สวัสดีครับ

เทคนิคการฝึกอบรม
เทคนิคการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อการจัดฝึกอบรมเป็นอย่างมากเพราะการอบรม   เพื่อเพิ่มพูนสรรถภาพและประสิทธิภาพของบุคคล   ในด้านความรู้ความเข้าใจ   ทักษะและทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอันจะทำให้สามารถนำสิ่งที่ฝึกอบรมให้นั้นไปปรับใช้ได้กับการปฏิบัติงานจริง   ซึ่งการสร้างภาวะการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น   ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์   และเลือกใช้เทคนิคและวิธีการฝึกอบรมรวมถึงสื่อการสอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม   เนื้อหาสาระในการหลักสูตร   ผู้เข้ารับการฝึกอบรม   ความรู้และความสามารถของผู้เป็นวิทยากรในการเลือกเทคนิคที่จะถ่ายทอด   สถานที่   สิ่งอำนวยความสะดวก   เครื่องมือเครื่องใช้   และวัสดุอุปกรณ์   รวมทั้งโสตทัศนูปกรณ์   ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ในแต่ละโครงการฝึกอบรม   ตลอดจนค่าใช้จ่าย   ฯลฯ   เป็นต้น

ความหมายของเทคนิคการฝึกอบรม
วิธีการ   หรือเครื่องมือ   หรือกิจกรรม   ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร   และสื่อความหมายระหว่างผู้ที่เป็นวิทยากรกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม   หรือระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกัน   หรือระหว่างบุคคลอื่นใด   ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมในกระบวนการฝึกอบรมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลด้านความรู้   ทักษะ   และทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในระดับที่ต้องการ   เพื่อนำความรู้   ทักษะ   และทัศนคติไปใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม

การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย   เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น   ความรู้   ตลอดจนข้อมูล   ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง   เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้   แต่มีจุดด้อยตรงที่ลักษณะของการบรรยายจะเป็นระบบสื่อสารทางเดียว   ยิ่งถ้ามีเวลาจำกัดโอกาสที่จะให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการซักถาม   หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่บรรยายจะไม่มี   ผู้บรรยายไม่สามารถประเมินได้ว่าเมื่อจบการบรรยายแล้วผู้ฟังมีความรู้   ความเข้าใจ   ในสิ่งที่บรรยายมากน้อยเพียงใด   ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดจากการบรรยายความสำเร็จของการบรรยายจะขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้บรรยาย   กล่าวคือผู้บรรยายบางคนสามารถบรรยายเรื่องที่ยากต่อการทำความเข้าใจให้ผู้ฟังเกิดความสนใจเกิดความกระจ่างเกิดเป็นรูปธรรม   นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง   ถ้าจะพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วอาจคิดว่าการบรรยายเป็นสิ่งที่ง่าย   สามารถใช้ได้ทุกโอกาส   ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วถ้าจะให้การบรรยายเกิดประสิทธิภาพ   และประสบความสำเร็จ   มีส่วนที่ต้องดำเนินการ   2  ส่วน   คือ   การเตรียมตัวในการบรรยาย   กับการบรรยาย

ข้อดี
1.  การบรรยายเป็นเทคนิคที่ง่ายต่อการใช้   ผู้ที่มีประสบการณ์จะใช้เวลาในการเตรียมตัวน้อยลง
2.  เนื้อหาสาระที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เวลาในการอบรมด้วยวิธีอื่น
3.  สามารถให้การอบรมคนเป็นจำนวนมาก ๆ ในแต่ละครั้ง
4.  สะดวกและช่วยลดภาระงานด้านการจัดการของฝ่ายฝึกอบรม
5.  สามารถเน้นเนื้อหาระได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอบรม
6.  การบรรยายนอกจากจะใช้เป็นเทคนิคเฉพาะแล้ว   ยังสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการฝึกเทคนิคอื่น ๆ เช่น   การฝึกปฏิบัติงานจริงจำเป็นต้องใช้การบรรยายนำก่อน   จึงอาจกล่าวได้ว่า   การบรรยายเป็นเทคนิคพื้นฐานของเทคนิคพื้นฐานของเทคนิคอื่น   ๆ

