บทความ การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง กรณีศึกษา ห้วยผาดั้น ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง

การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง

การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง

มีโอกาสได้อ่านบทความวิชาการเรื่อง “การจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง
กรณีศึกษา ห้วยผาดั้น ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง” เขียนโดย
ดวงใจ พุทธวงศ์ กาญจนา ภาสุรพันธ์ นงนุช สุวิทย์วงศ์  ศิริพร ปัญญาเสน
ลงใน proceeding
การประชุมวิชาการ “ยกระดับความรู้สู่การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม” ภาคเหนือ ปี 2559
(Knowledge Enhancing Towards better PHPP)
[วัตถุประสงค์]
เพื่อศึกษากระบวนการจัดการ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ
และเงื่อนไขของความสำเร็จ ของการจัดการตนเองสู่สังคมสุขภาวะของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง
[ผลการศึกษา]
ชุมชนบ้านไร่ศิลาทองได้ใช้กระบวนการสมัชชาเพื่อสุขภาพเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
โดยยึดหลัก “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ทำให้เกิดกลไกและกระบวนการทำงานที่เสริมพลัง (Synergy)
ซึ่งกันและกัน และใช้เวทีประชาคมหมู่บ้านเป็นพื้นที่สาธารณะ สำหรับให้คนในชุมชน และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ค้นหาปัญหา และหาทางออกร่วมกันอย่างสมานฉันท์
อันนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกัน ที่เรียกว่า “กติกาห้วยผาดั้นบ้านไร่ศิลาทอง”
และประกาศเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของชุมชน
[ผลผลิตของการจัดการตนเองสู่สังคมสุขภาวะ]
– เกิดการนำกระบวนการสมัชชาสุขภาพใช้เป็นเครื่องมือ อันนำไปสู่กติกาห้วยผาดั้น
– เกิด แผนที่ทำมือป่าห้วยผาดั้น
– เกิด กติกาห้วยผาดั้นบ้านไร่ศิลาทอง
– เกิดนโยบายสาธารณะประเด็นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
– เกิดกองทุนภัยพิบัติบ้านไร่ศิลาทอง
– เกิดศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในป่าห้วยผาดั้น และหอเฝ้าระวังป่า
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมในบทความที่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/634910379993117/

 

พักทานข้าวเที่ยงป่าเปียงในห้วยผาดั้น

พักทานข้าวเที่ยงป่าเปียงในห้วยผาดั้น

พักทานข้าวเที่ยงป่าเปียงในห้วยผาดั้น บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1479825548924076&id=100006899357396

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น