อยากจะแบ่งปันเรื่องที่ได้ไปอบรมสัมมนา ในหัวข้อ “ลูกเล่นใหม่ๆ สำหรับการบริหารและพัฒนาบุคลากรแบบสร้างสรรค์ (Creative HRM&HRD)” โดย ท่านอาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ เป็นผู้บรรยาย จัดโดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ที่ โรงแรม สยาม@สยาม มาคะ
รูปแบบการอบรม
50% ทฤษฎี
35% กิจกรรมกระตุ้นต่อมคิด
15 % ถาม-ตอบ
เนื้อหาโดยรวม
- ขาย “ความคิด” กับกิจกรรมพัฒนาพนักงานให้ผู้บริหารยอมรับ
- ทำแบบสอบถามวิเคราะห์แนวทางเสริมสร้างนวัตกรรมบุคคล (Personal Innovative Competency)
- เรียนรู้กิจกรรม HR จากหลากหลายองค์กรในสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาการทำงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น
- ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพบไอเดียใหม่ในการบริหารบุคลากรให้แข็งแกร่ง
- การพัฒนาประสิทธิภาพส่วนบุคคลด้วย HPI (Human Performance Improvement)
- 12Q ที่ให้พนักงานใช้ศักยภาพในการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- การประเมินความถนัดด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้วยการประยุกต์ใช้ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator)
- วิเคราะห์ เลือก และประยุกต์กิจกรรมต่างๆ สู่การทำงานจริง
- เพื่อกระตุ้นการทำงานของพนักงาน แบบรายบุคคล ทีม และ องค์กร
- เพื่อกระตุ้นพนักงานให้คิดนอกกรอบเพื่อพัฒนาคุณภาพงาน
- เพื่อมอบรางวัลแก่พนักงานทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
รายละเอียดตามเนื้อหาการเข้าอบรม
วิทยากรให้ ผู้เข้าร่วมอบรม ฝึกการคิดแบบคร่อมกรอบ โดยการจัดทำเป็น PPCO ซึ่งประกอบด้วย
Pluses : ข้อดีในปัจจุบัน
Potentials : ข้อดีในอนาคต
Concerns : ติด แต่ว่า กังวล
Opportunities : หลบ เลี่ยง ทะลุ
เทคนิคการคิดสร้างสรรค์ คือ คิดออกนอกกรอบไปก่อน (Think out of box) แต่ไอเดียที่ได้ มักเป็นไอเดียที่เพ้อเจ้อ ใช้จริงไม่ได้ เปรียบเหมือนผลไม้ดิบที่ยังทานไม่ได้ ต้องทำการดัด หรือบ่มความคิดให้สุกก่อน ด้วย PPCO
โดยการให้จับกลุ่ม 2-3 คน แล้ว จับฉลากหัวข้อ “11.5 ของการบริหารงานแปลกๆ ให้เกิดความคิดใหม่” ซึ่งประกอบด้วย
1. รับคนที่เรียนรู้ช้า (ด้านการปรับตัวเข้ากับองค์กร)
1.5 รับคนใหม่ที่คุณไม่ค่อยชอบ
2. รับคนที่ดูเหมือนจะไม่จำเป็น
3. ใช้การสัมภาษณ์งานเพื่อหาความคิดใหม่
4. สนับสนุนให้พนักงานให้ดื้อดึงกับหัวหน้า
5. มองหาคนที่มีความสุข
6. ให้รางวัลกับคนที่ทำงาน และลงโทษการไม่ทำอะไร
7. ตัดสินใจทำสิ่งที่เหมือนจะล้มเหลวแต่ชักจูงทุกคนว่าต้องสำเร็จ
8. ทำสิ่งที่ดูเหมือนไร้สาระหรือเป็นไปไม่ได้
9. หลีกเลี่ยงการคุยกับคนที่เห็นแต่เรื่องเงิน
10. อย่าเรียนรู้จากคนที่น่าจะแก้ปัญหาให้เราได้
11. ลืมอดีต โดยเฉพาะเรื่องความสำเร็จ
ความคิดเห็นของกลุ่ม ในหัวข้อที่ 2 “รับคนที่ดูเหมือนจะไม่จำเป็น”
