เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พ.ย.52 คณะบริหารฯ ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ เห็นในขั้นตอนที่ 1 “การบ่งชี้ความรู้” เป็นที่ประจักษ์ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร โดยกำหนดเรื่องของ KM ว่า “การบริหารจัดการยุคใหม่” ตามนโยบายของท่านอธิการที่จะมี KM คณะละเรื่อง ซึ่งคณะบริหาร มีองค์ความรู้ มีความเข้าใจ มีความชำนาญ และผู้ที่ชำนาญในเรื่องที่กำหนดขึ้นก็มีอยู่หลายท่าน ก็ต้องเอาใจช่วยใน 2 เรื่อง คือ 1)กำหนดเป้าหมายที่จะวัดให้ชัดเจน (Desired State) 2)หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม เพราะการวัดผลสมัยนี้เป็นไปในแนวนี้ทั้งสิ้น ก็เอาใจช่วยและหวังจะเห็นคณะบริหารฯ เป็น good practice ขององค์กร เนื่องจากเริ่มต้นอย่างมีกระบวนการและเรื่องที่ชัดเจน ผ่านบทบาทของ อาจารย์บอย และ อาจารย์นิยม ในระดับคณะเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัย
จากการชวน อ.บอย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง แผนการจัดการความรู้ ซึ่งมี 7 ขั้นตอน ตามแนว กพร. และ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ที่ได้จัดทำคู่มืออบรมไว้โดยละเอียด พบว่า การดำเนินการตามแผนที่ได้รับการยอมรับในแวดวงประกันคุณภาพ น่าจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจ ซึ่งผมมอบแผน KM ที่ อาจารย์อติชาต หาญชาญชัย ท่านเขียนใช้ในคณะวิทย์ฯ ให้แก่อาจารย์บอยได้ศึกษาประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นแนวทางให้มหาวิทยาลัยใช้แนวนี้ก็ได้
+ http://www.thaiall.com/km/indexo.html
+ http://www.yonok.ac.th/business/showword.php
+ http://www.thaiall.com/km/handbook_2549.doc
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/722/
Meta
พฤศจิกายน 2024 จ อ พ พฤ ศ ส อา 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 NTU Members
หมวดหมู่
- KM:ด้านการผลิตบัณฑิต (32)
- KM:ด้านการวิจัย (44)
- คณะทันตแพทยศาสตร์ (3)
- คณะนิเทศศาสตร์ (66)
- คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ (137)
- การตลาด (11)
- การบัญชี (12)
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (52)
- บริหารธุรกิจ (22)
- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (3)
- รัฐประศาสนศาสตร์ (2)
- วิทยาการคอมพิวเตอร์ (43)
- คณะพยาบาลศาสตร์ (7)
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ (24)
- คณะเทคนิคการแพทย์ (2)
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (64)
- งานการเรียนการสอนและการสอบ (1)
- งานทรัพยากรมนุษย์ (2)
- งานทะเบียนและประมวลผล (3)
- งานบัญชีและการเงิน (1)
- งานประกันคุณภาพการศึกษา (1)
- งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา (144)
- งานระบบบริการสารสนเทศ (52)
- งานวิจัยและบริการวิชาการ (28)
- งานหอสมุด (2)
- งานอาคารสถานที่ (1)
- ทั่วไป (287)
วันนี้พาลูกไปสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ที่ ม.เชียงใหม่ จัดโดยของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย เห็นข้อสอบแล้วรู้สึกอ่อนใจที่ระบบการศึกษาบ้านเราพยายามยัดเยียด “ความรู้” ให้เด็กไทยแบบเกินตัว อยู่ ป.6 ต้องมีความรู้ถึงมัธยมต้นถึงจะทำข้อสอบได้ เด็กคนไหนไม่เข้าโรงเรียนกวดวิชาจึงดูเชยมาก ได้พบผู้ปกครองชาวลำปางหลายสิบคน ท่านหนึ่งทำงานที่ชลประทานลำปางระดับหัวหน้า บอกกับผมว่า “การจัดการความรู้” เป็นตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งที่หน่วยงานกำลังทำตามเกณฑ์ของ กพร. และกำลังประสบปัญหาเพราะคนในองค์กรหลายคนไม่เข้าใจและไม่ใส่ใจที่จะร่วมกันทำ ผมเองก็ได้แต่ให้กำลังใจไป เพราะซาบซึ้งในปัญหาเช่นกัน เขายังได้เชื้อเชิญให้ผมเป็นวิทยากรสักครั้งให้กับหน่วยงานชลประทานใน 3-4 จังหวัดภาคเหนือที่เขารับผิดชอบกว่า 100 คน ผมยังต่อรองอยู่ คิดว่า 30-40 คน น่าจะเหมาะสมกว่า
ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ และขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับแนวทางการจัดการ KM ที่ถูกหลักทฤษฎี. ก็จะพยายามครับ ผมเองเป็นนักปฏิบัติ ตลอดระยะเวลาที่ทำงานมาท้งในอดีตและปัจจุบันมุ่งอยู่ที่ผลสัมฤทธิ์ไม่เคยให้น้ำหนักกับกระบวนการเลย เพราะอยู่แต่วงการธุรกิจเคยถูกกรอกหูอยู่เสมอว่ากระบวนการดีอย่างไรผลสัมฤทธิ์ไม่มีก็สูญเปล่า ดังนั้นจึงระวังในเรื่องกระบวนการว่าอย่าให้ผิดกติกามารยาทเท่านั้นเอง มาสมัยนี้เน้นทั้งสองอย่าง ผมกำลังปรับตัว พยายามให้ความสำคัยกับกระบวนการด้วย มีอะไรช่วยชี้แนะอย่างนี้ดีครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
นิยม
Pingback: ผมเกือบล้มแผน KM ของอ.บุ๋ม แล้ว « YONOK Blog