ข้อจำกัด
1.  ประสิทธิภาพของการบรรยายขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของวิทยากร
2.  การบรรยายเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว   ถ้าไม่เปิดโอกาสให้มีการซักถาม   จะไม่สามารถประเมิน ได้ว่า   ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่บรรยายเพียงใด
3.  การบรรยายไม่อาจใช้กับทุกเรื่องได้   เช่น   เรื่องที่ต้องการข้อสรุปเพื่อการนำไปปฏิบัติการ
4.  ช่วงความสนใจในการฟังของบุคคลแต่ละวัย   แต่ละระดับบุคคลในองค์การมีขีดจำกัด   หากใช้เวลาใน การบรรยายมากเกินไป   จะไม่เกิดผลตามความมุ่งหมายที่กำหนด

สรุป
การบรรยายที่มีการซักถามเป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะกับการฝึกอบรมที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ความรู้   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   การยอมรับของผู้ที่มีส่วนร่วม   การเปลี่ยนทัศนคติ   ทักษะการแก้ปัญหา   แต่ไม่เหมาะสำหรับความรู้ที่ได้จากการอบรมเพื่อเสริมสร้างประสมการณ์ในแนวใหม่

การอภิปราย( Discussion)
การอภิปราย   คือ   การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน   ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์   และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน

1.  การอภิปรายเป็นคณะ ( Panel Discussion)
เป็นการการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และมีประสบการณ์มาให้ความคิดเห็นหรือทรรศนะในเรื่องเดียวกัน   จำนวนผู้อภิปรายอาจจะมีประมาณ   3-5 คน   ในการอภิปรายผู้ทรงคุณวุฒิจะอภิปรายในลักษณะที่สนับสนุนหรือให้เหตุผลโต้แย้งผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกัน   เพื่อให้ความคิดกว้างไกลออกไป   และตอนท้ายผู้ดำเนินการอภิปราย    (Moderator) จะเป็นผู้สรุปความคิดเห็นของผู้สรุปความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ

2.  การอภิปรายแบบชุมนุมปาฐกถา ( Symposium Discussion) 
เป็นการอภิปรายที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้ในเรื่องที่สนใจในแต่ละด้าน   มาร่วมเป็นองค์ ปาฐก   ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจตามเรื่องและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ข้อดี
1.  การอภิปรายช่วยเปลี่ยนบรรยากาศในการฟังของผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรม   โดยได้สัมผัสกับแนวและ วิธีการพูดของผู้อภิปรายในลักษณะหลากหลาย   โดยเฉพาะการพูดโต้แย้งในการอภิปรายเป็นคณะ
2.  การอภิปรายเป็นคณะช่วยสร้างแนวคิดให้แก่ผู้ฟังในทรรศนะที่ต่างกัน   ทำให้เกิดความความรอบคอบ ในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุด   ส่วนการอภิปรายแบบชุมนุมปาฐกถา   ผู้ฟังจะรับความรู้จาก ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะทาง   ทำให้รู้จริง   ได้ประโยชน์เต็มที่
3.  การอภิปรายเป็นการแสวงหาข้อสรุปและแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้ที่มีความสนใจร่วมกันใน ลักษณะที่มีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้   เพราะความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มาอภิปรายบาง เรื่องผู้ฟังรับได้   บางเรื่องต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมซึ่งสามารถทำได้ในได้ในช่วงของคาบการ อภิปราย ( Forum period) 
4.  การอภิปรายทั้งสองแบบสามารถใช้ได้กับคนกลุ่มใหญ่