P : ข้อดี คือ อาจจะใช้เทคนิคที่ชำนาญงานด้านอื่นมาปรับปรุงพัฒนางานที่จะต้องทำให้ดึมากขึ้น เช่น รับคนจบ IT มาทำงาน ฝ่ายบัญชี ก็ อาจจะมาคิดค้นวิธีการทำงานให้รวดเร็ว รัดกุมมากขึ้น
P : งานจะเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
C : ติดเรื่องของเนื้อหาของงาน อาจจะต้องใช้ความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ และ ข้อกฎหมายอาจบังคับให้ต้องเป็นคนที่จบตรงสายงานถึงทำงานนั้นๆ ได้ และติดที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานที่ไม่จำเป็นมาทำงาน
O : ก็สอนงานและให้งานที่สามารถช่วยเหลืองานได้ และลดค่าใช้จ่ายโดยการ จ้างเป็น ContactParttime หรือ นักศึกษาฝึกงานก็ได้
วิทยากรให้ บรรยายเรื่อง “12Q” ว่ามีผลการศึกษา เกี่ยวกับผลการทำงานของพนักงานยอดเยี่ยม เลือกเฉพาะคำถามที่เกิดผลต่างกันระหว่างสองกลุ่ม (High VS.Low) สรุปได้ 12 คำถาม ซึ่งพนักงานยอดเยี่ยมจะต้องตอบ Yes ส่วนพนักงานยอดแย่จะตอบ No ใน 12 คำถาม ดังนี้
1. ฉันรู้ว่าสิ่งที่ฉันถูกคาดหวังในการทำงานคืออะไร
2. ฉันมีอุปกรณ์ และเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานของฉัน
3. ในการทำงานฉันมีโอกาสทำให้สิ่งที่ฉันทำได้ดีที่สุดทุกวัน
4. ในระยะเวลา 7 วัน ที่ผ่านมาล่าสุด ฉันได้รับการยกย่องชมเชยจากการทำงานดี
5. หัวหน้าโดยตรงของฉัน หรือคนอื่นๆ ในที่ทำงาน แสดงออกว่าแคร์ฉัน
6. คนในที่ทำงานที่คอยสนับสนุฉันให้พัฒนาตนเอง
7. คนในที่ทำงานรับฟังความเห็นของฉัน
8. ภารกิจหรือเป้าหมายขององค์กรทำให้ฉันรู้สึกได้ว่างานของฉันนั้นมีความสำคัญ
9. เพื่อนร่วมงานของฉันมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างมีคุณภาพ
10. ฉันมีเพื่อนที่ดีในที่ทำงาน
11. ในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา มีคนในที่ทำงานพูดคุยกับฉันเกี่ยวกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของฉัน
12. ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาล่าสุด ฉันมีโอกาสได้เรียนรู้ และเติบโตในการทำงาน
สุดท้าย วิทยากรให้ทำแบบทดสอบวิเคราะห์แนวทางเสริมสร้างนวัตกรรมบุคคล
Clarifier : ชอบหารายละเอียดข้อมูล ก่อนที่จะสรุปคำตอบ
Ideator: ชอบคิดหาไอเดียใหม่ๆ มองภาพรวมมากกว่ารายละเอียด
Developer : ชอบคิดวิเคราะห์ หาแนวทางแก้ปัญหา พัฒนาแนวคิดสู่การนำไปใช้
Implementer : ชอบลงมือปฏิบัติ Learning by Doing
จากการสัมมนาครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านนะคะ
by Savarai Naiyananont
หัวข้อน่าสนใจครับ เป็นการชวนมองจุดแข็งและโอกาส
ปัจจุบันหลักคิดในทางบริหารมีเยอะจริง ๆ
เคยอ่านหนังสือ Strategic Management
ของ ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ (ที่บ้านผมมีทั้ง 2 edition)
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1635/
มีโอกาสต้องเข้าไปปรับ post ซะหน่อยแล้วครับ
ที่เคยเขียนไว้รู้สึกสั้นไป