การจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นในปีการศึกษา 2556
ที่คณะวิชามีความสนใจเรื่อง เทคนิคการทวนสอบตามกรอบมาตรฐาน TQF
แล้วนำมาเป็นประเด็นในการจัดการความรู้
ที่ถูกนำมาพูดคุยเกี่ยวกับเทคนิคการทวนสอบในหลายครั้ง
โดยวัตถุประสงค์ของประเด็นนี้ มี 2 ข้อ
1. เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีของการทวนสอบ
2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้อาจารย์ผู้สอน
และสามารถนำแนวปฏิบัติเรื่องการทวนสอบ ไปปฏิบัติจริงได้
ซึ่งการทวนสอบในระดับวิชา สามารถทำได้ 3 แบบ
1. ทวนสอบข้อสอบกับแผนการสอน กับหลักสูตร
2. ทวนสอบข้อสอบกับผลการเรียน กับนักศึกษา
3. ทวนสอบข้อสอบทั้งแผนการสอน และผลการเรียน
ถ้าจะทวนสอบที่ขยายออกไปก็ต้องเกี่ยวข้องกับหลักสูตร
และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ซึ่งกระบวนการมีหลายวิธี
อาทิ การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ เป็นต้น
โดยอาจารย์ในคณะวิชาพิจารณาร่วมกัน โดย อ.ศศิวิมล แรงสิงห์
ได้สรุปว่าคณะวิชาของเราสนใจประเด็นการทวนสอบวิชากับแผนการสอนเป็นหลัก
จึงให้ความสำคัญกับการ defend ข้อสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้
แต่ก็ยังไม่ทิ้งการ defend grade ที่เป็นปลายทางของการจัดการเรียนการสอน
ทำให้เราให้ความสำคัญ กับกิจกรรมการประชุมพิจารณา มคอ.3 และ มคอ.5
ประชุมพิจารณาข้อสอบกลางภาค ข้อสอบปลายภาค และผลการสอบ
อย่างระมัดระวัง ก่อนนำไปใช้สอบ และก่อนประกาศผลการสอบ
หรือที่มักเรียกกันว่า defend เกรด
โดยพิจารณาว่าผลการเรียน กับการจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกันหรือไม่
—
เพิ่มเติม 1 .. ความหมายของ การตรวจสอบ และการทวนสอบ (itinlife401)
พบคำว่า การทวนสอบในแบบฟอร์ม มคอ.3 หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา หัวข้อที่ 4 ใน กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่ทุกวิชาต้องจัดทำก่อนดำเนินการสอน และหัวข้อนี้เป็นแผนที่ต้องดำเนินการในการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐาน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จก็จะต้องจัดทำ มคอ.5 ที่เป็นรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เรื่องนี้สอดรับกับการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของระบบงาน ซึ่งจำแนกได้ 2 ส่วนคือ การตรวจสอบ (Verification) และการยืนยันความถูกต้อง (Validation)
การพิจารณางาน (Work) สามารถวิเคราะห์ได้หลายรูปแบบ และมีทฤษฎีให้เลือกใช้มากมาย การทำงานให้สำเร็จมักประกอบด้วยระบบและกลไก เมื่องานเสร็จแล้วก็สามารถดำเนินการตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องได้ หากจะแยกความต่างของ verification และ validation ก็อาจแยกที่ประเด็นการตรวจสอบว่า การพบผลการดำเนินการตามที่เขียนไว้ในแผน ทั้งแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและตัวบ่งชี้ของแผน เป็นไปตามกิจกรรม/โครงการ ระยะเวลา กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ หากดำเนินการครบทุกรายการที่ตรวจสอบก็เรียกว่าผ่านการ verification โดยกิจกรรมนี้มักเป็นงานที่ดำเนินการโดยพนักงานเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่างานมีคุณภาพตามที่กำหนด
ส่วน Validation คือ การตรวจสอบว่ามีการสร้างระบบที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนสร้างระบบ ระหว่างสร้าง การใช้ระบบ การเลือกวิธีตรวจสอบ การนำผลการตรวจสอบไปใช้ และการเชื่อมโยงผลของงานเข้ากับผลการตรวจสอบว่ามีความสมเหตุสมผล ก็จะเป็นผลว่าระบบงานนั้นมีความถูกต้องเพียงใด การทวนสอบก็จะรวมความหมายทั้งการตรวจสอบ และการตรวจความถูกต้องว่าข้อสอบ กิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ มีที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน ผู้ปกครอง นักศึกษา อาจารย์ และสถาบัน ว่ามีความครบถ้วน และเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็จะนำไปใช้ปรับปรุงนโยบาย แผนกิจกรรม/โครงการ ทั้งในชั้นและนอกชั้น และแนวทางจัดการเรียนทั้งระดับสูงสุดไปถึงแต่ละวิชากันต่อไป