ข้อจำกัด
1.  ผู้ดำเนินการอภิปรายจะต้องเป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์เกี่ยวกับการอภิปราย   จึงจะสามารถ ควบคุมการอภิปรายให้ดำเนินไปสู่เป้าหมาย   และเวลาของการอภิปรายที่กำหนดไว้
2.  การพิจารณาเลือกเชิญผู้อภิปรายมีความสำคัญมาก   หากได้ผู้มีความรู้และประสบการณ์สูงจะทำให้การ อภิปรายเกิดผลดีและให้การอภิปรายเกิดผลดีและให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง
3.  ผู้แม้จะมีส่วนร่วมในคาบของการอภิปราย   แต่จัดว่ายังมีส่วนร่วมน้อยบางครั้งบรรยายกาศไม่ส่งเสริม ทำให้ผู้ฟังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเท่าที่ควร

การสาธิต( Demonstration)
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการ กระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน   การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ   เช่น   การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์และขับร้อง   วิธีการ   วิทยากรทำให้ดูแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมทดลองทำตาม

ข้อดี
เกิดความรู้ความเข้าใจเร็ว   และมีความน่าเชื่อถือสูง   เพิ่มทักษะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ดี ไม่เบื่อหน่าย   สามารถปฏิบัติได้หลายครั้ง

ข้อจำกัด
ต้องใช้เวลาเตรียมการมาก   เหมาะกับการฝึกอบรมกลุ่มเล็ก ๆ วิทยากรต้องมีความชำนาญจริง ๆ และต้องไม่พลาด

การสอน (Coaching)
เป็นการแนะนำให้รู้วิธีปฏิบัติงานให้ถูกต้อง   โดยปกติจะเป็นการสอนหรืออบรมในระหว่างการ ปฏิบัติงาน   อาจสอนเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งผู้สอนต้องมีประสบการณ์และทักษะในเรื่องที่สอนจริง ๆ

ข้อดี  
เน้นเนื้อหาตามความเหมาะสมของแต่ละคน

ข้อจำกัด  
คุณค่าขึ้นกับผู้สอนงานซึ่งส่วนใหญ่คือหัวหน้างาน

การระดมสมอง ( Brainstorming)
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน  15  คน   เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดย ปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง   โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด   ดีหรือไม่ดี   ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง   ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน

ข้อดี
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมโดยตรง   ช่วยกันคิด   ช่วยกันเสนอ   ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์   สามารถแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้   ทำให้ความคิดหลากหลายในเวลาจำกัดสามารถเร้าความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ดี   บรรยากาศเป็นกันเอง

ข้อจำกัด
ได้ความคิดเห็นจำนวนมากแต่คุค่าน้อย   และต้องจำกัดกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น   ปัญหาที่นำมาระดมสมองควรเป็นปัญหาเดียว

การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session)
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่   กลุ่มย่อยละ 2-6  คนเพื่อพิจารณา ประเด็นปัญหา   อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน   ในช่วงเวลาที่กำหนด   มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม   แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ   แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่

ข้อดี

เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น   บรรยากาศเป็นกันเอง

ข้อจำกัด
การประชุมกลุ่มย่อยในให้ในห้องเดียวกันอาจทำให้เกิดเสียงรบกวนกัน   ประธานที่เลือกได้อาจไม่มีลักษณะผู้นำ   ดำเนินการประชุมไม่ดีทำให้ผู้ร่วมการประชุมขาดการแสดงความคิดเห็น   บางกลุ่มอาจได้ความคิดเห็นน้อย   บางกลุ่มอาจใช้เวลามากทำให้ควบคุมเวลาได้ยาก

