การเขียนโครงร่างงานวิจัย (Proposal)

ตอนที่ 1 เทคนิคการตั้งชื่อหัวข้องานวิจัย

การตั้งชื่อหัวข้องานวิจัย จะต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ด้วยกันคือ

1.ส่วนที่เป็นประเด็น หรือตัวแปรที่ศึกษา และ

2.ส่วนที่เป็นประชากรที่จะศึกษา (ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 2  เทคนิคการเขียนภูมิหลังงานวิจัย

การเขียนภูมิหลังงานวิจัย ต้องเขียนให้ครบ 5 ประเด็น หรือเขียนเป็น 5 ย่อหน้า

2. ภูมิหลัง (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา)

2.1 ประเด็นที่ควรเขียนในภูมิหลัง

2.1.1  ประเด็นความสำคัญของตัวแปรตามที่เลือกมาศึกษา

2.1.2  ประเด็นสภาพปัญหา และที่มาของปัญหาที่พบในกลุ่มประชากร

ก. มีผู้วิจัยไว้แล้ว (ต้องอ้างอิงผลการวิจัย) (ไม่ควรอ้างงานวิจัยระดับเดียวกันกับงานวิจัยที่ทำ)

ข. ผู้วิจัยสำรวจเอง (ต้องแสดงผลการสำรวจ)

ค. ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเขียนไว้ (ต้องอ้างอิงเอกสาร) (ควรเป็นระดับรศ. ขึ้นไป)

2.1.3 ประเด็นแนวทางการวิจัย ที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย

แนวทางที่ 1 ต้องการอธิบายหรือทำความเข้าใจ กับตัวแปรตามที่เลือกมาศึกษา

แนวทางที่ 2 ต้องการอธิบายผลของตัวแปรอิสระ ที่มีต่อตัวแปรตามโดยใช้วิธีทดลอง

2.1.4  ประเด็นคำถามการวิจัยที่ต้องการหาคำตอบ

2.1.5  ประเด็นเมื่อได้คำตอบแล้วจะเชื่อมโยงกับงานวิจัยที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร และนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ใดกับใครและหน่วยงานใดบ้าง

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 3  เทคนิคการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

3.1  เทคนิคการเขียน คือ เขียนบรรยายเป็นข้อๆ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ศึกษาเรื่องอะไร กับใคร และในแง่มุมใด

3.2  หลักการเขียน คือ ต้องสอดคล้องกับคำถามวิจัยหรือประเด็นที่ผู้วิจัยใคร่รู้ ใน 4 ลักษณะ

ก. การวิจัยแบบสำรวจ

ข.  การวิจัยแบบเปรียบเทียบ

ค. การวิจัยแบบทดลอง

ง. การวิจัยแบบความสัมพันธ์

3.3  ต้องสอดคล้องกับหัวข้อและส่วนอื่นๆในโครงร่างงานวิจัย

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 4  เทคนิคการตั้งสมมุติฐานสำหรับงานวิจัย

4.1  สมมุติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล เพื่อตอบความมุ่งหมาย (วัตถุประสงค์) ของการวิจัยที่ตั้งไว้

4.2  สมมุติฐานการวิจัย มี 2 ชนิด

ก. แบบมีทิศทาง

ถ้าเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ จะมีคำว่า “มากว่า”, “น้อยกว่า”, “สูงกว่า”, “ต่ำกว่า” อยู่ในสมมุติฐานนั้น

ถ้าเป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ จะมีคำว่า “สัมพันธ์กันทางบวก”, “สัมพันธ์กันทางลบ”

ข. แบบไม่มีทิศทาง

ถ้าเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ จะมีคำว่า “แตกต่างกัน” อยู่ในสมมุติฐานนั้น

ถ้าเป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ จะมีคำว่า “สัมพันธ์กัน”

4.3  ลักษณะของงานวิจัยที่ต้องตั้งสมมุติฐาน มี 3 ลักษณะ คือ

ก. แบบเปรียบเทียบ

ข. แบบหาความสัมพันธ์

ค.  แบบทดลอง

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 5  กรอบแนวคิดงานวิจัย

5.1  กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) เขียนในรูปองค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

ก.  ปัจจัยนำเข้า (Input)

ข.  กระบวนการ (Process)

ค.  ผลผลิต (Output)

5.2  รูปแบบของการวิจัย (Model Research)

เป็นการนำส่วนที่เป็นกระบวนการ (Process) ตามกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) มาขยายเป็นกระบวนการย่อย ที่ใช้ดำเนินงานวิจัย โดยใช้ทฤษฎีที่ได้ศึกษา มาจับหรือผสมผสานกัน

ตอนที่ 6 ขอบเขตในการวิจัย

6.1 ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด

6.1.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ก. ลักษณะของประชากร

ข. จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)

6.1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย

ก. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย

ข. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย

6.1.3  ตัวแปรที่ศึกษา

6.1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ

6.1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล

6.2 ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)

ก. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง

ข. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

ตอนที่ 7 วิธีการวิจัย

7.1  ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

7.1.1  ประชากร (Population)

ก. ประชากรที่สามารถหาจำนวนที่แน่นอนได้

ข. ประชากรที่ไม่สามารถหาจำนวนที่แน่นอนได้

7.1.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample)

