การพัฒนาแนวทางการสร้างผลงานวิจัยในชุมชนสำหรับอาจารย์ใหม่

เรื่อง การพัฒนาแนวทางการสร้างผลงานวิจัยในชุมชนสำหรับอาจารย์ใหม่

โดย อาจารย์ ธณกฤษ หมื่นก้อนแก้ว และ รศ.ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ**

Tacit Knowledge**วิทยากรผู้สอนหลักสูตรการพัฒนานักศึกวิจัยหน้าใหม่ในชุมชน โครงการลูกไก่ แม่ไก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวิทยากรผู้สอนหลักสูตรการพัฒนานักศึกวิจัยหน้าใหม่ในชุมชน โครงการลูกไก่ แม่ไก่ ในการทำ KM และการสร้างผลงานวิจัยในชุมชน

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Desired State): อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สนใจ

เนื้อหา (Content) : การทำวิจัยในชุมชนเป็นงานวิจัยที่มีการทำงานในเชิงของการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเน้นการให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการวิจัยด้วยตนเองเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานวิจัย นำไปดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถพึ่งพิงตนเองได้เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัย ซึ่งการทำงานวิจัยในชุมชนมีรูปแบบของการทำวิจัยที่หลากหลาย เช่น การทำวิจัยเชิงพรรณนา การทำวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การทำวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นต้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการทำวิจัยในชุมชนจะใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และอาจมีการรูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณร่วมด้วย ดังนั้นผู้ที่ทำวิจัยจึงต้องมีทักษะ และเข้าใจในวิธีการ และกระบวนการในการทำวิจัยในชุมชนให้ถูกต้อง และเหมาะสมเสียก่อน ซึ่งอาจจะถูกพัฒนาทักษะในแนวทางต่างๆ ประกอบด้วย

– การส่งอาจารย์หน้าใหม่ไปพัฒนาความรู้ และทักษะการทำงานวิจัยในชุมชน จากหน่วยงาน องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานด้านนี้ โดยเฉพาะ รวมถึงให้หน่วยงานดังกล่าวเป็นที่ปรึกษาในการทำงานวิจัยในชุมชน และเป็นแหล่งงบประมาณในการสนับสนุนการทำงานด้วย เพื่อที่จะทำให้อาจารย์ได้รับการพัฒนาทักษะ และประสบการณ์ผ่านการทำงานวิจัยได้อย่างถูกต้อง และมีคุณภาพมากที่สุด

– การพัฒนาอาจารย์หน้าใหม่ในการทำวิจัยในชุมชน โดยการสรรหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยในชุมชนมาเป็นที่ปรึกษาในการทำงานวิจัย และแนะนำกระบวนการทำงานวิจัยในชุมชนให้แก่อาจารย์ รวมถึงการของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกที่สนับสนุนทุนวิจัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินงานวิจัยในชุมชุนได้อย่างเหมาะสม โดยมีผู้ให้คำปรึกษาในการทำงานที่ดี ซึ่งจะทำให้อาจารย์ได้รับการพัฒนาประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ดีร่วมด้วย

– การพัฒนาอาจารย์หน้าใหม่ในการทำวิจัย โดยการให้อาจารย์หน้าใหม่มาเป็นผู้ร่วมวิจัย และถ่ายทอดวิธีการ และกระบวนการทำวิจัย ผ่านการทำงานวิจัย ซึ่งอาจารย์หน้าใหม่จะได้เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานจากคณะผู้ดำเนินงานวิจัย ทั้งนี้งานวิจัยที่ร่วมดำเนินการจะต้องมีขนาดของงานวิจัยที่หลากหลาย และที่สำคัญต้องเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง และมีกระบวนการวิจัยที่ถูกต้อง เพื่อให้อาจารย์หน้าใหม่ได้เรียนรู้ และได้พัฒนาทักษะการทำงานวิจัยในชุมชนอย่างเหมาะสม และนำไปใช้ในการสร้างสรรค์งานวิจัยในชุมชนด้วยตนเองได้ต่อไป

** ข้อควรระวังคือ งานวิจัยในชุมชน เป็นงานที่ทำงานร่วมกับชุมชนเป็นหลัก ดังนั้นผู้ทำการวิจัยควรมีทักษะในการเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของชุมชน วัฒนธรรมชุมชน กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน รวมถึงผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในชุมชนนั้นๆ เป็นอย่างดีเสียก่อน อีกทั้งต้องชี้แจงวิธีการ ประโยชน์ และการนำผลที่ได้จากการทำงานวิจัยไปใช้ให้ชุมชนได้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้การทำงานวิจัยดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพต้องเป้าหมายของการทำงานวิจัยนั้นๆ

ซึ่งจากการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาจารย์ใหม่ โดยส่งเสริมอาจารย์สร้างงานวิจัยในชุมชน เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย และมีอาจารย์ในคณะ 1 ท่าน คือ อาจารย์นิภรดา ยาวิราช ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในงานวิจัย เรื่องการพัฒนาชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการตนเองจังหวัดลำปาง

เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น