กรณีศึกษา( Case Study)
เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม   สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา   โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงวัตถุประสงค์ขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มด้วยหลักการ   และการให้ภาพต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแก้ไขปัญหา   จากนั้นผู้เข้าฝึกอบรมจะศึกษา   อภิปราย   และค้นคว้าตามหลักวิชาการ   ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่ต้องการอาจเป็นข้อมูลที่สำเร็จอยู่แล้ว   แต่บางครั้งจำเป็นต้องค้นคว้าหาข้อมูลบ้าง   และในขั้นตอนสุดท้ายผู้เข้ารับการอบรมจะต้องพิจารณาตัดสินใจแก้ปัญหาหรือกรณีที่นำเสนอภายใต้สภาพการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด   และเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้เข้ารับการอบรมดีขึ้น   การนำเสนอกรณีหรือปัญหา   จะต้องมีรายละเอียดมากพอที่จะทำให้ผู้ศึกษาได้เห็นจุดสำคัญของปัญหาและได้ข้อที่เป็นแนวทางนำไปสู่การตัดสินใจการแก้ปัญหากรณีศึกษาเหมาะสำหรับการฝึกอบรมทางด้านกฎหมาย   ด้านการเงิน   และการฝึกอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของมนุษย์   ประเภทบุคคลที่เข้าฝึกอบรมที่เหมาะสมที่จะใช้เทคนิควิธีนี้   คือผู้บริหาร   ผู้จัดการและผู้ที่จะเข้าสู่ระดับมืออาชีพ   ส่วนเรื่องการสนองตอบวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมจะใช้ได้ดีกับการฝึกอบรมที่ต้องการเปลี่ยนทัศนคติ   และสร้างเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ข้อดี
ช่วยให้ผู้รับการฝึกอบรมได้วิเคราะห์ตัดสินปัญหาในเรื่องที่เหมือนจริงและสามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้   กรณีศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีบรรยากาศเป็นกันเองเพราะทุกคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์

ข้อจำกัด
สมาชิกบางคนอาจครอบงำความคิดของผู้อื่นเพราะบุคลิกภาพ   วัยวุฒิหรือคุณวุฒิ   กรณีศึกษาที่เป็นเรื่องจริงหาได้ยาก   โดยเฉพาะเรื่องที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมและเหมาะสมกับเวลา การสร้างกรณีศึกษาเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณ   ตอนสรุปผลการกรณีศึกษาวิทยากรมักไม่ให้ความสำคัญและรีบสรุปจบ

การประชุมแบบฟอรัม( Forum)
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่   ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม   โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง   ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร วิธีการ   วิทยากรพูดให้ฟังแล้วผู้ฟังสอบถามและแสดงความคิดเห็นได้

ข้อดี
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น   วิเคราะห์ปัญหา   เป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเตรียมตัวให้ดียิ่งขึ้น   และมีบรรยากาศเป็นกันเอง

ข้อจำกัด
เวลาอาจไม่พอถ้าเป็นเนื้อหาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสนใจกันทุกคน   พิธีกรและวิทยากรต้องมีความรู้ความสามารถดี   ผู้เข้ารับการฝึกอบรมบางคนอาจไม่กล้าผู้แสดงความคิดเห็น   หรือบางคนพูดนอกประเด็น

เกมการบริหาร( Management Games)
เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่   2  กลุ่มขึ้นไป   โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง   เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง   อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสาร   การตัดสินใจ   การวางแผน   การเป็นผู้นำ   มนุษย์สัมพันธ์   ฯลฯ   ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน วิธีการ   ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกม

ข้อดี
เป็นการย่อสถานการณ์จริงให้ฝึกในช่วงสั้น ๆ   ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมช่วยกันคิดช่วยกันทำ   ทำให้มีบรรยากาศเป็นกันเอง   ได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว

ข้อจำกัด
การเลือกเกมที่ไม่เหมาะสมจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์   การแบ่งกลุ่มมากเกินไปจะเป็นอุปสรรคในการแข่งขัน   และเกมบางชนิดต้องใช้อุปกรณ์และเวลา

