“หน้าที่ของสื่อคือการแก้ไขความเลวร้ายของสังคม
เราต้องสร้างสังคมให้ดีขึ้น
เพื่อเรียกศรัทธากลับคืนมา เพราะสังคมคาดหวังจากเรา…”
ข้อคิดดีๆที่คุณเกี๊ยง — นันทขว้าง สิรสุนทร นักวิจารณ์ภาพยนตร์และคอลัมนิสต์ชื่อดัง
ฝากไว้ให้แก่เยาวชนชาวลำปาง จากการทอล์คเจาะลึกการทำงานข่าวของสื่อมวลชน
โดยผ่านสื่อภาพยนตร์ เรื่อง Spotlight คนคลั่งข่าว
กิจกรรมการเรียนรู้ดี ๆ นอกห้องเรียนของม.เนชั่น
ที่โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัล พลาซา ลำปาง เมื่อ 15 ก.พ.59 ที่ผ่านมา
15 ก.พ.59 อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง ดำเนินรายการ
เสวนากับคุณนันทขว้าง สิรสุนทร นักวิจารณ์ภาพยนตร์
หลังฉายหนังเรื่อง Spot light ให้นักเรียน นักศึกษาในลำปางได้ชมในราคาพิเศษ
ที่ โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัล ลำปาง ระหว่าง 12.30 – 16.00น.
เรื่องราวเป็นทีมข่าว Spot light ของหนังสือพิมพ์ The Boston Globe
ที่เข้าไปเจาะข่าวการละเมิดเพศของเด็กโดยบาทหลวงคาทอลิก
เป็นข่าวหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001
มีประเด็นที่ฟังจากเวทีเสาวนามากมาย อาทิ
1. อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง บอกว่าลักษณะการทำข่าวของทีม Spot light
เป็นแบบ investigative reporting เป็นการรายงานจากการสืบสวน
2. หาข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้มารายงาน โดยไม่มีความเห็นส่วนตัว
ทีมนี้ต้องไม่มีการปักธง ต้องทำด้วยความเป็นกลาง และรายงานความจริง
คุณนันทขว้าง บอกว่าบางทีจะทำข่าว ต้องหาทีมใหม่เข้าไปเจาะข่าว
เพราะถ้าใช้ทีมที่คุ้นเคย อาจได้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง เข้าข้างแหล่งข่าวได้
3. ข่าวเจาะลึกคดีบาทหลวงละเมิดเด็ก
ถูกบรรณาธิการคนใหม่ผู้มีสัญชาติญาณ เลือกเป็นประเด็นข่าวสำคัญ
เพราะเคยมีข่าวนี้ลงตีพิมพ์มาก่อน ทีมข่าวคนเดิมก็เคยรายงาน
แต่ไม่ให้ความสำคัญ จนบรรณาธิการคนใหม่
เห็นว่าให้ทีมหยิบมาขยาย เป็นพาดหัวได้
จึงเริ่มการสืบสวนอย่างจริงจัง
และห้องทำงานของ บก. มี นกฟลามิงโก
ที่ร้องแล้ว ร้องต่อ ๆ กันไป ขยายวงออกไป
4. มีการพูดถึง “กะแดะ ตอแหล” ของคนในสังคมไทย
อย่างกรณีหนังเรื่อง อาบัติ หรือ อาปัติ
ก็ถามว่าเป็นอะไร ยอมรับกันไม่ได้เหรอ
ว่าในสังคมของศาสนาพุทธ มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจริง
เปลี่ยนชื่อหนังแล้วฉายได้ หมายความว่าไง ก็เรื่องเดิม
บ้านเมืองเราก็ไม่ยอมให้แตะต้องศาสนา
ทำไมต้องห้ามพระเล่นกีต้า
เห็นซื้อไอโฟน ซื้อหนังโป๊
5. ถ้านักข่าวกล้าตีแผ่น ใครจะกล้า backup
ก็มีสำนักพิมพ์ หรือบรรณาธิการคอยดูแล
ที่เครือเนชั่น หัวหน้าจะดูแลนักข่าว และดูแลเนื้อหาก่อนเผยแพร่
อย่างดีทุกคน ทุกเรื่อง ไม่ให้เกิดปัญหาตามมา
6. ยกตัวอย่างภาพยนตร์ All The President’s Men
ที่สองนักข่าวเข้าไปสัมภาษณ์แหล่งข่าว แล้วถูกห้ามเผยแพร่
ห้ามจด ห้ามอัดเสียง ห้ามบันทึกด้วยวิธีใด ๆ
แต่สองนักข่าวใช้การจำข้อความในกระดาษ
แล้วผลัดกันออกไปจดข้อความในห้องน้ำ
จนได้ข้อมูลไปรายงานเรื่องประธานาธิบดีในที่สุด
จนมีชื่อเสียง และขึ้นมาเป็นนักข่าวระดับต้นในที่สุด
7. พูดถึงการวิจารณ์ภาพยนตร์อย่างตรงไปตรงมา
คุณนันทขว้าง บอก “ต้มยำ..”
ซึ่งคุณนันทขว้างบอกว่าเคยติดตามกองถ่ายไปออสเตรเลีย
แต่ให้ติดตามกองถ่ายไปต่างประเทศ ก็ไม่เกี่ยวกับการวิจารณ์หนัง
ที่ต้องวิจารณ์แบบตรงไปตรงมา จะวิจารณ์เอาใจผู้กำกับคนเดียว
แต่คนด่าทั้งประเทศไม่ได้ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องตรงไปตรงมา
8. เล่าประสบการณ์การเป็นนักข่าว
ที่ต้องเจาะแหล่งข่าว เช่น
ร้านตัดผม ที่ขายบริการ แถวสุทธิสาร ก็ต้องปกป้องแหล่งข่าว
หรือปลอดตัวเป็นนักแข่งรถ แข่งพนันผู้หญิงที่ซ้อนท้าย
9. เล่าเรื่องการทำตลาดของ GTH
ที่บอกว่ามีการแบ่งทีมประชาสัมพันธ์ผ่าน social media อย่างเป็นระบบ
จะส่งข่าวออกไป แต่ไม่ทำช่วง 9.00 – 16.00
10. ปิดท้ายด้วยการเล่าเรื่องหนัง Shane, come back!
ที่มีม้าดำ กับมาขาว วิ่งลงมาจากภูเขา
แล้วเหยียบน้ำ ที่ทำให้ดูออกว่าใครดี และใครไม่ดี
หรือเรื่อง Titanic ที่มีปลาโลมา 2 ตัวว่ายน้ำนำเรือไป
ก็จะมีความหมายซ่อนอยู่
บันทึกบล็อกครั้งนี้ อาจตกหลงใจความสำคัญ หรือคลาดเคลื่อนบ้าง
เพราะใช้การจดจำเป็นหลักจากการฟังเสวนา