การจัดการเรียนรู้แบบบูรณการ(Integrated Instruction)

หลักการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการสอนที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดหรือทักษะเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยองค์รวม การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างมีความหมายและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันและต่อเนื่องกับประสบการณ์ตรง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ก่อให้เกิดความลึกซึ่งและเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถกระตุ้นนักศึกษาให้เกิดความคิดและตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างความคิด
แนวทางปฎิบัติในการบูรณาการโดยใช้หัวข้อเรื่องเป็นแกน
1.เลือกหัวข้อหรือปัญหาที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2.พิจารณาว่ามีเนื้อหาสาระจากวิชาใดที่เชื่อมโยงกับหัวข้อหรือปัญหานั้น
3.พิจารณาเลือกความคิดรวบยอดที่เกี่ยวข้องในแต่ละวิชาให้เหมาะสมกับนักศึกษา
4.วางแผนกิจกรรมที่จะให้นักศึกษาได้ปฎิบัติโดยใช้แผนผังความคิดเพื่อให้เห็นภาพการบูรณาการที่ชัดเจนขึ้น
(เอกสารอ้างอิง : รศ.สมชาย รัตนทองคำ (2556).เอกสารการอบรม วิธีการสอนและการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การบูรณาการ การสอนในวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้และเข้าใจการฝึกอบรม ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Integrated Learning Management)ใช้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถของนักศึกษาโดยเชื่อมโยงสาระของศาสตร์ต่างๆให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทักษะไปใช้ในการฝึกปฎิบัติได้ด้วยตนเอง
ข้อจำกัด
หากผู้เรียนมีจำนวนมาก หรือ รูปแบบการนำเสนอไม่น่าสนใจ และ ไม่มีการสรุปประเด็นอย่างชัดเจน จะทำให้ประสิทธิการสอนลดลงและต้องใช้เวลามาก
ข้อเสนอแนะ
ผู้นำเสนอต้องจับประเด็นเนื้อหาที่นำเสนอให้มีความชัดเจนและน่าสนใจ

ข้อความนี้ถูกเขียนใน การตลาด, การบัญชี, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น