การแสดงบทบาทสมมติ( Role playing)
เป็นเทคนิคที่นำเอาเรื่องที่เป็นกรณีตัวอย่างมาเสนอในรูปแบบการแสดงบทบาท   ให้ผู้เข้ารับการ อบรมได้เห็นภาพชัดเจน   ได้สัมผัสกับประสบการณ์และความรู้สึกที่แท้จริงเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นกรณีตัวอย่าง   การแสดงบทบาทสมมติช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบข้อมูลและเรื่องราวที่ตรงกับเนื้อเรื่องที่ใช้ในการศึกษาแนวเดียวกัน ซึ่งต่างจากกรณีศึกษาที่ผู้เข้ารับการอบรมอ่านเนื้อหาแล้วต้องจินตนาการและตีความหมายของปัญหาในบางครั้งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวได้   นอกจากนี้หลังการแสดงบทบาทสมมติแล้ว   ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้   พร้อมกันทั้งกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยได้ทำให้ได้ข้อสรุปเพื่อการแก้ปัญหา
การแสดงบทบาทสมมติ   ผู้ให้การฝึกอบรมจะต้องเตรียมเรื่อง   เนื้อหา   และบทบาทข้อตัวละครไว้ล่วงหน้า   ส่วนผู้แสดงบทบาทจะใช้วิธีอาสาสมัครจากสมาชิกผู้เข้าอบรม   เพื่อให้การแสดงบทบาทได้สมจริง   และในการแสดงผู้ให้การอบรมเป็นเพียงแต่ให้ข้อมูลพร้อมทั้งชี้แจ้งได้เข้าใจเนื้อเรื่องและบทบาทของตน   ผู้แสดงจะแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตนในบทที่ได้รับมอบหมาย   สมาชิกที่ได้เข้ารับการอบรมที่เป็นผู้ดูจะได้รับการบอกเล่าเรื่องราวและปัญหาอย่างย่อ ๆ   ส่วนราบละเอียดให้สังเกตจากพฤติกรรมของผู้แสดง   หลักการแสดงบทบาท   ผู้เข้ารับการอบรมจะอภิปรายโดยใช้ประสบการณ์เรียนรู้มาวิเคราะห์ปัญหาจากพฤติกรรมที่แสดงบทบาทสมมติ   พร้อมทั้งแสดงแนวทางในการแก้ปัญหา

ข้อดี
1.  การใช้บทบาทสมมติช่วยกระตุ้นให้สมาชิกผู้เข้ารับการอบรมเกิดความสนใจเรื่องที่อบรม
2.  ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แสดงออกด้วยการปฏิบัติจริง   ทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น
3.  เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทดลองแสดงบทบาทตามแนวคิด   และสามารถแสดงบทบาทซ้ำ ได้   เพื่อให้เกิดความเข้าใจและหาข้อสรุปได้
4.  เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้ทั้งในกรณีที่มีการวางแผนล่วงหน้า   และไม่ได้ว่างแผนล่วงหน้า
5.  ส่งเสริมความคิดริเริ่มของผู้เข้ารับการอบรม

ข้อจำกัด
1.  การใช้เทคนิคนี้ผู้ให้การอบรมอาจมีความยุ่งยากเกี่ยวกับการเตรียมการล่วงหน้า     
2.  การแสดงบทบาทสมมติต้องใช้เวลามาก   ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาการฝึกอบรม
3.  การหาอาสาสมัคร   เพื่อแสดงบทบาทเป็นอุปสรรค   เพราะบางคนไม่กล้าแสดงออก
4.  ผู้ให้การฝึกอบรมต้องเป็นผู้มีความสามารถในการเชื่อมโยงความคิดของสมาชิกที่เข้าอบรมไปสู่ ข้อสรุปได้

การสัมมนา( Seminar)
เป็นการประชุมของผู้ที่ปฏิบัติอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันแล้วพบปัญหาเหมือน ๆ กัน   เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาทุกคนที่ไปร่วมในการสัมมนาต้องช่วยกันพูดช่วยกันแสดงความคิดเห็น   ปกติจะบรรยายให้ความรู้พื้นฐานก่อนแล้วแบ่งกลุ่มย่อย   จากนั้นนำผลการอภิปรายของกลุ่มย่อยเสนอที่ประชุมใหญ่

