การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยงานสร้างสรรค์(ภาพถ่าย)

การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยงานสร้างสรรค์(ภาพถ่าย)

ภาพถ่ายในฐานะผลงานทางวิชาการในที่นี้จะเป็นลักษณะภาพถ่ายที่เป็น ๑.ภาพเคลื่อนไหว ๒.ภาพนิ่ง

ในที่นี้เราจะขอเน้นการขอผลงานทางวิชาการภาพถ่ายที่เป็นภาพนิ่ง ซึ่งภาพถ่ายนั้นๆ จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆดังนี้คือ

๑.ภาพถ่ายจะต้องครอบคลุมผลงานด้านศิลปะทางการถ่ายภาพ มีการจัดองค์ประกอบภาพที่ดี

๒.ต้องประกอบด้วยกระบวนการทางวิชาการ มีบทวิเคราะห์ที่อธิบายหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ หรือวิธีการที่จะเป็นประโยชน์ในสาขาวิชา มีความก้าวหน้าทางวิชาการความรู้ใหม่ในสาขาวิชานั้นๆ

๓.มีการเผยแพร่นิทรรศการที่มีการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาพถ่ายที่ได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดง)

จากข้อที่ ๓. ภาพที่ผ่านการจัดนิทรรศการ ย่อมมีผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นๆได้รับความเห็นชอบและผ่านสายตา ภาพนั้นๆจึงเป็นภาพที่เหมาะแก่การนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการ เพราะว่า เป็นภาพที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ  มีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นด้านเทคนิค แนวคิด หรือการประกอบสร้างความหมาย และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของภาพถ่ายที่เหมาะแก่การนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการ คือ ภาพถ่ายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน(Style)

ในด้านส่วนประกอบงานเขียนสำหรับภาพถ่ายนั้นๆ เพื่อการนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการ ควรจะมี

๑.ที่มาของแนวคิด หรือแรงบันดาลใจ

๒.แนวคิดที่เกี่ยวข้อง

๓.กระบวนการสร้างสรรค์

๔.องค์ความรู้ที่ได้รับ

สำหรับจุดเริ่มต้นแห่งแรงบันดาลใจอาจจะเกิดได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ เช่น

พฤติกรรมของผู้คน (เช่น พฤติกรรมของคนที่ชอบถ่ายเซลฟี่ตัวเอง)

สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์(ฉากหลังต่างๆ ที่เราถ่ายภาพ)

สังคม การเมือง วัฒนธรรม

สุนทรียภาพ

อุดมการณ์ ความเชื่อ

สรุปโดยย่อในการขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยงานสร้างสรรค์ (ภาพถ่าย) ให้เราเตรียมพร้อมในสิ่งต่อไปนี้

๑.ที่มาของแรงบันดาลใจ (กระบวนการสื่อสารของภาพถ่าย)

๒.การทบทวนวรรณกรรม (การจัดองค์ประกอบภาพ, ทฤษฎีสี, แนวคิดการสื่อความหมายด้วยภาพ, การศึกษาเชิงสัญวิทยา)

๓.กระบวนการสร้างสรรค์ (เช่น การสำรวจสถานที่, การวางแผนการถ่าย, กระบวนการถ่ายภาพ)

๔.มีผลงานสร้างสรรค์ (ภาพที่จะใช้จัดแสดง)

๕.สรุปผลงาน (สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ, เทคนิคหรือเนื้อหาใหม่ๆในการสร้างสรรค์ผลงาน)

๖.มีการเผยแพร่ผลงาน (มีภาพที่จัดแสดงในนิทรรศการต่างๆทั้งระดับประเทศ หรือ นานาชาติ ก็ได้)

๗.ผู้คัดเลือกผลงาน (ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นๆ)

 

อ.สิทธิโชค  โควาบุญพิทักษ์

เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะนิเทศศาสตร์, แนวทางการผลิตงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น