รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อชุมชน

สรุปผลการสังเคราะห์งานวิจัย
โดยภาพรวมจากการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อชุมชนที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการในระหว่าง ปีการศึกษา 2553-2556 ในประเด็น “รูปแบบแนวทางการเสนอเพื่อขอรับทุนสนับสนุนงานวิจัยเพื่อชุมชน”
เพื่อให้ทุกภาคส่วนของท้องถิ่นและชุมชน ผนึกกำลังองค์ความรู้ช่วยเหลือผู้ผลิต OTOP โดยการเสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะ พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมสู่ตลาดภายนอกและตลาดสากล โดยผลิตภัณฑ์ยังคงเอกลักษณ์ของชุมชนไว้ เริ่มดำเนินการดำเนินการ2553-2556 จากผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – based OTOP : KBO) จังหวัดลำปาง ประจำปี 2557 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยได้รับมอบหมายจาก สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดลำปาง ให้มหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านร่องเห็ด ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง , กลุ่มเย็บผ้าบ้านหนองเหียง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง , กลุ่มทอผ้าประดิษฐ์บ้านผาช่อ ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง , กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านนาปราบ ต.นายาง อ.สบปราบ จ.ลำปาง , และทางจังหวัดได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเนชั่น ดำเนิน การต่อยอดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – based OTOP : KBO) จังหวัดลำปาง ประจำปี 2557 ไปถึงปี 2558 เพื่อให้องค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้บูรณาการครบทุกอำเภอ ภายใต้การบริหารงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง

ข้อความนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย, ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น