ร่วมทีมอาจารย์โยนก CBR ไปประชุม CBMAG เพื่อตั้ง sub node ที่ลำปาง

ทุกมุมโลกในขณะนี้น่าจะมีการประชุมเพื่อพัฒนา เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ผมก็มีโอกาสไปประชุมร่วมกับอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ราชภัฏลำาปง ม.ราชมงคลลำปาง  โดยเฉพาะ ม.โยนก มีอาจารย์ที่รับทุน CBR ไปประชุมรวมผมด้วยก็ 4 ท่าน คือ อ.อดิศักดิ์ เสมอพิทักษ์ อ.ศิรดา ไชยบุตร อ.อัศนีย์ ณ น่าน ในหัวข้อเรื่อง แนวทางความร่วมมือการสนับสนุนศักยภาพ นักศึกษาปริญญาโทกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีน้องหนึ่ง เป็นเลขาที่ประชุม และนำประชุมในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจว่าศักยภาพของคนไม่ขึ้นอยู่กับอายุ ตำแหน่ง แต่ขึ้นกับประสบการณ์ และบุคลิกส่วนตัว คำว่า CBMAG (Community-Based Master Research Grant) ที่ไปร่วมกันผนึกกำลัง เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาป.โทเข้าขอทุนไปพัฒนาบ้านเมืองของเรา มาจากภาษาไทยว่า ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการทำวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระของนักศึกษาปริญญาโท ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล กล่าวเปิดเวทีการประชุมในฐานะกลไกตรงที่รับผิดชอบงานวิจัย แล้ว รศ.ดร.อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ เล่าที่มาของฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และการมาสร้างกลไก ในการขับเคลื่อน ทำให้ผมเข้าใจความหมายของกลไกได้ชัดขึ้น และน่าจะทำยากกว่าคำว่าระบบ เพราะระบบนั้นแค่เขียนขั้นตอนแล้วประกาศให้ทราบทั่วกันก็ถือว่ามี แต่กลไก คือทุกอย่างที่ เป็นรูปธรรมอันจะขับเคลื่อนตัวระบบให้ดำเนินไปตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ

การประชุมครั้งนี้มีทุนวิจัยอยู่ปีละประมาณ 15 – 20 ทุน แม้จะดูน้อย แต่ปัญหา คือ นักศึกษาที่ขอทุนเข้าไปมีน้อยกว่าทุนที่ให้ เพราะปัญหาเรื่องของช่วงเวลาเรียน  กับช่วงเวลาทำวิจัยไม่สัมพันธ์กัน ประกอบกับเงื่อนไขการทำงานเชิงพื้นที่ ซึ่งองค์ประกอบ ของความสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งผมก็เสนอเข้าไปว่าบทบาทของพี่เลี้ยงต้อง ทำงานหนักมาก อย่างพี่เลี้ยงของผม คุณภัทรา มาน้อย ต้องคอยโอบอุ้ม หนุ่นเสริม จนทำให้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยคนไม่มีประสบการณ์อย่างผมสามารถสำเร็จลงได้ ดร.ไกรสร คำมา ก็เสริมว่าการทำงานเพียงไม่กี่เดือนนั้น ไม่เพียงพอกับการทำงานกับชาวบ้าน  ผมเองก็เคยพบมาแล้ว เพราะติดเลือกตั้งบ้าง ติดทำนา ติดงานบุญ อันนี้ก็ต้องเข้าใจบริบทของชุมชน ส่วนอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ก็นำเสนอปัญหาว่า สาขาทางสัตวศาสตร์ล่ะ พืชไร่ล่ะ คอมล่ะ ในเวทีก็เสนอว่าคงต้องใช้วิธีการประยุกต์ และพบกันครึ่งทาง จะ pure science  กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคงไม่ได้

ประชุมครั้งนี้เป็นความพยายามจัดตั้ง sub node ของลำปาง การตั้งนั้นไม่ยาก แต่การทำให้คงอยู่ยั่งยืนสิยากกว่า การประชุมครั้งนี้ราบรื่นดีแม้ รศ.ศุภศักดิ์ ลิมปิติ ผู้ประสานงานชุดโครงการ CBMAG จะไม่ได้มาด้วย เพราะเจ็บเข่ากระทันหัน ต่อจากนี้มีแผนจะอบรมนักศึกษาปริญญาโทที่สนใจขอทุน ก็จะอบรมให้เห็นกระบวนการ เขียนข้อเสนอ และเข้าใจการเข้าไปทำงานกับชุมชน ก่อนการอบรมมีนัดหมายอีกครั้ง ในวันที่ 25 มิถุนายน 2552 โดยมีแผนว่าควรเปลี่ยนสถานที่ประชุมไปเป็นมหาวิทยาลัยโยนก และสันจรไปที่อื่นหมุนเวียนเปลี่ยนไป เมื่อกลับมาถึงมหาวิทยาลัยโยนก ก็รวบรวมกำลังใจ แต่รวบรวมคนไม่สำเร็จ ไปเล่าอะไรอะไรอย่างไม่เป็นทางการให้ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ ฟัง เพราะท่านเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย (ถ้ามีโอกาสจะย่อยข้อเสนอโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วให้ได้ศึกษาเรียนรู้ เพราะในเวทีแจกมาเป็นเล่มครับ)

http://www.cbmag.org/

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน งานวิจัยและบริการวิชาการ และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น