อวตารที่ไม่ใช่อวตาร

นำเสนออวตาร 3 แบบ นำเสนออวตาร 3 แบบ

8 ม.ค.52 หลายปีมานี้ได้รับมอบหมายจาก หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ และ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ให้ชาวลำปางได้ร่วมเรียนรู้จากมุมมองของนักวิชาการในสถาบันการศึกษา ประกอบกับเป็นโยบายของ ท่านอธิการบดี ที่ส่งเสริมให้บุคลากรได้มีงานเขียนในสื่อท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง บทความที่ 225 นี้เป็นงานที่เขียนในเวลางาน และเสร็จในการเขียนรอบเวลาเดียว จึงตัดสินใจ post เข้า blog ครับ กลับบ้านจะได้ clear งานอื่น

ไอทีในชีวิตประจำวัน # 225 อวตารที่ไม่ใช่อวตาร
     ปัจจุบันคำว่า อวตาร (Avatar) ถูกใช้ในหลายโอกาส ทั้งในชื่อภาพยนต์ แสดงเป็นตัวแทนในเว็บไซต์ หรือการแบ่งภาคของเทพ ซึ่งต้นกำเนิดของคำนี้มาจากความเชื่อของศาสนาฮินดู ว่า อวตารคือการแบ่งภาคของเทพในศาสนามาเกิดบนโลกมนุษย์ อาจแบ่งมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ก็ได้ เพื่อมาทำหน้าที่บรรเทาความเดือดร้อนของมนุษย์ ส่วนความเชื่อของชาวพุทธนิกายวัชรยานมีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์อวตารหรือแบ่งภาคได้เช่นกัน อาทิ ชาวพุทธในทิเบตเชื่อว่า ทะไล ลามะ เป็นอวตารของพระอวโลกิเตศวร และ ปันเชน ลามะ เป็นอวตารของพระอมิตาภะพุทธะ เป็นต้น
     ภาพยนต์เรื่องอวตาร 2552 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาทางเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ในการย้ายจิตวิญญาณจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเสมือนการเข้าสิง หรือการถอดร่างออกไปควบคุมร่างใหม่ หรือร่างอวตาร โดยร่างเดิมไม่มีความรู้สึกนึกคิดหลงเหลืออยู่ เมื่อปิดเครื่องส่งถ่ายจิตวิญญาณจะทำให้ดึงจิตวิญญาณจากร่างอวตารกลับมายังร่างจริงในทันที แนวคิดนี้ต่างกับอวตารในความเชื่อทางศาสนาในประเด็นที่เทพสามารถแบ่งพลังเพียงส่วนหนึ่งไปเป็นร่างใหม่ที่มีความรู้สึกนึกคิดของตนเอง แต่ในภาพยนต์คือการย้ายจิตวิญญาณไปยังร่างใหม่
     คำว่า Avatar ที่เราพบในเว็บไซต์เป็น อวตารคอมพิวเตอร์ คือ สัญลักษณ์แสดงตัวตนของเจ้าของ พบได้ในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เกมคอมพิวเตอร์ เว็บบอร์ด มีลักษณะเป็นภาพไอคอน ภาพการ์ตูน ภาพถ่าย หรือภาพเสมือนจริง ในความหมายนี้อวตารเป็นเพียงตัวแทนแสดงตน แสดงความรู้สึก รูปลักษณ์ หรือลักษณะที่เจ้าของอวตารต้องการสื่อสาร ไปพร้อมกับบทบาท บทความ บล็อก สารสนเทศ หรือเว็บไซต์ ซึ่งเป็นตัวแทนที่ขาดการเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณกับเจ้าของอย่างแท้จริง เพราะหากข้อมูลลบ หรืออวตารถูกเปลี่ยน เจ้าของจะไม่รู้ถึงการเปลี่ยนเหล่านั้นแต่จะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีใครแจ้งให้ทราบหรือกลับมาเปิดดูอีกครั้งเท่านั้น ก็มีคำถามว่าท่านมีอวตารหรือเข้าใจความต่างของอวตารทั้ง 3 แบบว่าอย่างไร
+ http://www.thaiall.com/opinion/readonly.php

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

หนึ่งความเห็นตอบกลับที่ อวตารที่ไม่ใช่อวตาร

  1. ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณท่าน ผศ.บุรินทร์ (อาจารย์ของผม เรื่องมันผ่านมาแล้วสิบกว่าปี ปัจจุบันท่านก็ยังคงสถานะอาจารย์ของผมเช่นเดิม) ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานเขียนออกมาเรื่อย ทำให้ผมมีเรื่องอ่านก่อนนอน และอีกไม่นาน ผมจะพยายามเปลี่ยนสถานะของผู้อ่านมาเป็นผู้เขียนบ้างละครับ และคงต้องขอคำแนะนำจากท่านเป็นแน่แท้ (เป็นกำลังใจ นะครับสร้างสรรค์ผลงานออกมาเรื่อยๆ นะครับ)

ใส่ความเห็น