ข้อดี
เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์   ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสมีส่วนร่วมมาก   ผลสรุปของการสัมมนานำไปเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้ดี

ข้อจำกัด
ที่ปรึกษากลุ่มหรือสมาชิกบางคนอาจครอบงำความคิดของผ็อื่นได้เพราะวัยวุฒิหรือคุณวุฒิหรือตำแหน่งหน้าที่การงาน   ถ้าเวลาจำกัดรีบสรุปผลอาจได้ข้อสรุปที่ไม่หน้าพอใจ

การศึกษาดูงานนอกสถานที่( Field Trip)
เป็นการนำผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปศึกษายังสถานที่อื่นนอกสถานที่ฝึกอบรม   เพื่อให้พบเห็นของจริงซึ่งผู้จัดต้องเตรียมการเป็นอย่างดี วิธีการ   นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปศึกษาดูงานนอกสถานที่

ข้อดี
เพิ่มความรู้ความเข้าใจได้เห็นการปฏิบัติจริง   สร้างความสนใจและความกระตือรือร้น   สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ข้อจำกัด
ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก   ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะเจ้าของสถานที่ที่จะไปศึกษา

การประชุมเชิงปฏิบัติการ( Workshop)

เป็นรูปแบบของการฝึกอบรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ   สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงที่ผู้เข้าอบรมปฏิบัติอยู่  

ลักษณะของการประชุมเชิงปฏิบัติงานจะแบ่งออกเป็น  2  ส่วน   คือ

1.  เป็นการให้ความรู้ของวิทยากร   เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม   ให้สามารถ แก้ไขข้อขัดข้องในการทำงาน   กำหนดแนวทางในการปฏิบัติและปรับปรุงงาน  
2.  เป็นการปฏิบัติการของผู้เข้ารับการอบรมที่จะหารือ   อภิปราย   ให้ได้แนวทางแก้ปัญหาหรือวิธีการ ปฏิบัติงาน   โดยอาจจะดำเนินการทั้งกลุ่มใหญ่หรือแงเป็นกลุ่มย่อย   ซึ่งการดำเนินการของส่วนที่ สอง   จะอาศัยหลักวิชาการหรือหลักการที่วิทยากรได้บรรยายหรืออภิปรายมาใช้ประกอบเป็นแนวทาง

ข้อดี
1.  การประชุมปฏิบัติการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมทุกคน
2.  ผู้เข้าอบรมมีอิสระในการคิดและปฏิบัติงานกลุ่ม
3.  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำผลการประชุมปฏิบัติการไปใช้ในการดำเนินงาน   และปฏิบัติงานใน หน่วยงานของตน

ข้อจำกัด
1.  จะต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละกลุ่ม   รวมทั้งการ จัดวิทยากรประจำกลุ่ม
2.  ต้องใช้เวลามากโดยเฉพาะเวลาสำหรับการปฏิบัติงานกลุ่ม

การอบรมด้านความรู้สึก ( Sensitivity Training)

เป็นการอบรมในลักษณะของผู้เข้ารับการอบรมจะเรียนรู้พฤติกรรมของกลุ่มผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับกลุ่ม   ประสบการณ์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ   ความผิดหวังและความคับข้องใจของกลุ่ม   จะได้รับการแก้ไขปัญหากันเองภายในกลุ่ม   การแสดงออกทางความรู้สึกของคนในกลุ่มอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนมากกว่าการเรียนรู้   จุดประสงค์ที่สำคัญของการอบรมด้านความรู้สึก   เป็นการสอนให้เข้าใจในเรื่องของประสิทธิภาพของกลุ่มพลวัตร   และพฤติกรรมของกลุ่มที่ขาดประสิทธิภาพ   โดยแจ้งว่าสิ่งที่เรียนรู้จากกลุ่มจะได้รับการนำกลับไปสู่การปฏิบัติงานของแต่ละคน

