การวาง plot และ theme ของเรื่อง

การเขียนเรื่องอะไรสักหนึ่งเรื่องที่มีอยู่ในใจเรา ที่เรียกกันว่า “นึกวาดมโนภาพขี้นมา” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “imagination” ต้องถามใจเราว่า เราต้องการเขียนอะไรให้ชัดเจนในมโนภาพนั้นก่อน เช่น ต้องการเรื่องออกมาในแนวไหนก่อนนั่นเอง แสดงว่าเรามองเห็น theme หรือ แก่นของเรื่องนั้นได้แล้ว อย่างเรื่องราวที่เขียนเล่าไปก่อนหน้านี้ อลิซไปพบรักแรกในงานพรอมและในที่สุดถูกเพื่อนสนิทมาแย่งไป ลักษณะของเรื่องเป็น tragic romance (ชิงรักหักสวาท) ซึ่งก็จบลงด้วยความเศร้า เคล้าน้ำตาของทุกฝ่าย เพราะเป็นรักสามเส้า (triangle love story) เรามาดูกันว่า theme ของเรื่องคืออะไร

ความหมายของ theme คือ แก่นหรือประเด็นหลักของเรื่อง ซึ่งก็จะเหมือนกับเรื่องราวต่างๆ ที่เราอ่่าน ก็ต้องหาว่า เรื่องนี้ผู้เขียนต้องการสื่ออะไรให้กับผู้อ่าน สาระที่เป็นประเด็นหลักๆ คืออะไร นี่คือแก่นหรือ theme ของเรื่อง เช่น นิยายเรื่อง “Gone with the wind”   theme (แก่น) ของเรื่องนี้คือ ความรักไม่ใช่การใช้เล่ห์ เพทุบาย เหมือนคำพูดที่ Cupid ฝาก Psyche ไว้ก่อนบินจากไปว่า “Love cannot live where there is no trust.” ซึ่งสามารถเปรียบได้กับแก่นเรื่องของนิยาย Gone with the wind เช่นกัน ที่ R้hett ก็จาก Scarlet ไปเพราะ Rhett ไม่เคยคิดว่า Scarlet รักเขา เขาจะอยู่กับเธอไปเพื่ออะไรในเมื่อลูกสาวที่มีด้วยกันก็จากไปแล้ว นิยายเรื่องจบลงด้วยคำพูดอมตะ  จริงๆ เป็นคำสบถ (swear) ว่า “Frankly, my dear, I don’t give a damn.” ซึ่ง Rhett พูดก่อนที่จะจากไปในสายหมอก ตอบ Scarlet ที่พูดว่า “Rhett… if you go, where shall I go, what shall I do?”  ซึ่งหนังเรื่องนี้กลายเป็นตำนานอมตะจากปลายปากกาของ Margaret Mitchell ซึ่งเขียนนิยายเรื่องนี้โดยอาศัยฉากของสงครามกลางเมืองในอเมริกา (American Civil War Era) ซึ่งเราเรียกว่า “setting” หรือสถานที่ของเนื้อเรื่องนั่นเอง

ความหมายของ plot คือ เค้าโครงเรื่องที่เป็นการวางกรอบให้กับการดำเนินเรื่อง จากเนื้อเรื่องย่อคราวก่อน ที่ขี้นนำมาให้อ่านนั้น คือ plot ของเรื่องนั่นเอง การวางเค้าโครงเรื่อง ผู้เขียนสามารถนำมาแตกเป็นเค้าโครงย่อยในแต่ละบทของเรื่องก็ได้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบมีความสอดคล้องกลมกลืน เมื่อกลับมาแก้ไขก็จะง่ายและอาจน้อยมาก เพราะทำให้ผู้เขียนไม่หลุดกรอบจากเค้าโครงเรื่องหลัก

การเขียนเรื่องสักหนึ่งเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น นิยายซีรีส์ นิยายจบในเล่ม นักเขียนต้องมีมโนภาพซึ่งเป็นจินตนาการใหญ่มาก ว่าตัวละครจะต้องเป็นอย่างไร สถานที่ซึ่งถือว่าเป็นฉากในเรื่อง ควรจะเกิดที่ไหน เปิดฉากตัวละครจะเริ่มต้นตรงไหนดี จะมีความขัดแย้งของตัวละครหรือเรื่องราวให้ผู้อ่านชวนติดตาม เรียกว่า rising action การดำเนินเรื่องต้องมีความซับซ้อน ซ่อนเงื่อน เรียกว่า complicate  ไปจนถึงจุดที่เรียกว่า climax สุดทางตันของเรื่องแล้ว จะลงเอยอย่างไร (falling action) ซึ่งเป็นจุดคลี่ปมต่างๆ นั่นเอง

ตอนต่อไป เราจะไปดูการวางตัวละคร (character) ฉากหรือสถานที่ของเรื่อง (setting) ว่าจะต้องวางออกมาอย่างไรให้เรื่องราวมีเสน่ห์ ชวนติดตาม

 

 

 

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับไปที่ การวาง plot และ theme ของเรื่อง

  1. บุรินทร์ พูดว่า:

    ผมว่าเรื่องเกี่ยวกับ tragic romance (ชิงรักหักสวาท)
    มีให้เห็นในละครไทยเกือบทุกเรื่อง
    ข่มขืนก็เยอะ
    อย่างเรื่อง เสน่หาสัญญาแค้น ไม่ทันไรก็เสียท่าพระเอกซะแล้ว

  2. sujira พูดว่า:

    ส่วนมากนิยายไทย จะเป็นแบบนี้เพราะเป็นธรรมชาติที่ต้องตอบสนองคนดูค่ะ เรียกว่า Need’s Response แต่ถ้าเราเทียบกับนิยายของฝรั่ง จะมีชั้นเชิงค่อนข้างดีกว่านะคะ จะไม่จบตรงนี้ง่ายๆ แม้ว่าสังคมฝรั่งจะค่อนข้างง่ายกว่าเราในเรื่องความรักก็ตาม การเขียนนิยายของเขาจะมีวิธีการการให้ผู้อ่านติดตามตลอดทั้งเรื่อง เรียกว่า Plot Suspense (หน่วงเหนี่ยวเรื่อง) ได้ดีมาก

ใส่ความเห็น