การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบริหารจัดการความรู้
เรื่อง การพัฒนางานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
สถาบันพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจ
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 ณ สถาบันพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจ
อาจารย์เมธัส ชูเวช เข้าอบรมหลักสูตร “สร้างต้นกล้าวิจัยรับใช้ชุมชน” ภายใต้ โครงการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานคระกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2559 ภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมได้นำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ให้ทางอาจารย์และเจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ/สถาบันพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจต่อไป
บรรยากาศการอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ หลังจากนี้จะนำความรู้ที่ได้มาจัดการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)
จุดมุ่งหมาย
มีงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ สามารถเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยส่งแหล่งทุนต่างๆได้ รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาค
เทคนิคในการค้นหาหัวข้องานวิจัย มีเทคนิคดังนี้
1. ค้นหาหัวข้อจากการปฏิบัติสหกิจศึกษาของนักศึกษา
2. ค้นหาหัวข้อจากฐานข้อมูลวิจัยตีพิมพ์: จากแหล่งข้อมูล www.sciencedirect.com หรือwww.sciencefinder.com
ในการค้นหางานวิจัย
3. ค้นหาหัวข้อจาก สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร เช่น http://www.freepatentsonline.com/
4. หัวข้องานวิจัยจากการบริการวิชาการให้กับชุมชน
5. หัวข้องานวิจัยจากสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ปัญหาที่ได้จากสื่อต่างๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ เวปไซต์ เป็นต้น
6. หัวข้องานวิจัยที่ได้จากการฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน ประชุมวิชาการ งานจัดแสดงสินค้าและ สิ่งประดิษฐ์
7. หัวข้อวิจัยที่เกิดจากประเด็นยุทธศาสตร์จากแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุน ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่ใช้หาข่าวสาร ทุน แหล่งสนับสนุนงานวิจัย
7.1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.http://www.trf.or.th Email : trfbasic@trf.or.th)
7.2 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) www.mua.go.th
7.3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) www.thaihealth.or.th
7.4 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http:/ www.nrct.go.th
7.5 สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม http://www.nepo.go.th
7.6 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) http://www.nstda.or.th
7.7 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) http://www.ipst.ac.th
7.8 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย http://www.ttsf.or.th
7.9 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สพน.) http://www.eppo.go.th
7.10 กรมควบคุมมลพิษ http://www.pcd.go.th
7.11 สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย กรมการแพทย์ http://www.dms.moph.go.th
7.12 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://www.fda.moph.go.th
7.13 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC) http://www.biotec.or.th
7.14 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) http://www.nectec.or.th
7.15 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) http://www.hsri.or.th
7.16 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ http://www.culture.go.th
ช่องทางที่ได้มาของโจทย์วิจัย
ในการได้มาซึ่งโจทย์วิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์นั้น นักวิจัยสามารถหาโจทย์วิจัยจากช่องทางต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การเลือกจากโจทย์งานวิจัยเดิม โดยประสานกับหน่วยงานเดิม/ใหม่ งานวิจัยมีแนวโน้มที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอด, และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในระดับของมหาวิทยาลัย หรือ ประเทศ รวมถึงการสำรวจปัญหาความต้องการจากชุมชน
2. การหาโจทย์งานวิจัยผ่านทางผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะ
บรรยากาศผู้เข้าร่วมการจัดการความรู้ บรรยายโดย อาจารย์เมธัส ชูเวช
เทคนิคในการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
เมื่อนักวิจัยได้ดำเนินงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว เพื่อให้งานวิจัยนั้นเกิดประโยชน์แก่ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ จากการระดมความคิดของคณะทำงานสามารถสรุปเทคนิคเพื่อที่จะสามารถทำให้งานวิจัยถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
1. มีการกำหนดนโยบายของคณะในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยหาหน่วยงานที่จะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยอาจกำหนดเป็นคะแนนในการประเมินงานวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง หรือดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นผู้ร่วมวิจัย
3. เข้าร่วมงานหรือส่งชิ้นงานเข้าประกวด ในงานเผยแพร่งานวิจัยต่างๆ เช่น งาน Thailand Research symposium
4. จัดงานเผยแพร่งานวิจัย โดยมีการกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนและดำเนินการทุกปี
5. นำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างไปให้ผู้บริโภคทดลองใช้งาน พร้อมแบบสอบถามความพึงพอใจ
6. จัดทำจุลสารงานวิจัยของคณะ และส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์
7. ในการหาโจทย์และทุนวิจัย นักวิจัยอาจเน้นไปยังหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือและให้การ สนับสนุนในการทำงานงานวิจัย