ข้อดี
1.  เปิดโอกาสให้สมาชิกที่เข้ารับการอบรมแสดงออกด้านความรู้สึก   และรู้จักควบคุมความรู้สึกที่อาจมี ผลกระทบต่อผู้อื่น  
2.  ผู้เข้ารับการอบรมได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างทั่วถึง
3.  ส่งเสริมให้ผุ้เข้ารับการอบรมได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนาขององค์การ

ข้อจำกัด
1.  ไม่สามารถใช้ได้กับบุคลากรทุกระดับขององค์การ
2.  จำนวนผู้เข้าอบรมจะจำกัดเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ   6 – 8 คน
3.  ผู้ให้การอบรมจะต้องเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องกลุ่มพลวัตรเป็นอย่างดี  

การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม
การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมให้เหมาะกับโครงการฝึกอบรมในแต่ละครั้งนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง   เพราะการใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสมนั้นสามารถช่วยให้เกิดการเรียนและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ   ซึ่งได้แก่   ความรู้   ทักษะ   และ   ทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ตามวัตถุประสงค์   สถานการณ์และปัจจัยอื่น ๆ ของโครงการฝึกอบรมนั้น ๆ ดังนี้

1.  วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม
การเทคนิคการฝึกอบรมจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมว่า   ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้   หรือทักษะหรือเจตคติ   หรือทั้ง   3  ด้านไปพร้อม ๆ กัน   ถ้าต้องการให้เกิดความรู้เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ระดับความจำ   ความเข้าใจ   และมีผู้เข้ารับการอบรมจำมาก   อาจจะใช้เทคนิคการบรรยายได้   แต่ถ้าจะต้องการให้ผู้เข้าฝึกอบรมจำได้แม่นยำและจำได้นานและเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นนั้น   อาจจะต้องใช้กิจกรรม   หรือโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการบรรยายด้วย   น่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างมากและน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ผูเข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทุกด้านซึ่งจะช่วยให้การฝึกอบรมในแต่ละครั้งได้รับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างแน่นนอน

2.  สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร
ต้องสอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร   เพราะเนื้อหาสาระนั้นจะต้องมีความยากง่าย พอเหมาะกับความรู้ความสามารถและต้องมีความต่อเนื่องกับพื้นฐานเดิมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอีกด้วย   โดยปกติแล้วเพื่อหาสาระของหลักสูตรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมแล้วมักจะแบ่งเนื้อหาออกได้เป็นเนื้อหาประเภทข้อเท็จจริง   ความรู้ทั่วไป   แนวคิดและหลักการการแก้ปัญหา   ความคิดสร้างสรรค์   ความสามารถ   ทักษะและทัศนคติ   ซึ่งในทำนองเดียวกันก็ไม่อาจแยกเนื้อเนื้อหาสาระของวิชาใดวิชาหนึ่งออกจากกิจกรรมวิธีการหรือเทคนิคการฝึกอบรมได้แต่อย่างใด   และถ้าหากจะถือหลักการเรียนรู้โดยการกระทำด้วยแล้ว   จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นว่า   ไม่สามารถจะแยกเนื้อหาสาระของหลักสูตรออกจากเทคนิคการฝึกอบรมได้เลย   เพราะว่ากิจกรรมที่กระทำนั้น   เป็นทั้งเนื้อหาสาระและเทคนิคการฝึกอบรมพร้อม ๆ กันนั่นเอง

