อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยโยนกไปปฏิบัติธรรมที่บ้านไหล่หิน

ปฏิบัติธรรม

ปฏิบัติธรรม

7-8 ก.ค.52 อาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล สวดมนต์ นั่งเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เดินจงกลม รับประทานอาหารเจ ฟังเทศ สนทนาธรรมกับพระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ ร่วมกับคนในหมู่บ้านไหล่หิน ณ วัดชัยมงคลธรรมวราราม ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ตามโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในสัปดาห์วันอาสาฬหบูชา ในโอกาสนี้ได้ร่วมทำบุญบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ชมนิทรรศการแสดงพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุในวิหารหลวง พบว่าขณะปฏิบัติธรรมจิตสงบขึ้น เห็นหนทางสู่การพ้นทุกข์ ตามหลักอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
+ http://www.thaiall.com/dhamma/

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน วิทยาการคอมพิวเตอร์ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับไปที่ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยโยนกไปปฏิบัติธรรมที่บ้านไหล่หิน

  1. atichart พูดว่า:

    อยากทราบจริงๆ ที่บอกว่า เห็นหนทางสู่การพ้นทุกข์ ช่วยขยายความเพิ่มเติมให้ด้วยว่า เห็นอะไรมาบ้าง เพราะหลายคนคงอยากพ้นทุกข์เช่นเดียวกัน แต่โดยส่วนตัวแล้ว ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็น่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการพ้นทุกข์ได้เช่นเดียวกัน

  2. เรียน อ.atichart ที่เคารพรัก ขอท้าวความเป็นข้อ ๆ นะครับ 1)ได้เรียนในห้องประชุมเรื่องสิ่งที่ควรเป็นกับสิ่งที่เป็นอยู่ว่าอาจไม่ตรงกัน และ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ก็บอกว่าเข้าใจ เพราะผมได้นำเรียนในตอนต้นของการประชุมไปแล้ว จึงไม่ได้ให้รายละเอียดในประเด็นที่อาจารย์สอบถาม โดยผมนำเรียนไปว่า

    “แม้ผมไม่เห็นด้วยกับการเบียดเบียนสัตว์อื่นมาเป็นอาหาร แต่ผมก็ปฏิเสธไม่ได้ที่จะมีความสุขกับการลิ้มรสชาดของสัตว์เดรัชฉานที่เราเข่นฆ่าเป็นอาหาร”

    บางเรื่องอาจไม่เห็นด้วย แต่ก็จำเป็นต้องยกมือสนับสนุนด้วยปัจจัยแวดล้อมมากมายโดยไม่สนใจหลักความถูกต้องเท่าที่ควร แต่ยึดตามหลักความสมเหตุสมผล 2)คนเข้าวัดมักเป็นคนที่มีความทุกข์ อยากพ้นทุกข์ หรือเห็นว่าวัดน่าจะเป็นที่พึ่งหลังความตายได้ คนสูงอายุใกล้ตายมักคิดว่าการไปวัดจะได้ตายอย่างสงบ ผมไปวัดเพราะอยากให้ชีวิตหลังความตายมีจริง อยากให้ศาสนามีจริง อยากใจจะขาดเลยครับ อยากเชื่อแบบไม่ลืมหูลืมตาอย่างที่ผู้สูงอายุกว่าครึ่งประเทศเชื่อกันเช่นนั้น 3)อริยสัจสี่ หรือความจริงที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ พระครูก็อธิบายเหมือนที่ผมฟังมาตอนเด็ก ๆ นั่นหละครับ และเหมือนที่อาจารย์ฟังมาตอนเด็ก ๆ เช่นกันว่า มีทุกข์สัจ ก็ต้องรับรู้ภาวะแห่งทุกข์ หาเหตุแห่งทุกข์ หาทางดับทุกข์ และดำเนินการดับทุกข์ เพียงแต่มิใช่ทุกคนที่เห็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ บางคนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นผิดเป็นชอบ เห็นถูกเป็นผิด สำหรับผมแล้วคนเหล่านั้นโชคดีที่ไม่รู้สึกรู้สา ไม่รู้เนื้อรู้ตัว และไม่รู้สึกทนทุกข์ แล้วส่วนใหญ่ซะด้วยที่ไม่รู้สึกทนทุกข์ในภาวะที่พวกเขาเป็นอยู่ ส่วนคนที่รู้เนื้อรู้ตัว รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่รู้จักการวางเฉย ไม่ปล่อยวาง มีความหวัง มีความอยาก คิดไปเองว่าเข้าใจ ก็จะทุกข์ไปตามภาวะที่ตนเข้าใจ 4)ผมคิดไปเองว่ามองเห็นตนเองมีทุกข์จากความคงอยู่ และเข้าใจในภาวะแห่งทุกข์ แต่ไม่อาจเดินทางไปตามเส้นทางแห่งความพ้นทุกข์ได้ เพราะมีภาระ มีกิเลสเป็นเครื่องชี้นำ มีความหวัง เป็นที่ถูกคาดหวัง ความอยากที่ไม่อาจสลัดให้หลุดพ้นได้ .. ทำให้ไม่อาจเดินไปตามทางแห่งความพ้นทุกข์บนฐานคิดของศาสนาที่ผมคิดว่าตนเองยังศรัทธา

ใส่ความเห็น