรม..ทั้งๆที่พยายามแล้วนะ..

  5. toom พูดว่า:

    กำลังทำงานด้านวิจัยภาษาอังกฤษ

ใส่ความเห็น