14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)
องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)
มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