ความตระหนักต่อความเป็นส่วนตัวของนักเรียนมัธยมปลาย (Privacy)

วิทยากรได้เล่าเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น  “การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ
จากการแลกเปลี่ยนตามเนื้อหาในบทความเรื่อง “Information Ethics and Behaviors of Upper Secondary Students Regarding the Use of Computers and The Internet” โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย  และ อ.เกศริน อินเพลา ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “จริยธรรมทางสารสนเทศ และพฤติกรรมของนักเรียนระดับมัธยมปลายที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต” โดยวิทยากรชวนแลกเปลี่ยน แล้วได้สรุปว่ามีนักเรียนระดับมัธยมปลายในลำปาง ร้อยละ 41.8 ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และมีถึงร้อยละ 34.8 ที่ใช้อินเทอร์เน็ต การเข้าใจถึงพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมปลายจะช่วยในการจัดทำแผนรณรงค์รับนักศึกษาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่เยาวชน และการปรับหลักสูตรและรายวิชาให้รองรับนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น

แล้วยังนำความรู้เรื่องพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่ตามแนวคิด PAPA (Privacy, Accuracy, Property, Accessibility) มาปรับใช้ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมจริยธรรม สอดรับกับมาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง คือ การผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งมาตรฐานนี้มีทั้งหมด 5 ด้าน

1) คุณธรรม จริยธรรม (Morality and Ethics)

2) ความรู้ (Knowledge development)

3) ทักษะทางปัญญา (Intellectual development)

4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal relationship and responsibility)

5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills)

 

ซึ่งจากผลสำรวจนักเรียนระดับมัธยมปลายทั้ง 3 ชั้นในจังหวัดลำปางจำนวน 1450 ตัวอย่าง ทำให้ทราบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายใช้ Facebook มากถึงร้อยละ 96.7 รองลงมาใช้ Youtube ร้อยละ 66.1 ใช้ Line ร้อยละ 61.6 ใช้ Twitter ร้อยละ 47.2 ใช้ WhatsApp ร้อยละ 28.0 และอื่น ๆ ร้อยละ 10.6 แล้วผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประเด็นจริยธรรมทั้ง 4 คือ ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงมีความสัมพันธ์กับทัศนคติการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต (ยอมรับสมมติฐาน) แต่ความเป็นส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับทัศนคติการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตน้อย หรือไม่มีความสัมพันธ์กัน (ไม่ยอมรับสมมติฐาน) แสดงว่านักเรียนให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าประเด็นอื่น

สรุปได้ว่าปัจจุบันนักเรียนระดับมัธยมปลายยังขาดความตระหนักในเรื่องการควบคุมความเป็นส่วนตัว และไปแสดงความเห็นในเครือข่ายสังคมอย่างไม่ระมัดระวัง ยังมีทัศนคติพึงระวังต่อความเป็นส่วนตัวไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้นในกระบวนการผลิตบัณฑิตของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงควรเพิ่มเนื้อหาที่จะสอนนักศึกษาในรายวิชา แล้วยกตัวอย่างปัญหาเรื่องของความตระหนักต่อความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น ซึ่ง ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ เห็นว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีแล้วนำไปปรับใช้สอนนักศึกษา และจัดทำเว็บเพจ http://www.thaiall.com/ethics ที่ให้ข้อมูลเรื่องความเป็นส่วนตัวในเครือข่ายสังคม และนำเสนอกรณีปัญหาที่ต้องพึงระวังสำหรับการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นส่วนตัว

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย และติดป้ายกำกับ , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น