International Taxation

อาทิตย์นี้มาตรวจงานที่เมือง Balikpapan ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองอุตสาหกรรมด้านขุดเจาะน้ำมันทางทะเลครับ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะKalimantan เกาะเดียวกับ ประเทศบูรไน แต่อยูคนละฝั่ง น้ำทะเลที่นี่คนละเรื่องกับภูเก็ตบ้านเรา น้ำทะเลที่นี่เป็นสีโคลนครับ เพราะมีแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลเต็มไปหมด จากฝั่งสามารถมองเห็นแท่นขุดเจาะน้ำมันได้เลย

ประเทศอินโดนีเซีย มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดยเฉพาะก๊าซและน้ำมันจำนวนมหาศาล และอดีตเคยเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) เมือง Balikpapan เป็นเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย เพราะมีบริษัทข้ามชาติเข้ามาทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นจำนวนมาก บริษัท Mermaid Drilling Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่ผมทำงานอยู่ปัจจุบัน เป็นบริษัทสัญชาติไทย แต่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่สิงคโปร์ คล้าย ๆ กับ Thaibev นั่นหละครับ ผมเป็นพนักงานคนไทยรุ่นบุกเบิก รหัสพนักงาน MDL001 (มีเพื่อนหลายคนถามผมว่า บริษัททำธุรกิจขายของเล่นหรือตุ๊กตาหรือเปล่า ผมก็ได้แต่ทำน่างง ๆ ปกติชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องธุรกิจ Oil & Gas จะมีชื่อ เกี่ยวกับอะไร ๆ ในทะเล เช่น Shell, Pearl Oil เป็นต้น) บริษัทที่ผมทำงานอยู่ในปัจจุบัน ก็ทำธุรกิจมีเรือให้บริการขุดเจาะก๊าซและน้ำมันพร้อมกับวิศวกรผู้ชำนาญงาน ปัจจุบันทำงานให้ลูกค้าอยู่ในแถบ ๆ South East Asia ในฐานะที่ผมดูแลรับผิดชอบงานด้านการเงินและบัญชีทั้งหมดของกลุ่มบริษัท จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าหลักภาษีในแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปประกอบธุรกิจ

วันนี้ผมขอแชร์ประสบการณ์และความรู้ด้านภาษีระหว่างประเทศที่พอมีอยู่บ้างมาแลกเปลี่ยนกันดูนะครับ ผมชอบการศึกษาเชิงเปรียบเทียบครับ เพราะทำให้เราได้รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ตำแหน่งไหนในตลาด ผมขอเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล Corporate Income Tax เทียบกลุ่มประเทศใน South East Asia ก่อนเลยนะครับ

Corporate Income Tax

                                              2008             2009              2010
——————————————————————–
Indonesia                            30%                 28%                   25%
Malaysia*            20% or 26%    20% or 25%    20% or 25%
Singapore                           18%                  18%                    17%
Thailand                             30%                 30%                    30%
Vietnam                             28%                  25%                    25%

* Subject to Net Chargeable Income

จากตารางข้างบน ก็พอจะวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนของบริษัทอย่างคราว ๆ ได้นะครับว่า ประเทศไหนมีต้นทุนทางภาษีที่ถูกกว่ากัน เพราะ Corporate Income Tax ถือเป็น major cost ที่สำคัญตัวหนึ่งของบริษัทเลยนะครับ ลองคิดเล่น ๆ ดูนะครับว่า ถ้าเราทำธุรกิจแล้วมีกำไร ยกตัวอย่างสัก1,000,000 บาท เราอยากเสียภาษีให้รัฐเท่าไหร่ แน่นอนครับว่าเราก็คงอยากเสียภาษีในอัตราที่ต่ำที่สุดใช่ไม่ครับ ดังนั้นถ้าประเทศไหนสามารถกำหนดนโยบายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งก็จะสามารถดึงดูให้บริษัทต่าง ๆ ไปลงทุนได้มากกว่า

หลายคนเรียน MBA อาจารย์ท่านก็พร่ำสอนเรื่อง ทำอย่างไรให้บริษัทของเรามีความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่ง (Competitiveness)  แต่ถ้าเทียบดูจากตารางที่ผมเปรียบเทียบให้ข้างบน ผมว่าเราตายตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มเลยครับ ประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้ ซึ่งเป็นคู่แข่งเราทั้งนั้น มีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเราทั้งสิ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ต่ำกว่า อย่างน้อยก็ 5% บางประเทศอย่างสิงค์โปร์ ต่ำกว่าเราถึง 13% แล้วเราจะแข่งกับชาวบ้านได้อย่างไรหละครับ

