นวัตกรรมในสถานศึกษา.

นวัตกรรมในสถานศึกษา.
Innovation Management for Work Improvement and Service Excellence

จากการที่ศูนย์เนชั่นบางนามีจัดการอบรมบุคลากรภายใน เรื่องนวัตกรรมในสถานศึกษา.
โดยวิทยากรบรรยาย คือ อาจารย์ดร พยัต วุฒิรงค์ ณ ห้อง 601 มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2560

วิทยากร พูดถึง นวัตกรรม Innovation ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้า แต่นวัตกรรม Innovation is about creating value for stakeholders by improving Product, Services, Processes, Marketing Methods, and Management Methods. เช่นนวัตกรรมของอีเกีย IKEA, นครชัยแอร์และ ธนาคารไทยพาณิชย์

นอกจากนี้ยังพูดถึง Kaizen ไคเซน ซึ่งเป็นวิธีการการบริหารจัดการแบบหนึ่ง หมายถึงปรัชญาการทำงานร่วมกันขององค์กร พฤติกรรมนิยมที่ปฏิบัติร่วมกันในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร
หลักการของไคเซน มีหัวใจสำคัญอยู่ 5 ประการคือ
– Challenge ความท้าทาย
– Kaizen ไคเซน – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
– เก็นจิ เก็นบุตซึ – การเข้าไปตรวจสอบหน้างานจริง
– Respect การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
– Teamwork การทำงานเป็นทีม

สรุปได้ว่า ไคเซน คือการทำงานให้น้อยลงด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่ โดยสนับสนุนให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้น เป็นการทำเพื่อตัวเราเอง เพื่อให้เราสามารถทำงานของเราได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น ดังนั้นตนเองต้องเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเริ่มต้นทำไคเซน การทำไคเซนเป็นสิ่งที่ทำเพื่อตัวเองการบีบคอตนเองย่อมไม่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง

คนญี่ปุ่นชอบปรับปรุง ตัวเองตลอด

เคล็ดลับในการทำไคเซน
เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป
เน้นวิธีการมากกว่าสิ่งของ
ไม่ลงทุน หรือ ลงทุนน้อยมากๆ
ทำบ่อยๆ ทำต่อเนื่องทำทุกคน
เน้นคนที่คุ้นเคยกับงาน
อย่าหวังว่าจะสำเร็จ 100%
ใครๆก็ทำได้

จุดแรกคือยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา ความพอใจเป็นศัตรูตัวสำคัญของไคเซน
โดยปกติของมนุษย์ มีความรักตัวเองมากกว่าองค์กรเสมอ หลักการที่สำคัญคือ เลิก ลด เปลี่ยน
เลิก – เรื่องที่ไม่มีความจำเป็น เรื่องที่ไม่ทำก็ได้ เรื่องที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้
ลด – การลงมือทำซ้ำ 2 – 3 หน การแก้ไข การทำใหม่ การตรวจสอบซ้ำๆ หลายครั้ง การลอกข้อความเดิม/การเขียนใหม่หลาย ๆ ครั้ง
เปลี่ยน – เปลี่ยนขั้นตอน ตำแหน่ง วิธีเตรียมงาน ขนาด วัสดุ วัตถุดิบ

คำถามว่าอะไรคือปัญหา
– ไม่รู้ว่ามีปัญหา
– รู้ว่ามีปัญหาแต่ไม่ยอมรับรู้
– รับว่ามีปัญหา และรับรู้ แต่ไม่ยอมแก้
– รับว่ามีปัญหาแต่เกี่ยงกัน (ไม่) แก้
– เจตนากลบปัญหา (เพราะตัวเองกลัวปัญหา)
– เจตนากลบปัญหา (เพราะนายไม่ชอบปัญหา)
– ปัญหาเรื้อรัง แก้แล้วไม่หาย ก็เลยไม่แก้ (แก้ปลายเหตุ)
– รู้ว่ามีปัญหา แต่ไม่ยอมกล้าแก้ (เข้าเนื้อเปล่าๆ)
– มีปัญหาต้องแก้เป็นทีม (ทีมแตกเรื่อย/ทีมมีปัญหาเอง)
– ความรู้ด้านเทคนิคไม่พอในการแก้ปัญหา
– วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาไม่เป็น
– รู้ว่ามีปัญหาแต่กำหนดไม่ถูกว่าอะไรคือ ปัญหา
จะทำให้สำเร็จได้ต้อง ยอมรับก่อนว่ามีปัญหา และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาไปด้วยกันเป็นทีม เปลี่ยนทัศนคติของตัวเองและทีม ลงมือปฏิบัติ ทบทวนแก้ไขใหม่ หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ และเริ่มกระบวนการดังกล่าวอีกครั้งโดยมีทัศนคติว่า การเปลี่ยนนั้นเพื่อทำให้ตัวเองทำงานน้อยลง

เรื่องนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, ทั่วไป และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น