เกณฑ์คัดเลือกช่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

เป็น ข่าวกันไปพอสมควรแล้ว สำหรับ ทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.

เปิดเผยว่าจะมีทั้งหมด 12 ช่อง โดยกำหนดค่อนข้างแน่นอนแล้ว 6 ช่อง โดย 4 ช่องแรกเป็นช่องที่เราคุ้นเคยกันอยู่ คือ 5, 7,11 และ ไทยพีบีเอส (ภายใต้เงื่อนไขต้องคืนคลื่นอนาล็อกก่อน) ส่วนอีก 2 สำหรับช่องเพื่อความปลอดภัย และช่องเพื่อความมั่นคง ว่ากันว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.กลาโหม

http://bit.ly/10DG6aJ
ทั้ง 6 ช่องนี้ สมควรได้รับจัดสรรคลื่นโดยอัตโนมัติหรือไม่ เป็นประเด็นที่ยังต้องถามหาความชอบธรรม

ส่วน ที่เหลืออีก 6 ช่อง ที่ กสทช. จะพิจารณาให้องค์กรหรือหน่วยงานใดนั้น ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์กติกาการคัดเลือกแต่อย่างใด แต่สุภิญญา กลางณรงค์ เสียงข้างน้อยอีกเช่นเคย เห็นว่า กสทช. ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เพื่อความโปร่งใส กรรมการตัดสินจะได้มีหลักยึด ดังนั้น การจัดเวทีระดมสมองเรื่อง “เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ” หรือรู้จักกันในชื่อ “บิวตี้คอนเทสต์” ที่ กสทช. สุภิญญา ในฐานะกรรมการคนหนึ่ง พยายามทำให้การตัดสินใจของ กสทช. ต่อเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติที่สามารถนำไปหา มูลค่าได้มหาศาล มีความโปร่งใส สังคมตรวจสอบได้

เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ฯ ในกิจการสาธารณะ ที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา จัดทำเป็นร่างมาให้เวทีระดมความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1. ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ 2. การผลิตรายการและที่มาของเนื้อหารายการ 3. ความทั่วถึง 4. แหล่งเงินทุนและการใช้เงินทุน 5.กลไกการติดตามตรวจสอบภายในองค์กร และ 6.การมีส่วนร่วมและการคุ้มครองผู้บริโภค

ในเวทีได้อภิปรายและเสนอข้อคิดเห็นมากมาย แต่โดยส่วนตัวนั้น สนใจมากๆ ใน 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ เรื่องเกี่ยวกับศักยภาพหน่วยงานที่จะเสนอตัว ซึ่งเวทีเสนอในประเด็นนี้ค่อนข้างเยอะ

ประเด็นที่สอง คือ เรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” ที่ดูเหมือนจะไม่มีตัวอักษรใดในร่างที่สื่อถึงเรื่องนี้เลย ในตอนท้าย ตัวเองจึงได้เสนอความเห็นไปว่า…

คิด ว่าการกำหนดเกณฑ์เหล่านี้ไม่ควรเป็นไปเพื่อการหาทีวีสาธารณะที่ดีที่สุด แต่ต้องหาทีวีสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ฉะนั้นการเข้าถึงก็ดี เกณฑ์คุณภาพต่างๆ ที่พูดถึงก็ดี รู้สึกว่ากำลังจะได้ช่องที่ลงทุนไปแล้วจะไม่มีคนดูมากนัก อยากให้ช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะถ่วงดุลให้ได้ระหว่าง 3 มุมนี้ คือ

หนึ่ง ทำอย่างไรให้ผู้เสนอตัว มีทุนที่จะยืนระยะได้ หมายความว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนอยากเข้ามาชมรายการคุณภาพ คุ้มค่ากับการเผาเวลาไปนาทีละ 2 แสน หรือวันละ 5 ล้าน (ข้อมูลจากเวที) มันมหาศาลนะ ฉะนั้นถ้าให้เขามาลงทุนแล้วบอกไม่ให้หากำไร ไม่ให้หารายได้ หรือหาได้เท่าที่จำเป็น แล้วใครจะเข้ามาเพราะว่ามันไม่น่าจูงใจเลย ฉะนั้น ทำอย่างไรให้ผู้เสนอมีรายได้พอที่จะยืนระยะในการพัฒนารายการและสถานีให้ดี ขึ้นในอนาคต ซึ่ง กสทช.อาจจะดูเรื่องการให้ทุนอุดหนุนบางส่วน หรือให้มีโฆษณาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ผลิตรายการที่ด้อยคุณภาพหรือเรียกแต่เรตติ้ง

สอง ที่ต้องให้น้ำหนักด้วย คือ “คุณค่าต่อสังคม” ทั้งการเป็น “พลเมือง” หรือการให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสเข้ามาใช้หรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ประเด็นนี้พูดกันค่อนข้างเยอะแล้ว

สาม ที่ไม่ค่อยมีคนพูดกัน แต่คิดว่าต้องให้ความสำคัญมากที่สุดอีกมุมหนึ่งด้วย คือ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ ที่รายการออกมาแล้วดูสนุก หรือทำออกมาแล้วมีคนอยากดู จะเรียกว่าเรตติ้งก็ได้ พูดถึงเรตติ้งอาจจะดูเป็นเชิงลบ แต่ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในเกณฑ์ข้อไหน เพราะร่างที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา นำเสนอมา ยังไม่เห็นประเด็นนี้

ตอน นี้ประชาชนเลือกดูทีละรายการแล้ว เขาดูยูทูป เขาไม่ดูทั้งสถานี ไม่ดูทั้ง 24 ชั่วโมง ไม่ดูตามเวลาที่ออกอากาศ แต่เข้ามาเลือกดูภายหลังได้ ในรายการที่เขาชอบ ฉะนั้น การที่เขาจะเข้ามาดูช่องทีวีสาธารณะ นั่นแปลว่ารายการต้องโดนเขาจริงๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องให้น้ำหนักให้ได้ระหว่าง 3 มุมที่ว่านี้ คือ 1.ให้มีเงินทุนที่จะยืนระยะได้จริงและมีแผนเลี้ยงตัวเองได้จากแหล่งไหนก็ตาม 2.คุณค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่แค่เกิดช่องละครหรือรายการที่มีอยู่แล้วในกระแสหลัก และ 3.เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำให้คนเข้ามาชมรายการมีคุณภาพอย่างที่ตั้งใจกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพจริง ๆ ของการลงทุนและการใช้ทรัพยากรสาธารณะ

สุดท้ายที่ ประชุมสรุปเกณฑ์ออกมาได้ 5 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับองค์กร ด้านเทคนิค ด้านเนื้อหา ด้านการเงิน และด้านธรรมาภิบาล ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากผลการประชุมของบอร์ด กสทช.เร็ว ๆ นี้

เขียนโดย วนิดา วินิจจะกูล ในกรุงเทพธุรกิจ

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะนิเทศศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น