การเรียนกฎหมายที่โยนก

หลายร้อยเหตุผลของคนที่ไม่อยากเรียนกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น ไม่อยากท่องจำ ขี้เกียจอ่านหนังสือ หนังสือหนาจะตายไป ไม่น่าสนุกเลยเรียนกฎหมาย และอีกหลายๆๆเหตุผล……

แต่การเรียนกฎหมายทำให้เราสนุกได้ เพราะกฎหมายคือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา คุ้มครองเรามาตั้งแต่เกิด (คงจำกันได้ว่าที่เราเคยเรียนมาว่า “สภาพบุคคล เริ่มจากคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก”)การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ช่วนทำให้เราเข้าใจกฎหมายมากขึ้น และสนุกกับมันมากขึ้น …..

ทุกคนจึงสามารถเรียนกฎหมายด้วยกันได้ ที่นี่

บทความโดย อ.คนึงสุข นันทชมภู

http://blog.eduzones.com/yonokcreativelaw/41407

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

1 ตอบกลับไปที่ การเรียนกฎหมายที่โยนก

  1. vorapong พูดว่า:

    ขอเสนอความคิดเห็น เรื่องรัฐธรรมนูญ

    คำว่า “ รัฐ ” หมายถึง อาณาเขต ดินแดน หรือ พื้นที่ ที่มีการปกครองแบบเดียวกัน และ เป็นอันหนึ่งเดียวกัน แบ่งแยกมิได้ รัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด ก็คือ ประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ จึงหมายถึง แนวทางปฏิบัติสูงสุดของประชาชน ในอาณาเขต ดินแดน หรือ พื้นที่ ของรัฐ ในแต่ละรัฐ

    รัฐธรรมนูญ ( ของแท้ ) ประกอบด้วย
    (1 ) กฎ (หมาย ) สูงสุด ( มีความถูกต้องสูงสุด หรือ ที่สุด )
    ( 2 ) การใช้อำนาจสูงสุด ( อธิปไตย )
    (3 ) การปกครองสูงสุด ( ประชาธิปไตย )
    (4 ) ความยุติธรรมสูงสุด ( ธรรมนูญ )

    ตามหลักกฎ ( หมาย ) เราใช้กฎ ( หมาย ) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อธิบายปัญหา และ ตอบปัญหา ได้ถูกต้องที่สุด

    ตามหลักอำนาจ (อธิปไตย) ผู้มีหน้าที่ หรือ เจ้าหน้าที่ ใช้อำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ เพื่อแก้ไขปัญหา ควบคุมปัญหา และ ป้องกันปัญหา ให้ดีที่สุด โดยใช้ข้อบังคับ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ( มิใช่กฎหมาย )

    ตามหลักการปกครอง (ประชา + ธิปไตย) ประชาชนร่วมกันใช้ อำนาจธิปไตย เพื่อ บังคับ ควบคุม ผู้มีหน้าที่ หรือ เจ้าหน้าที่ให้ทำงาน อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และ มีประสิทธิผลสูงสุด โดยใช้ข้อบังคับ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ( มิใช่กฎหมาย )

    เมื่อผ่านหลักทั้ง 3 หลัก นี้แล้วปัญหา และ ความขัดแย้งทั้งหลาย ต้องหมดสิ้นไป หรือเหลือน้อยที่สุด แต่ทำไมปัญหา และ ความขัดแย้งทั้งหลาย ยังอยู่ ไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้หลักที่4 มาแก้ปัญหา นั่นคือ ใช้หลักความยุติธรรม เข้ามาประมวลผล เพื่อหาข้อยุติของปัญหา และ ตรวจสอบค้นหาความผิดพลาด ของกฎ ( หมาย ) การใช้อำนาจ ( อธิปไตย ) และ การปกครอง ( ประชาธิปไตย ) ทั้งในส่วนทฤษฏี และ ปฏิบัติ

    ตามหลักกฎหมาย กฎหมาย คือ กฎ ( หมาย ) กฎหมายมิใช่การปกครอง กฎหมายมิใช่การใช้อำนาจ ( อธิปไตย ) และ กฎหมายมิใช่ความยุติธรรม ดังนั้น ความยุติธรรมก็มิใช่กฎหมายเช่นกัน แล้วความยุติธรรม คืออะไร ?

    ความยุติธรรม คือ การยุติปัญหา ยุติความขัดแย้ง มิใช่ยุติที่กฎหมาย แต่เป็นการ นำการปกครอง นำกฎหมาย และ นำอำนาจ(อธิปไตย) อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ เข้ามาประมวลผล เพื่อหาข้อยุติของปัญหา ยุติความขัดแย้ง และ ให้ความเป็นธรรม คือ สมดุล ในผลของประโยชน์ และ ผลของโทษ เช่นการลงโทษผู้กระทำความผิด ให้สมดุลกับมูลค่า ของการกระทำความเสียหาย ที่ได้กระทำไว้ ต่อชีวิต และ ทรัพย์สินของผู้อื่น ประดุจดั่ง ตาชั่งคาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของความยุติธรรม ตาชั่งต้องหยุดนิ่ง ไม่แกว่ง ( ปัญหายุติแล้ว ) และ ต้องสมดุล ไม่เอียงข้าง ( ความเป็นธรรม )

ใส่ความเห็น