รายงานสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการจัดการความรู้ ด้านการวิจัย
จากการประชุมคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานวิจัย และคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนางานบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2561
เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00-11.00 น.
ณ ห้องประชุม อาคารดร.เทียม โชควัฒนา
………………………………………………………………………………………………………….
ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ รายงานการดำเนินงานกิจกรรมการจัดการความรู้ว่า มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมกำกับติดตามการจัดการความรู้ครบทุกหน่วยงาน ตามวงจร P-D-C-A โดยบ่งชี้เป้าหมายการจัดการความรู้ในที่ประชุม กบม. เมื่อต้นปีการศึกษา 2561 แล้วทุกหน่วยงานการดำเนินงาน มีการกำกับติดตาม พัฒนาความรู้ ใช้ความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญในปีการศึกษา 2561 นี้
ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นผู้นำจัดกิจกรรมและให้ความรู้ในบทบาทของผู้มีทักษะแก่บุคลากรหลายโครงการ เริ่มจากโครงการการวิจัยเชิงคุณภาพ จัดระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2562 มีวิทยากรคือ ดร.ถาวร ล่อกา อีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นวิทยากรได้ใช้ทูน่าโมเดลกำกับติดตามการจัดการความรู้ ประกอบด้วย KV, KS, KA เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เป็นการเปิดเวทีให้ทุกหน่วยงานนำเสนอกระบวนการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ผลลัพธ์การดำเนินงาน และการเผยแพร่ความรู้
นอกจากนี้ เมื่อ ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ ได้วิเคราะห์ผลการกำกับติดตามแล้ว ได้เห็นความสอดคล้องของประเด็นด้านการวิจัย จึงจัดกิจกรรม CoP วิจัย และการเขียนข้อเสนอโครงการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 เปรียบเทียบกับแนวทางทั้ง 7 ของการจัดการความรู้ ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 7) การเรียนรู้
สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน CoP วิจัย มีประเด็นน่าสนใจสรุปดังนี้
- การจัดการความรู้ที่ช่วยลดความเสี่ยงที่วิเคราะห์ร่วมกัน จะมีประโยชน์อย่างมาก
- อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง เสนอกรอบการเขียนบทความฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) คิด 70% 2) โครง 20% 3) เขียน 10%
- ดร.พัฒนา นาคทอง เสนอว่า ควรมีพื้นที่ทำงาน ลงไปศึกษา ได้ความต้องการ และนำมาเขียนข้อเสนอ
- ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ สรุปประเด็นสำคัญเบื้องต้น ไว้ดังนี้
1) ได้ติดตามทุกคณะ พบว่ามีการดำเนินงานการจัดการความรู้ได้เกือบครบทุกข้อ
2) การทำ Knowledge Asset ให้แต่ละคณะดำเนินการให้ชัดเจน อาจนำไปเผยแพร่ในระบบ Blog อีกทางหนึ่ง ซึ่งฝ่ายไอทีได้รับปรับชื่อคณะวิชาใน Blog ให้สอดรับกับโครงสร้างใหม่
3) ปัจจัยความสำเร็จของการวิจัยและตีพิมพ์ ประกอบด้วย 1) ตัวบุคคล 2) แรงจูงใจ และ 3) ผู้อ่านบทความ
ชอบตรง
กรอบการเขียนบทความ ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน
1) คิด 70% 2) โครง 20% 3) เขียน 10%
เป็นแนวที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปครับ