ประชุมแผนกลยุทธ์ที่สวนทวีชล

1) 3 – 4 เมษายน 2552 ร่วมประชุมนำเสนอแผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัยโยนก ประจำปี 2552 ซึ่งท่านอธิการสันติ บางอ้อ
จัดให้มีการประชุมแบบนี้เป็นปีที่ 3 ซึ่งครั้งนี้จัดที่ สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล เชียงใหม่
อยู่ห่างตัวเมืองไปดอยสะเก็ดประมาณ 11 กม. มีผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และ
ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมครั้งนี้ประมาณ 76 คน ใช้ห้องพักไป 38 ห้อง
ซึ่งครั้งนี้มีผู้ร่วมประชุมเชิงบูรณาการมากกว่าทุกครั้ง มีเอกสารประกอบการประชุมกว่า 2 รีม
หลังประชุมเสร็จคงต้องกลับมานั่งอ่านอย่างใจเย็น เพราะมีรายละเอียดมากจริง ๆ
2) กำหนดการนำเสนอแผนในการประชุม 2 วันนี้ มีทั้งหมด 20 แผน
แต่มีการแลกเปลี่ยนในประเด็นสำคัญจนทำให้จำนวนแผนที่นำเสนอในเวลาที่จำกัด
เหลือเพียง 13 แผน ส่วนผมนำเสนอในวันแรก คือ 15.10 – 15.45
การประชุมครั้งนี้มีการจัดประกวดการนำเสนอแผนในระดับคณะ และสำนัก
2.1 คณะที่ได้รับคัดเลือกว่ามีแผนกลยุทธ์ที่สมบูรณ์ คือ คณะบริหารธุรกิจ
ส่วนคณะของผมไม่ติด 1 ใน 3 คณะครับ แสดงว่าแผนกลยุทธ์ยังขาดความสมบูรณ์
2.2 สำนักพัฒนาศักยภาพได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่ 1 จากสำนักที่เข้ารอบ 5 สำนัก
แต่เสียดายที่หน่วยงานนี้มิได้นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ เพราะเป็น 1 ใน 7 สำนัก
ที่ยกให้กลับไปนำเสนอที่มหาวิทยาลัย เพราะเวลาไม่พอ
ทุกสำนักมีความสำคัญต่อการประกอบการของมหาวิทยาลัย
แต่สำนักที่เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานอย่างชัดเจน และมีผลต่อการกำหนด
แผนงาน โครงการไปถึงระดับนโยบาย คือ แผนทรัพยากรบุคคลที่นำเสนอโดย
คุณมณฑิชา แสนชมพู และแผนงบประมาณที่นำเสนอโดยคุณปริศนา เขียวอุไร
3) ครั้งนี้ เน้นให้ทุกคณะนำเสนอแผนกลยุทธ์สำหรับ 3 ปี คือปี 2552 – 2554
โดยมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์ SWOT แล้วนำไป
กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ โครงการ
และตัวบ่งชี้ โดยทุกคณะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพ และการรับนักศึกษา
เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยง (Risk Identification) ที่มหาวิทยาลัยต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น