ร่าง นโยบายด้านระบบฐานข้อมูล

14 ต.ค.52 ประชุมทำความเข้าใจ การประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ. ได้รับมอบหมายจาก ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ  อธิการบดีและวิทยากร ให้เขียนสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกร่างนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล จึงสืบค้นข้อมูลจากหลายองค์กร และอ้างอิงจากคู่มือประกันคุณภาพ เป็นแนวในการเขียน แต่ก็ยังต้องตรวจสอบร่วมกับทีมงานคือ คุณอนุชิต คุณธรณินทร์ และคุณอรรถชัย ว่าที่ยกร่างมานี้จะผ่านความเห็นชอบร่วมกันหรือไม่ โดยมีข้อความดังนี้
     มหาวิทยาลัยโยนกมีนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล คือ ให้บริการสารสนเทศแก่บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และให้บริการสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการวิจัย ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้งานสารสนเทศที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งกำหนดให้มีระบบฐานข้อมูล ดังนี้

1. ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย (4.1.2)
2. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร (7.5)
3. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการเรียนการสอน (7.5)
4. ระบบฐานข้อมูลทางการเงิน (8.1.3)
5. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากร (8.2)
6. ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพ (9.1.6)

แหล่งอ้างอิง
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/center_policy.doc
+ http://www.tisi.go.th/thai/qms_policy.html
+ http://www.unionpioneer.co.th/code/profile_t3.html
+ http://www.chaiyaboon.com/TH/Tservice.html
+ http://www.human.nu.ac.th/nweb/about/plan.php
+ http://www.bjclogistics.co.th/th/company_quality.php
+ http://sot.swu.ac.th/CP342/Lesson12/cs1t1.htm
+ http://www.yonok.ac.th/sar/

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับไปที่ ร่าง นโยบายด้านระบบฐานข้อมูล

  1. atichart พูดว่า:

    ดูเหมือนว่าสำนัก IT จะกำหนดให้มีระบบฐานข้อมูลตามตัวชี้วัดเป็นเกณฑ์ ผมอยากให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ Stakeholders ทั้งหลาย จะได้รับจากฐานข้อมูลเป็นเกณฑ์พิจารณาอีกตัวหนึ่งด้วย ตัวอย่างเช่น “ระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า” มหาวิทยาลัยในต่างประเทศให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ เพราะเครือข่ายของศิษย์เก่า คือผู้ที่จะให้คืนด้วยใจแก่สถาบันในอนาคต ตอนนี้โยนกจำเป็นต้องสร้าง Alumni Network ให้แข็งแรงและเป็นปึกแผ่นโดยเร็ว IT เป็นเครื่องมือที่สำคัญ อนาคตเมื่อโยนกครบรอบกึ่งศตวรรษ (50 ปี) การจัดงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของโยนก อาจเป็นการระดมทุนจากศิษย์เก่าและ Stakeholders ได้เงินเข้าสถาบันเป็นร้อยล้านก็เป็นได้

  2. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ พูดว่า:

    comment ของอาจารย์มีประโยชน์มาก แต่ผมมีเรื่องขำ ๆ ปนเศร้า ที่จะเล่าให้อาจารย์ฟังตอนกลับเรื่องนี้ คือ ผมมีระบบฐานข้อมูล 21 ระบบอยู่ใน list แต่ระบบที่สำคัญที่สุดระบบหนึ่ง และทำมาแล้วปีที่ 3 กลับไม่มีใครรู้จัก อย่าว่าแต่ 6 ระบบข้างต้น หรือ 21 ระบบที่จะนำเสนอวันอังคารนี้เลย แค่ระบบเดียวที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัย ยังมีลุ่นเลยครับ .. เรื่องข้อมูลศิษย์เก่านี่ก็มีเรื่องบ่นนะครับ แต่ไม่เขียนดีกว่า เพราะเป็นเรื่องขำปนเศร้าอีกนั้นหละครับ .. อันที่จริงมีเรื่องหนึ่งที่ผมขอเล่าตอนอาจารย์กลับมาดีกว่า แค่อาจารย์พูดว่าเรื่องหนึ่ง ผมจะรู้ทันทีครับว่าเรื่องอะไร .. อยู่ลียงรักษาสุขภาพนะครับ

ใส่ความเห็น