คำตอบของคำถาม กฎหมายยากไหม

กฎหมายเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเรา กับสังคม กับการเมือง กับเศรษฐกิจ กับประวัติศาสตร์ มายาวนานมากๆแล้ว

ที่สำคัญสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เราจึงมักจะทำความเข้าใจและจดจำได้ง่ายจริงมั๊ยคะ

ลองย้อนคิดดูนะคะว่า กฎหมายใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับเราขนาดไหนกัน

เกิดมากฎหมายครอบครัว ก็บอกเราว่า เราเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่ผู้ให้กำเนิด พออายุ ๑๕ กฎหมายก็ให้เราไปทำบัตรประชาชน พออายุ ๑๗ อยากหมั้น อยากแต่งงาน ก็ไปขอความยินยอมจาก คุณพ่อ คุณแม่ หรือ ผู้ปกครอง ก็แต่งงานกันได้ พอแต่งงานไปแล้ว กฎหมายก็บอกว่า สามีภริยาต้องดูแลกันฉันสามีภริยา ต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน แม้วาระสุดท้ายของชีวิต เราก็มีกฎหมายมรดกมาช่วยดูแล

ระหว่างเรียนเราก็เคยทำสัญญากู้ยิมเงินเพื่อการศึกษา เราก็เคยไปตกลงซื้ออุปกรณ์การศึกษาหลายอย่างตามกฎหมายเรื่องการซื้อขาย เราให้คำมั่นกับพ่อแม่หลายเรื่อง ก็กฎหมายนิติกรรมสัญญา

เราเผลอไปขับรถชนใคร หรือใครมาขับรถชนเรา ก็กฎหมายละเมิด ใครมาขโมยของเรา ก็กฎหมายอาญา

ดังนั้น ใครที่สนใจสังคม สิ่งแวดล้อม รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ หรือ เอาง่ายๆเห็นคนทะเลาะกันแล้วทนเฉยไม่ได้ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูหนัง ละครน้ำดี น้ำเน่า เกาหลี จีน ญี่ป่น แล้วคิดตามว่า ทำไมหนอ ถึงเป็นเช่นนี้  ลองค้นหาตัวเองดูนะคะว่า เราชอบแบบไหน ชอบคิด วิเคราะห์ ชอบพูดชอบจา ชอบช่วยเหลือคน อยู่นิ่งไม่เป็น ลับสมองประลองปัญญาตลอด สนใจสิ่งรอบข้างหรือไม่…..นี่คือบางส่วนของคนเรียนกฎหมายนะคะ   ….. นั่นก็เพราะข้อมูลที่ได้จากสิ่งที่เราชอบเหล่านี้ จะกลายเป็นข้อมูลที่สำคัญในการทำความเข้าใจกฎหมาย และเป็นบทเรียนอย่างหนึ่ง หรือ กรณีศึกษาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราเรียนกฎหมายได้สนุกมากยิ่งขึ้น แน่นอนคะ

เพราะเราคิดว่า “การเรียนกฎหมายไม่ใช่อ่านและทำความเข้าใจตัวบทที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น”

การเรียนกฎหมายไม่ได้ยากเกินกว่าความสามารถของคนที่อยากเรียนนะ จะบอกให้ เพราะการเรียนกฎหมายแบบสร้างสรรค์ จะทำให้เราสนุกกับการเรียนมากยิ่งขึ้น มาร่วมสรรค์สร้างความยุติธรรมให้สังคมนี้ด้วยกันนะคะ

บทความโดย อ.คนึงสุข  นันทชมภู

http://blog.eduzones.com/yonokcreativelaw/43915

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น