การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง หลักการวิจัยทางสาธารณสุข คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ความหมายของการวิจัยทางสาธารณสุข หมายถึงการศึกษาค้นคว้า หาความรู้ หาวิธีการใหม่ๆ คิดค้นเทคโนโลยี ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในการป้องกัน รักษาโรค รวมท้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการปฏิบัติงานทางสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี สามารถประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขคุณลักษณะของการวิจัย
1. เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงภายในขอบเขตที่กำหนดไว้
2. เป็นการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สามารถพิสูจน์ได้

อธิบายตามหลักตรรกศาสตร์ (ความเป็นเหตุเป็นผล) ได้รูปแบบการวิจัยทางสาธารณสุข
1. การวิจัยจำแนกตามประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย
2. การวิจัยจำแนกตามจุดมุ่งหมายหลักของการวิจัย
3. การวิจัยจำแนกตามการบวนการเก็บข้อมูล

การวิจัยจำแนกตามประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย มี 2 ประเภท
1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) หรือการแบบบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่แสวงหาข้อเท็จจริงหรือความสัมพันธ์สัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา เพื่อนำไปใช้ทดสอบหรือสร้างทฤษฎีในการอธิบายปรากฏการณ์ การวิจัยแบบนี้เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการในศาสตร์สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยเฉพาะ รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการวิจัยขั้นต่อ ๆ ไป
2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่แสวงหาข้อเท็จจริงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริง โดยมุ่งที่จะนำผลการวิจัยนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาการตัดสินใจเพื่อพัฒนาโครงการหรือวิธีการต่าง ๆ หรือเพื่อประเมินผลโครงการที่ทำไปแล้ว การวิจัยแบบนี้จึงเน้นความสำคัญที่ว่าจะสามารถนำผลการวิจัยนั้นไปประยุกต์ใช้ได้ หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ใดหรือหน่วยงานใด

การวิจัยจำแนกตามจุดมุ่งหมายหลักของการวิจัย
1. การวิจัยเพื่อค้นหาข้อมูลเบื้องต้น (Exploratory Research) เป็นลักษณะของการวิจัยเพื่อหาข้อมูลพื้นฐาน ข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดของเหตุการณ์บางอย่าง โดยใช้ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลในการตั้งสมมติฐาน หรือใช้เป็นกรอบการวางแผนการวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร มีสภาพ คุณลักษณะ คุสมบัติ ตลอดจนรายละเอียดของเหตุการณ์
3.การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory Research or Analytical Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์หาสาเหตุและผลในการเกิดเหตุการณ์ใด ๆ
4. การวิจัยเชิงคาดการณ์ (Predictive Research) การวิจัยเชิงคาดการณ์เป็นชนิดหนึ่งของการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย แต่มีจุดมุ่งหมายเน้นเฉพาะการคาดการณ์ หรือทำนายเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลทั้งหมดในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องด้วย เป็นกรอบในการคาดการณ์วิจัยจำแนกตามการบวนการเก็บข้อมูล
1. วิจัยเชิงคุณภาพ
2.วิจัยเชิงปริมาณ
3. Survey, Experiment, PAR (Parcipatory access research), OR (Operational research)

ขั้นตอนการวิจัย
1. การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาการวิจัย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มักจะทำพร้อม ๆ กันไปการเลือกเรื่องเป็นการหาปัญหาในลักษณะกว้างๆ ที่ผู้วิจัยพิจารณาเห็นว่ามีความสำคัญ น่าสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ เช่น การใช้สารเสพติดในผู้ใช้แรงงาน ภาวะทุพโภชนาการของเด็กไทย หรืออัตราการตายของทารกไทย เป็นต้น การกำหนดปัญหาในการทำวิจัยจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยมาประกอบในการพิจารณาร่วมกับแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ด้วย และวางขอบเขตและสร้างแนวคิด จนได้ข้อสรุปว่า อะไรคือปัญหา สำคัญมากน้อยเพียงใด ขอบเขตลึกซึ้งเพียงใด
2. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ความรู้ มาสร้างกรอบแนวคิด ทางการวิจัย
3. กำหนดกรอบทฤษฎี ควรเป็นขั้นตอนที่เกิดจากการอ่านเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำมาใช้ในงานวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาที่ศึกษา การวางกรอบทฤษฎี จะทำให้ทราบถึงชนิดของตัวแปร จำนวนตัวแปร ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมทั้ง ทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปร เพื่อใช้ในการสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรต่อไป
4. การตั้งสมมติฐาน เป็นข้อความที่แสดงถึงการคาดการณ์ถึงผลการวิจัยที่จะได้รับ การตั้งสมมติฐานควรจะเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องมาแล้วอย่างรอบคอบ ครบถ้วน เพียงพอที่จะตั้งสมมติฐาน ซึ่งควรจะดำเนินการก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การกำหนดตัวแปร เป็นการอธิบายรายละเอียดชนิดของตัวแปรสำคัญทั้งหมดของการวิจัยว่าเป็นตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรตาม หรือตัวแปรควบคุม การให้ความหมายของตัวแปรเป็นความสำคัญ ซึ่งการให้ความหมายมี 2 รูปแบบ คือการกำหนดนิยามทั่วไป และการกำหนดนิยามปฏิบัติการ
6. การวางรูปแบบการวิจัย เป็นการกำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสมต่อการตอบคำถามวิจัย ซึ่งรูปแบบการวิจัย มีหลายรูปแบบ เช่นการศึกษาภาคตัดขวาง การศึกษาแบบระยะยาว การศึกษาเชิงทดลองการศึกษาแบบกลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มเปรียบเทียบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การวิจัยว่ารูปแบบการวิจัยใดที่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การวิจัยนั้นๆ ได้
7. การเตรียมเครื่องมือการวิจัย หมายถึงเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
8. การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกตัวอย่าง การกำหนดกลุ่มประชากรจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ประชากรที่เลือกศึกษานั้น สามารถตอบคำถามการวิจัย ตอบวัตถุประสงค์ได้หรือไม่การเลือกกลุ่มตัวอย่าง มีหลายรูปแบบทั้งการสุ่มแบบง่าย การสุ่มแบบมีระบบ การสุ่มแบบเป็นชั้นภูมิ การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม การสุ่มแบบหลายขั้นตอน
9. การเก็บรวบรวมข้อมูล
10. การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ ควรมีการสร้าง code sheet เพื่อเป็นคู่มือไว้ใช้สำหรับการลงรหัสข้อมูล เพื่อป้องกันการผิดพลาด
11. การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถวิเคราะห์ไดหลายรูปแบบ ตามโปรแกรมทางสถิติที่มีอยู่มากมายแต่ความสำคัญคือ การกำหนดชนิดของสถิติที่จะใช้ในการวิเคราะหืข้อมูล ต้องสอดคล้อง กับชนิดของข้อมูลและวัตถุประสงค์การวิจัย เช่นการเปรียบเทียบสัดส่วนของสองกลุ่มตัวอย่าง ก้ใช้ chi-square testในการเปรียบเทียบ ซึ่งรูปแบบของสถิติจะต้องกำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล
12. การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
13. การเขียนรายงานการวิจัย

การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาการวิจัย
1. สนใจ เป็นความสนใจของผู้วิจัย ดังนั้นผู้วิจัยควรมีความรู้ และมีความใกล้ชิดกับปัญหาที่ต้องการศึกษา
2. สำคัญของปัญหาการวิจัย ซึ่งเป็นที่สนใจในระดับประเทศ จังหวัด หรือประชาคมโลก ซึ่งจะประเมิน ได้
จากขนาดของปัญหา ความรุนแรงของปัญหา ผลกระทบของปัญหานั้นๆ ผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการรวบรวม
ข้อมูลต่างๆ เพื่อบ่งชี้ความสำคัญของปัญหา
3. สามารถทำได้ โดยพิจารณาจากความยากง่ายของการเก็บรวบรวมข้อมูล การเข้าถึงประชากรและตัวอย่างเทคนิคการวัดในสิ่งที่ต้องการศึกษา งบประมาณ ระยะเวลา กำลังคม และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการวิจัยทฤษฎีรองรับกับปัญหาที่ต้องการศึกษา
4. ไม่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่ทำมาแล้ว ทั้งปัญหา สถานที่ เวลา และวิธีการ

การเขียนชื่อเรื่อง
1. ชื่อเรื่องเป็นภาษาที่ง่าย กะทัดรัด ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
2. ชื่อเรื่องสามารถบอกได้ว่า ทำอะไร กับใคร (ที่ใหน เมื่อไร)
3. ชื่อเรื่องไม่ยาวและไม่สั้นจนเกินไป
4. ไม่ใช้คำย่อ
5. ใช้คำนาม เช่น ขึ้นต้นด้วย “การ” “ความ”

วัตถุประสงค์
1 หลัก หมายถึง Question Research
2 รอง หมายถึง ตัวแปรที่วัดได้ แยกประเด็น

การเขียนสมมติฐาน
1. พรรณนา
2. เปรียบเทียบ Output/Outcome
3. ความสัมพันธ์
4. วัตถุประสงค์เชิงพรรณนาจะไม่มีสมมติฐาน
5. เชิงเปรียบเทียบ แตกต่าง/ดีกว่า/สูงกว่า
6. เชิงสัมพันธ์ อิทธิพล/สัมพันธ์/เกี่ยวข้อง

การกำหนดกรอบทฤษฏี
1 ความคิดรอบยอดหรือแนวความคิด (concepts)
2 ตัวแปร (varibles)
3 ข้อความ (statements)
4 และรูปแบบ (formats)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1 ได้รับแน่ๆ วัตถุประสงค์
2 คาดว่าจะได้รับ จะไปใช้ประโยชน์,ก่อให้เกิดการพัฒนาผลักดัน ให้เกิดการกำหนดทิศทางของการดำเนินงาน นโยบาย ชี้นำสังคม ชี้นำวิชาการ หรือการวิจัยในอนาคต

วัตถุประสงค์กับรูปแบบการวิจัย
1 วัตถุประสงค์เพื่อพรรณนา สำรวจ(Cross sectional study)/Cohort study
2 วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ สำรวจ k กลุ่ม, Case-control.cohort study,Experiment
3 วัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ สำรวจ Case-control.cohort study,Experiment

ประชากรศึกษา และตัวอย่าง
1 ระดับหน่วยศึกษา: บุคคล/องค์กร หน่วยงาน พื้นที่
2 การประเมินแต่ละระดับ จัดเป็นตัวแปรแต่ละระดับและการจัดการ
3 การสุ่มตัวอย่าง
4 ขนาดตัวอย่าง
5 ขอบเขต

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น