เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้ทุน วช.

ชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนาภายนอก

1. อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล

  2. อาจารย์รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา

  3. อาจารย์ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

 

หน่วยงานที่จัด ศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจ สำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร

วัน/เวลา วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2557 เวลา 13.00 – 16.00 น.

สถานที่จัด ณ หอประชุมปัญญาภิวัฒน์ 2-3 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

วิทยากรโดย คุณสุนันทา สมพงษ์ ผู้อำนวยการกองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 02 940 9495 , 02 579 2284 www.nrct.go.th

e-mail address;rpcd2007@yahoo.com , rpcd2007@hotmail.com

การเตรียมความพร้อมในการเขียนโครงการวิจัย

ขั้นตอนเตรียมการวิจัย เน้นเรื่องการกำหนดสภาพปัญหา การกำหนดชื่อเรื่อง การกำหนดวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นด่านแรกของคณะกรรมการในการเลือกที่จะเปิดอ่านในหน้าต่อไปหรือไม่ โดยต้องเข้าใจถึงความสอดคล้องของการทบทวนวรรณกรรมเอกสารงานวิจัย การกำหนดสมมติฐาน  ตัวแปร และรายละเอียด ของงานวิจัย ให้ชัดเจนในด้านประชากร เครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวม และ การวิเคราะห์ผล การแปลผล และการสรุปผลข้อมูล เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการเขียนรายงานการวิจัย

ข้อพึงระลึกอยู่ตลอดสำหรับการเป็นนักวิจัยที่ดีคือ การ Copy งานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเอง การทิ้งงานวิจัยกลางคัน นักวิจัยจะถูกขึ้นบัญชีดำกับ วช และ ทาง วช จะทำหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

การเสนอโครงการงานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณา

1 ต้องเขียนตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วนทุกข้อ

2 ยื่นเอกสารให้ตรงเวลาที่กำหนด

3 การเตรียมความพร้อมในการเขียนโครงการตาม TOR เช่นการแปลความ การสื่อสารให้ชัดเจน และ ตรงประเด็น

4 ต้องเป็นงานวิจัยที่ไม่ขึ้นหิ้ง แต่ในทางกลับกันต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือต่อยอดการใช้ประโยชน์สู่การพัฒนาให้เกิดเป็นผลกระทบเป็นผลงานวิจัยที่ช่วยพัฒนาประเทศ หรือพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์

5ต้องเป็นงานวิจัยที่สร้างจุดขาย หรือ ความแตกต่างให้สามารถประเมินความคุ้มค่าของงานวิจัยจากงบประมาณ บุคคลากร และ เวลาที่ใช้ไป

คำถามที่ผู้ตรวจสอบ วช. มักมองหา

1 รู้หรือไม่ว่าจะมาขอทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร

2 รู้หรือไม่ว่าต้องมีหลักอะไร มีการเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

3 มีประสบการณ์ด้านการศึกษาและประสบการการวิจัยอะไรมาบ้าง เพียงพอที่จะให้กรรมการเชื่อว่าจะสามารถทำงานวิจัยที่ให้อย่างมีคุณภาพ

4 มีความเป็นได้แค่ไหนที่จะทำงานวิจัยให้สำเร็จ โดยผู้ตรวจสอบดูจากประสบการณ์ โจทย์การวิจัย วิธีการศึกษา การทบทวนเอกสาร กรอบแนวคิดการวิจัยตั้งคณะกรรมการเพื่อ ขอบเขต ตัวชี้วัด งบประมาณ ประโยชน์ที่ได้รับเป็นต้น

ระบบการประเมินผลงานวิจัย

ประเมินจากการช่วงการดำเนินการ และ แบ่งจ่ายงบประมาณให้ตามช่วงการดำเนินการที่แล้วเสร็จเห็นเป็นผลสัมฤทธิ์ จากคณะกรรมการ

เมื่อผลงานวิจัยไม่สัมฤทธิ์ ตามกำหนดการ และผู้วิจัยรายงานผลพร้อมหลักฐานแนบโดยสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เกิดจากการละทิ้งงาน ทาง วช จะตั้งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินตามสภาพอีกครั้ง

 ประโยชน์ที่ท่านสามารถนำมาใช้กับการปฏิบัติงานได้ ดังนี้

การเตรียมความพร้อมในการพัฒนางานวิจัย เพื่อนำไปสู่การการของบประมาณจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐบาล และ ภาคเอกชน

ความเห็น/ข้อเสนอแนะอื่นๆ

มหาวิทยาลัยควรสนับสนุบงบประมาณเพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลากร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมอบรมสัมมนาในหลักสูตรระยะยาว  ซึ่งเป็นการช่วยเปิดมุมมองความคิด และสามารถปรับปรุงตนเอง เพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่ช่วยพัฒนาประเทศ หรือพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ได้

ข้อความนี้ถูกเขียนใน งานวิจัยและบริการวิชาการ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น