การวิพากษ์ KM คณะบริหารธุรกิจ เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน
วันที่ 25 พฤษภาคม 2553 เวลา 09.00-11.00
1. การวิจัยในชั้นเรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ หมายถึงอย่างไร
Ans.: โดยหลักพื้นฐานของการวิจัยมีกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ ตีความอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้คำตอบทีเชื่อถือได้ ซึ่งสามารถแยกเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. สังเกตกำหนดปัญหา
2. กำหนดขอบเขตการศึกษา
3. ตั้งสมมุติฐาน
4. ทดลองปฏิบัติ
5. ติดตามผล
2. หลักการดังกล่าวนำมาใช้กับการวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างไร
Ans.: Class room Action Research สามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ
1. ไม่ยึดติดกับระเบียบวธีวิจัยอย่างเคร่งครัด มุ่งนำไปใช้แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาผู้เรียน
2. ดำเนินงานตามกรอบระเบียบวิธีวิจัยทั่วไป
3. ในการทำวิจัยในชั้นเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำเป็นส่วนประจำของอาจารย์จะทำ ได้อย่างไร
Ans.: อาจารย์ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นจุดเริ่มต้น และใช้การทำวิจัยในแบบ Informal Research เป็นเครื่องมือ ซึ่งไม่ต้องไปยึดติดกับทฤษฎี หรือมีการออกแบบวิจัยมากนัก
4. การทำวิจัยในชั้นเรียน โดยไม่อิงกับระเบียบวิธีวิจัยอย่างเคร่งครัดจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานการประกันคุณภาพการศึกษาในตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ได้หรือไม่
Ans.: ได้ เพราะเป็นกระบวนการค้นหาคำตอบที่เป็นระบบ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่สอกคล้องกัน นิยามสัพย์ของงานวิจัยที่ สกอ.ได้กำหนดไว้ เพียงแต่จะมีจุดอ่อนในการนำไปใช้อ้างอิงกับนักศึกษากลุ่มอื่นนอกเหนือจากชั้นเรียนที่อาจารย์ได้เลือกนำมาเป็นตัวอย่างในการทำวิจัย
น่าสนใจมากครับ
อาจารย์ท่านใดสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้นะค่ะ มีอะไรจะได้นำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