นำเสนองานวิจัยในเวทีของ กศน. กทม. รับเชิญจาก ดร.สุชิน

ภาพเป็นข่าวส่งลง นสพ.ฅนเมืองเหนือ

ภาพเป็นข่าวส่งลง นสพ.ฅนเมืองเหนือ

ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยโยนก นำเสนอโครงการวิจัย “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” ในงานการประชุมสัมนางานวิจัย “โครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2552”  ณ โรงแรมแกรนด์ เดอ วิลล์ กรุงเทพฯ โดยมี ดร.ยิ่ง กีรติบูรณะ และ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ เป็นผู้วิพากษ์การนำเสนอโครงการวิจัย ระหว่าง 29-30 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา

     ภาพ ผอ.อวิรุทธิ์  ภักดีสุวรรณ (มุมล่างซ้าย) จากจังหวัดมหาสารคาม ท่านเป็นผู้นำเสนอโครงการ “รูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม” ท่านกรุณาสลับกับผมถ่ายภาพในฐานะผู้นำเสนอ และผมได้รับความอนุเคราะห์แฟ้มรายงานโครงการจากท่าน มาเผยแพร่ในมหาวิทยาลัย เพื่อเรียนรู้ร่วมกันในการวางแผน และดำเนินการจัดทำโครงการหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขในลำปาง ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้คัดลอกให้กับผู้เกี่ยวข้องไป 4 ท่านแล้ว คือ อ.ชิน อ.วันชาติ อ.ศรีศุกร์ และอ.ออย เท่าที่ได้ฟังการนำเสนอก็พบว่า กศน.มีจุดแข็งในการทำหัวข้อนี้ชัดเจนจากการเข้าไปคลุกคลี และได้รับการยอมรับจากชุมชนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

1 ตอบกลับไปที่ นำเสนองานวิจัยในเวทีของ กศน. กทม. รับเชิญจาก ดร.สุชิน

  1. atichart พูดว่า:

    อยากให้บุคลากรโยนก โดยเฉพาะอาจารย์ทุกท่านนำแบบอย่างที่ดีของ ผศ.บุรินทร์ ในการทำงานโดยเฉพาะด้านงานวิจัยที่เรื่องเงินงบประมาณไม่ใช่ประเด็นหลัก บ่อยครั้งที่อาจารย์ต้องควักจ่ายเอง การทำวิจัยจึงต้องทำด้วยใจที่รักจะทำ เรื่องอื่นๆ ที่ดีๆ ก็จะตามมาเอง ขอให้ทุกท่านจงทำงานอย่างมีความสุขด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครูบาอาจารย์ที่เข้าใจในภารกิจหลัก ไม่ใช่ทำงานแบบลูกจ้าง หรือแบบนักธุรกิจ

ใส่ความเห็น