ผมมีโอกาสทำงานกับคนหลากหลายประเทศ ชาวต่างประเทศชอบเมืองไทยครับ เค้าว่า คนไทย nice อาหารไทยก็อร่อย ทะเลก็สวย แล้วอย่างไงครับ พอถึงเวลาตัดสินใจเลือกลงทุน คนทำธุรกิจก็ต้องเลือกประเทศที่ต้นทุนต่ำที่สุดเป็นหลักใช่ไหมครับ ที่จริงแล้วมันก็มีหลายปัจจัยในการตัดสินใจลงทุน ปัจจุบันประเทศไทยดราสู้คู่แข่งโดยเฉพาะเพื่อนบ้านไม่ค่อยได้ ไม่ใช่เราไม่ดี เพียงแต่ว่าเราปรับตัวเองไม่ทัน (หรือช้า) เมื่อเทียบกับคู่แข่ง เราคงปฏิเสธทุนนิยมไม่ได้ เนื่องจากโลกมันหมุนไปทุกวัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ บริษัทที่ผมทำงานอยู่ทุกวันนี้ ผู้บริหารก็มี project ลงทุนตลอดเวลาไม่มีหยุด ถ้าหยุดก็หมายถึงบริษัทถอยหลังเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่แน่นอนที่สุดครับ การลงทุนใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เขาก็ไม่ได้เลือกลงทุนในเมืองไทยอีกต่อไป เพราะประเทศเรามีข้อจำกัดหลายอย่าง ส่วนหนึ่งผมคิดแล้วก็เศร้า……..แต่มาคิดอีกที เราก็จะมีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา แต่ขอบอกว่าเหนื่อยครับพี่น้อง…………….สวัสดี

Phiboon Buakhunngamcharoen
Group Financial Controller
Mermaid Drilling Ltd

BA, Yonok #5
MBA, NIDA Flex #4
EPD, Thammasat University

ข้อความนี้ถูกเขียนใน การบัญชี, ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

4 ตอบกลับไปที่ International Taxation

  1. atichart พูดว่า:

    ดีใจสุดๆ ที่ศิษย์เก่าโยนกเป็นใหญ่เป็นโตในธุรกิจ international ช่วยสร้างชื่อเสียงและเป็นสายป่านต่อให้รุ่นน้องๆ และต้องขอบคุณที่มาแบ่งปันประสบการณ์ให้กันและกัน และหวังว่าวันหนึ่งจะได้มาเป็นวิทยากรตัวจริงให้น้องๆ ที่โยนก ผมว่าเราคงต้องโทษพวกเรากันเองนี่แหละที่ทำลายความเชื่อมั่นของประเทศไทยจากความโลภ และอำนาจที่หลุดไม่พ้น บาปกรรมก็คงตกไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเราต่อไป คงต้องอยู่กันแบบพอเพียงจริงๆ แล้วล่ะ ส่วนเรื่องขุดเจาะน้ำมัน ขอวิจารณ์ในทางลบสักเล็กน้อย ในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันคงจะต้องหมดไป สิ่งที่พวกเราจะช่วยได้คงหนีไม่พ้นที่จะบริโภคกันให้น้อยลง เพื่อให้ทรัพยากรทั้งหลายได้มีโอกาสหายใจและซ่อมแซมในส่วนที่มันต้องถูกใช้หรือทำลายลงไป

  2. Phiboon พูดว่า:

    เรียน อาจารย์อติชาติ

    ถ้ามีสิ่งไหนที่ผมสามารถช่วยได้ผมก็ยินดีครับ การเป็นวิทยากรให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ให้กับรุ่นน้อง ๆ ในส่วนนี้ผมคิดว่ามีประโยชน์ครับ เพราะน้อง ๆ จะได้รับประสบการณ์ตรงจะคนทำงาน ตอนเรียนที่ NIDA มีวิทยากรหลายท่านมาให้ความรู้ ผมก็นำความรู้เหล่านั้นไป apply กับงานที่เราทำ จริง ๆ แล้วผมตั้งใจ จะแชร์ความรู้+ประสบการณ์ผ่านช่องทาง yonok blog อาจจะมีประโยชน์กับคนอื่น ๆ บ้างไม่มากก็น้อย ผมเองผูกพันกับโยนกมากครับ ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมในกรุงเทพฯ ผมพยายามมีส่วนร่วม เพราะ 4 ปีที่เรียนโยนก เป็นช่วงชีวิตที่มีค่ามาก และเป็นพื้นฐานที่ดีสามารถนำความรู้ต่อยอดในการทำงาน

  3. rathakate พูดว่า:

    ไปอินโดบ่อยมั้ยพิบูล ผมมีประชุมที่นั่น สองเดือนครั้ง ที่จาการ์ตา น่าจะเจอกกันได้นะ
    ไก่ rathakate

  4. Phiboon พูดว่า:

    ถึงเพื่อนไก่ โดยเฉลี่ยก็ประมาณเดือนละครั้ง บางเดือนก็สองครั้ง ส่วนใหญ่ก็ไปเมือง Balikpapan แต่ก็พอมีบ้างที่ต้องไปประชุมที่ Jakarta เราก็วน ๆ อยู่ แถว ๆ มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโด นีแหละ เราว่าเจอกันที่กรุงเทพ น่าจะสะดวกกว่าไหม?

    ตอนนี้นายทำงานที่ไหน update หน่อย ไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ รุ่นเรา(# 5) เป็นอย่างงัยบ้าง

ใส่ความเห็น