3.  ผู้เข้ารับการอบรม

ในการใช้เทคนิคการฝึกอบรมต้องคำนึงถึงผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นสำคัญ   อันได้แก่   ระดับของ ความรู้ความสามารถ   ระดับการศึกษา  อายุ   เพศ   และ   จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยผู้เข้ารับการอบรมที่มีระดับความสามารถและความสามารถและความฉลาดสูงมาก ๆ ชอบที่จะเรียนรู้   และเรียนได้ดีในบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยและเป็นกันเองมาก   แต่มุ่งที่จะเรียนโดยกระบวนการกลุ่มน้อยและเน้นการเรียนรู้ตามลำพังมากกว่า   จึงเห็นได้ว่า   เทคนิคการฝึกอบรมที่จะอบรมมาใช้นั้นต้องปิดโอกาสให้ผู้เข้าฝึกอบรมที่มีความฉลาดมากมีอิสรภาพที่จะเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยการฝึกอบรมนั้น ๆ ก็ต้องเอื้ออำนวยให้บุคคลเหล่านี้ได้เรียนรู้ตามลำพังให้มากกว่าผู้มีความสามารถและความเฉลียวฉลาดไม่ค่อยมากนักดังนี้   เป็นต้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความสามารถและมีความฉลาดพอสมควรนั้น   ค่อนข้างจะได้รับผลประโยชน์และเรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศของการเป็นประชาธิปไตยหรือมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   ดังนั้น   การฝึกอบรมควรจะเป็นประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์และมีเสรีภาพส่วนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความรู้ความสามารถและความสามารถและความเฉลียวฉลาดน้อย   ชอบที่จะเรียนรู้และเรียนรู้ได้ดีโดยการใช้เทคนิคการฝึกอบรมประเภทที่ครูหรือวิทยากรเป็นศูนย์กลาง   มากกว่าวิธีการเรียนรู้อื่น ๆ นอกจากด้านความรู้ความสามารถและความเฉลียวฉลาดของผู้เข้ารับการฝึกอบรมแล้วต้องคำนึงถึงระดับการศึกษาหรือประสบการณ์เดิมของเขาด้วย   กล่าวคือ   เทคนิคที่ใช้ต้องไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากจนเกินแก่การทำความเข้าใจให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมที่มีระดับการศึกษาไม่สูงนัก   และหากใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่ง่ายจนเกินไปกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีระดับการศึกษาสูง ๆ ก็จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย   และไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อการเรียนรู้แต่อย่างใดเลยในทำนองเดียวกันอายุหรือวัยของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็มีความสำคัญที่ต้องคำนึงถึง   เพราะธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็กแตกต่างจากธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้ใหญ่   วิธีการ   กิจกรรม   โสตทัศนูปกรณ์   และ   เทคนิคการฝึกอบรมก็จะต้องแตกต่างไปด้วย    ในการใช้เทคนิคการฝึกอบรมและการจัดกิจกรรมนั้นจะต้องให้สอดคล้องกับความแตกต่างดังกล่าว   ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่จะรู้ถึงเหตุผลที่ว่าทำไมจะต้องเรียนรู้   การมีความเข้าใจในตนเองบทบาทของประสบการณ์   ความรู้เพื่อจะเรียนรู้   แนวโน้ม   ของการเรียนรู้และรวมถึงแรงจูงใจที่จะต้องการจะเรียนรู้อีกด้วย

4.  ต้องคำนึงถึงจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
สำหรับจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็มีความสำคัญต่อการเลือกใช้เทคนิคกาฝึกอบรมถ้าจำนวนคนมีมากคงจะต้องใช้เทคนิคประเภทบรรยาย   การอภิปรายเป็นคณะ   เพราะคงจะไม่สามารถใช้เทคนิคการฝึกอบรมประเภทที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้กระทำหรือเรียนโดยอาศัยกระบวนการกลุ่มแต่อย่างใดดังนี้เป็นต้น

5.  ความรู้ความสามารถของวิทยากร
เพราะถ้าวิทยากรขาดความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้เทคนิคการฝึกอบรมบางประเภทเสียแล

 
 
ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น