การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

แนวทางปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

  1. วัตถุประสงค์

เพื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทั้งการควบคุมคุณภาพ การประเมินคุณภาพการศึกษา และการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ทั้งระดับหลักสูตร และระดับคณะ

 

  1. ขอบเขต

2.1 ดำเนินการควบคุมคุณภาพ โดยการกำหนดนโยบาย องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ ผู้รับผิดชอบและการใช้ตัวบ่งชี้คุณภาพในการดำเนินงานให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

2.2 ดำเนินการประเมินคุณภาพ โดยการประเมินการทำงานตามเกณฑ์คุณภาพของตัวบ่งชี้ และตัดสินใจในการประเมินผลการดำเนินงานตามร่องรอยหลักฐาน การสัมภาษณ์ หรือสิ่งที่ปรากฏเป็นหลักฐาน

2.3 ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพ โดยการตรวจสอบการดำเนินงานตามระบบกลไกในการควบคุมคุณภาพ และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตร และระดับคณะ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

 

  1. คำนิยาม

คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของแต่ละคณะและสถาบัน ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร ระเบียบ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็นกลไกในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย

การควบคุมคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพแต่ละองค์ประกอบ เพื่อกำกับการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้ได้ผลตามเกณฑ์ตัวชี้วัดคุณภาพที่กำหนด

การประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์ของการบริหารคณะและสถาบัน ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ตัวชี้วัดคุณภาพที่กำหนด

การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการกำกับ ติดตาม วิเคราะห์ และปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์ตามเกณฑ์คุณภาพของระบบและกลไกควบคุมคุณภาพ

องค์ประกอบคุณภาพ หมายถึง ปัจจัยหลักในการดำเนินงานเพื่อให้ได้คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะ

เกณฑ์ตัวบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง ตัวชี้วัดการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ ที่ใช้สำหรับการประเมิน และติดตามตรวจสอบการดำเนินงานด้านคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรและคณะ

 

  1. ความรับผิดชอบ

4.1 คณบดี

4.2 ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกหลักสูตร

4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน

4.4 บุคลากรสายสนับสนุนทุกคน

 

  1. เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง

5.1 กฎกระทรวง เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561). [ระบบออนไลน์]. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/011/3.PDF

5.2 สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับ 2557. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์.

ขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

รายละเอียดเอกสารประกอบ แนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คณะสาธารณสุขศาสตร์, งานประชาสัมพันธ์ รับนักศึกษา คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น