ผลทดสอบบูท USB แบบแก้ไบออส(del)หรือบูทเมนู(f12)

usbdrive27 ก.ค.52 จากผลการหารือเรื่องบริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์กับ คุณอนุชิต ยอดใจยา พบว่านักศึกษา และอาจารย์หลายท่านมีปัญหา การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีต้องการเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ผ่าน Hard Disk แต่ใช้ USB Drive แทน เพื่อเข้าไปคัดลอกข้อมูล หรือแก้ไขปัญหาเบื้องต้น จึงทดสอบใช้ Fedora Live USB 11 เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แทน Hard Disk ซึ่งผลการทดสอบกับเครื่องในห้องปฏิบัติการ 1 พบว่า กรณีที่ 1 ถ้าไม่เสียบ USB Drive เข้าไป จะแก้ไข Bios ไม่ได้ เพราะมองไม่เห็น USB Drive ที่จะเลื่อนให้ขึ้นมาเป็น Drive แรก กรณีที่ 2 กด F2 หรือ Del เพื่อแก้ไข Bios แล้วกำหนด Harddisk Boot Priority โดย เลื่อนลำดับของ USB Drive ที่เสียบคาอยู่ขึ้นไปก่อน Hard Disk มีผลให้บูทด้วย USB Drive ได้ปกติ แต่ถ้าดึง USB Drive แล้ว Boot ด้วย Hard Disk จะทำให้ลำดับนั้นคืนค่าเป็น Hard Disk จะบูทด้วย USB อีกไม่ได้ หากต้องการบูทด้วย USB Drive อีก ต้องกลับไปกดปุ่ม F2 หรือ Del แล้วเปลี่ยนลำดับของ Harddisk Boot Priority ใหม่ กรณีที่ 3 กด F12 เข้า Boot Menu แล้วเข้าไปใน Hard Disk จะพบชื่อ USB Drive ตามหลัง Hard Disk ถ้าเลื่อน USB Drive ขึ้นมาก่อน ก็จะ Boot USB Drive ได้ แต่การกดปุ่ม F12 จะมีผลครั้งเดียว หากสั่ง Reboot เครื่องก็จะเข้า Hard Disk ตามปกติ ไม่บูทจาก USB Drive เหมือนกับการใช้ F2 หรือ Del
     จากทั้ง 3 กรณี จะใช้กับ MP3 Cube USB ไม่ได้ เพราะเครื่อง Acer ในห้องปฏิบัติการมองไม่เห็นอุปกรณ์ตัวนี้ขณะ Boot ไม่ว่าจะเลือก Boot แบบใด แต่สำหรับ USB Drive ยี่ห้อ  Kingmax และ Kingston และ Apacer ไม่พบปัญหาใด มองเห็นอุปกรณ์นี้เป็น Hard Disk แบบ USB ทั้งหมด แต่คอมพิวเตอร์ของ ECS รุ่น Desknote (กว่า 8 ปี) มองเห็น Mp3 Cube USB เป็น USB-FDD แต่บูทไม่สำเร็จ เพราะ Hardware ไม่อาจรองรับ x86-64 ของ Fedora Core 11 นั่นเอง
    บันทึกเกี่ยวกับ USB Booting ก่อนหน้านี้
    – Fedora Live USB 11 และ OpenOffice 3.1.0
    – การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์บูทด้วย Live USB

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน งานระบบบริการสารสนเทศ และติดป้ายกำกับ , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น