ก. ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง

1. บางส่วนของประชากร

2. เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

ข. หลักการเลือกกลุ่มตัวอย่าง

ประเภทที่ 1 เลือกโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น

1. สุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)

2. สุ่มตามระดับชั้น (Stratified Random Sampling)

3. สุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling)

4. สุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

ประเภทที่ 2 เลือกโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น

1. เลือกตามสะดวก (Convenience Sampling)

2. เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3. เลือกแบบกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling)

ค.  การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (จำเป็นอย่างยิ่งกับงานวิจัยเชิงสำรวจ)

1. คำนวณจากสูตร

2. กำหนดเป็นร้อยละ

– ถ้าประชากรมีจำนวนเป็นร้อย ควรใช้กลุ่มเป้าหมายประมาณ 25%ของประชากรทั้งหมด

– ถ้าประชากรมีจำนวนเป็นพัน ควรใช้กลุ่มเป้าหมายประมาณ 10%ของประชากรทั้งหมด

– ถ้าประชากรมีจำนวนเป็นหมื่น ควรใช้กลุ่มเป้าหมายประมาณ 10%ของประชากรทั้งหมด

3. ใช้ตารางสำเร็จรูป

– ใช้ตารางของ Yamane เมื่อสถิติที่ใช้เป็นร้อยละ

–  ใช้ตารางของ ศิริชัย กาญจนวาสีและคณะ เมื่อสถิติที่ใช้เป็นค่าเฉลี่ย

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

7.2  เครื่องมือวิจัย

7.2.1  การออกแบบสร้างเครื่องมือการวิจัย

ก. วิธีการเลือกเครื่องมือการวิจัย มีอยู่ 5 ประเภท ดังนี้

– แบบสอบถาม (Questionnaire) ขึ้นอยู่กับตัวแปร มี 3 ประเภท ดังนี้

  1. ตัวแปรตามประเภท “ความคิดเห็น, ทัศนะ, ความพึงพอใจ” ใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 4 หรือ 5 ระดับ
  2. ตัวแปรตามประเภท “เจตคติ” มักนิยมใช้แบบวัดเจตคติแบบลิเคอร์ท (Likert attitude scale)
  3. ตัวแปรตามประเภท “พฤติกรรม เช่นการบริโภค” นิยมใช้แบบสอบถามประเภท เลือกตอบ (Checklist)

–  การสัมภาษณ์ (Interview)

–  มาตราวัดเจตคติ หรือทัศนคติ (Attitude scale)

–  การสังเกต (Observation)

–  แบบทดสอบ (Test)

ข. การได้มาของเครื่องมือวิจัย มี 3 ช่องทาง ดังนี้

– ผู้วิจัยสร้างเองทั้งหมดตามนิยามศัพท์เฉพาะ เนื่องจากตัวแปรตามที่สนใจศึกษายังไม่มีใครศึกษา

–  ผู้วิจัยสร้างเองโดยใช้วิธีปรับปรุงจากเครื่องมือของผู้วิจัยอื่น ที่วัดตัวแปรตัวเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน

–  ผู้วิจัยใช้เครื่องมือของผู้วิจัยอื่นทั้งฉบับ เนื่องจากวัดได้ตรงนิยามและมีคุณภาพดี ลักษณะกลุ่มเป้าหมายเป็นลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันมาก

ค. คุณภาพของเครื่องมือวิจัยที่ดี มี 4 ข้อ ดังนี้

– ความเที่ยงหรือความตรง (Validity) คือ เครื่องมือที่วัดได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัด โดยผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่า 3 คน (เป็นเลขคี่เพื่อการสรุปผล) มีข้อแนะนำ 2 ข้อ ดังนี้

  1. กำหนดสัดส่วนของความเห็นที่สอดคล้องกัน เช่น 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5
  2. หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of congruence) IOC ข้อที่ใช้ได้ต้องมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป

– อำนาจจำแนก (Discrimination)

– ความเชื่อมั่นหรือความเชื่อถือได้ (Reliability)

– ความยากง่าย (Difficulty) กรณีแบบทดสอบ

ง. วิธีสร้างเครื่องมือการวิจัย มี 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1. วิเคราะห์ความมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดที่ต้องศึกษา
  2. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องศึกษา โดยเฉพาะตัวแปรตาม
  3. ให้คำจำกัดความของตัวแปรโดยเฉพาะตัวแปรตาม ในรูปของนิยามปฏิบัติการ (Operation definition)
  4. เขียนข้อคำถามให้สอดคล้องกับนิยามปฏิบัติการ
  5. หาคุณภาพด้านความเที่ยงตรง โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
  6. ทดลองใช้ (Try-out ครั้งที่ 1 ) เพื่อหาคุณภาพรายข้อ เช่นอำนาจจำแนก
  7. ทดลองใช้ครั้งที่ 2 เพื่อหาคุณภาพทั้งฉบับ ได้แก่ ความเชื่อมั่น
  8. ปรับปรุงครั้งสุดท้ายให้สมบูรณ์

(ที่มา : เทคนิคการเขียนเค้าโครงงานวิจัย, ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2549)

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น