ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ DB

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล

29 ธ.ค.52 พรุ่งนี้ผมจะปิดเล่มรายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล จึงเลือกบางส่วนมาเล่าสู่ กันฟัง มีการประเมินทั้งหมด ๑๙ ระบบฐานข้อมูล และรายงานนี้เป็นรายงานผลฉบับสุดท้ายของโครงการประเมิน ๓ อย่างเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลในปีการศึกษา ๒๕๕๒ ประกอบด้วย ๑)ประเมินประสิทธิภาพ ๒)ประเมินความปลอดภัย ๓)ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งผลประเมินเป็นไปตามการประกันคุณภาพ และหน่วยงานเข้าของระบบใช้เป็น KPI ของตนได้
     ผลการประเมินความพึงพอใจจำแนกตามประเด็นคำถาม ๖ ประเด็นเรียงจากความพึงพอใจมากไปน้อย พบว่า ๑) ความถูกต้องของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๔) ๒) สารสนเทศมีประโยชน์ และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของท่าน มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๒) ๓) ความทันสมัยของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๗) ๔) สารสนเทศถูกนำมาใช้ตามแผนงานของท่าน ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๕) ๕) ความง่ายในการได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากระบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๒) ๖) มองเห็นความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของข้อมูลกับระบบต่าง ๆ มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=๓.๓๕) โดยภาพรวมของความพึงพอใจต่อทุกระบบอยู่ในระดับมาก (X=๓.๔๖)
     การประเมินครั้งนี้ อ.วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความห่วงใยว่า รายงานผลการประเมินทั้ง ๓ เรื่องที่ปิดรายงานไปจะไม่มีผลในรอบการประเมินตามแผนพัฒนาคุณภาพ ปีพ.ศ.๒๕๕๓ ทำให้ผมได้ทราบความจริงข้อนี้และเป็นผลให้ต้องวางแผนทำโครงการนี้อีกครั้งในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ เพื่อให้เข้ารอบเวลาของคณะวิทย์ และรอบเวลาของการประเมินตามเกณฑ์ของสกอ.ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ซึ่งทุกคณะวิชาจะได้นำรายงานผลไปใช้ในฐานะที่ร่วมเป็นคณะกรรมการทำงานเชิงบูรณาการ ซึ่ง อ.เกศริน อินเพลา ร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุดนี้ ก็คาดว่าท่านจะได้นำเรียนในที่ประชุมคณะในลำดับต่อไป

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน งานระบบบริการสารสนเทศ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น