ส่ง spam จากผู้ใช้ที่กำหนดรหัสผ่านเหมือนรหัสผู้ใช้

 

squirrel mail squirrel mail

27 ส.ค.52 วันนี้ตรวจสอบ queue ของ smtp server พบว่ามี mail ค้างกว่าหมื่นฉบับ ตรวจพบว่าผู้ส่งคือสมาชิกในองค์กรของเรา แต่เขาไม่น่าจะเป็นผู้ส่งเมลขนาดนี้ เมื่อตรวจในรายละเอียดก็พบว่าส่งจาก squirrelmail ซึ่งเป็น webbased mail  และก็พบว่าการส่งนั้นมาจาก webbased mail ที่ถูก hack  แม้จะใช้ ssl กรองด่านแรกแล้ว แต่ spam bot ก็ยังเจาะตรงเข้าไปได้ พบว่ามี user หลายคนมีพฤติกรรมเช่นนี้ สิ่งที่เหมือนกันของผู้เป็นเหยื่อ spam bot คือกำหนดรหัสผ่านที่เหมือนกับรหัสผู้ใช้ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่ผมปล่อยให้เกิดขึ้นมาหลายปี และไม่ได้กำชับให้ทุกฝ่ายเข้าใจ คาดว่า spam bot มุ่งเจาะเข้าจุดอ่อนใน squirrelmail และการกำหนดรหัสของผู้ใช้ที่หละหลวม จึงทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
     เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ก็ตามไปดูว่า ผลของปัญหาดังกล่าวมีปฏิกิริยาลูกโซ่สู่ภายนอกหรือไม่ ด้วยการตรวจว่า smtp server ตัวใหม่ของเราติด black list อีกแล้วหรือไม่ 1)ตรวจกับ spamhaus.org พบว่ามี 7 IP ที่ติดในบริการของ cat.net.th  แต่เราไม่ติดในบัญชีดำชุดนี้ 2)ตรวจกับ find-ip-address.org แล้วพบว่าเราไม่ติด 3)ตรวจกับ mxtoolbox.com ซึ่งส่ง ip ไปตรวจใน 111 เครื่องบริการ พบว่า smtp ทั้งสองเครื่องติดใน 5 เครื่องบริการคือ 3.1)sorbs.net/lookup.shtml (ขอ delist) 3.2)barracudacentral.org/rbl (remove request) 3.3)spamrats.com (Removal) 3.4)wpbl.info (Remove Record) 3.5)uceprotect.net (?)
     วิธีแก้ไข ที่ดำเนินการคือ 1)หยุดการส่ง spam จากเครื่องของเรา และตรวจสอบอยู่เสมอ 2)ขอแก้ไขกับผู้ให้บริการขึ้นบัญชี black list ทีละราย ซึ่งทำไปกับ 4 รายแล้ว 3)เปลี่ยนเครื่องบริการ smtp และต้องดูแลไม่ให้เกิดขึ้นอีก
แหล่งอ้างอิง
+ http://www.blacklistalert.org
+ http://mxtoolbox.com/blacklists.aspx
+ http://www.find-ip-address.org
+ http://www.spamhaus.org/sbl/index.lasso
+ http://whatismyipaddress.com
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/504/

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน งานระบบบริการสารสนเทศ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น