+ http://www.npc-se.co.th/pdf/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%20Rev%200.pdf
+ http://www.thaiall.com/tqf/
—
เพิ่มเติม 2 .. สุขวิทย์ โสภาพล ได้แบ่งปันผ่าน blog ของ ubu.ac.th
+ http://km.bus.ubu.ac.th/?p=831
ว่า การทวนสอบ หมายถึง ดำเนินการหาหลักฐานด้วยวิธีการใด ๆ
เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ เป็นต้น
เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้น ได้มีการดำเนินการ และบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่
โดยทั่วไปการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
มีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบการให้คะแนนจากกระดาษคำตอบข้อสอบและงานที่ได้รับมอบหมาย
2. การตรวจสอบการประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา
3. การตรวจสอบภาควิชาหรือสาขาวิชาและหลักสูตรโดยบุคคลภายนอก
4. การรายงานเกี่ยวกับทักษะของบัณฑิตโดยผู้ใช้บัณฑิต
—
เพิ่มเติม 3 .. เรื่องการทวนสอบ ได้พบเอกสารในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
http://www.eduservice.psu.ac.th/Laksood/template_form/sob(5april56).doc
ได้ให้แนวทางไว้อย่างชัดเจน และเป็นตัวอย่างหนึ่งได้
โดยให้ตัวอย่างแบบฟอร์ม และแนวทางในการดำเนินงานไว้ 6 ข้อ ดังนี้
1. คณะแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
2. หลักสูตรที่ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ แจ้งรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมดในปีการศึกษาไปยังคณะกรรมการ
3. คณะกรรมการสุ่มรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษาของแต่ละหลักสูตร เพื่อดำเนินการทวนสอบ โดยมีหลักการในการทวนสอบว่า ดำเนินการเฉพาะรายวิชาที่เปิดสอน และไม่ทวนสอบรายวิชาเดิมหรือซ้ำซ้อน สำหรับการดำเนินการทวนสอบรายวิชาในรายวิชาศึกษาทั่วไป และรายวิชาพื้นฐาน มหาวิทยาลัยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
4. กระบวนการทวนสอบมีหลายวิธี เช่น การสังเกต การตรวจสอบ การประเมิน การสัมภาษณ์ ฯลฯ เพื่อยืนยันพิสูจณ์ว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้นได้มีการดำเนินการและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเป็นที่เข้าใจตรงกันและมีการจัดการเรียนการสอนจนบรรลุผลสำเร็จ
5. คณะกรรมการทวนสอบแจ้งผลการทวนสอบให้หลักสูตรทราบเพื่อพัฒนาปรับปรุงและแจ้งคณะกรรมการ ตามข้อ 2 ของวิธีการประเมินทราบและดำเนินการกำกับดูแลให้มีการพัฒนาตามผลการประเมิน
6. คณะรายงานผลในภาพรวมของการทวนสอบไปยังมหาวิทยาลัย
ดังนั้น การทวนสอบ จะต้องพิจารณาทั้งจาก มคอ. 3 คะแนน นศ. มคอ. 5 รวมถึงข้อสอบกลางภาค ปลายภาค และการจัดสัดส่วนคะแนนของแต่ละรายวิชาใช่หรือไม่ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำเป็นคณะกรรมการทวนสอบอีกครั้ง จะใช้คณะกรรมการวิชาการ หรือคณะกรรมการบริหารของคณะได้หรือไม่
ถ้าในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ มีการกำหนดบทบาทไว้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งกรรมการเพิ่ม หากในหลักสูตรมีอาจารย์ไม่มากนัก แต่ถ้าหลักสูตรมีอาจารย์นับสิบคน การแบ่งงานกันทำให้ชัดเจน ก็คงต้องตั้งกรรมการแยกชุดออกไปครับ สรุปว่าแล้วแต่บริบทของหลักสูตร
พูดถึงความชัดเจนในการแบ่งงานกันทำ! ผู้มีอำนาจคงต้องพิจารณาประเด็นนี้ให้ตรงตามบทบาทหน้าที่แล้วล่ะครับ การทวนสอบ…เป็นเรื่องละเอียด ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ช่วยแนะนำและคอยให้คำปรึกษา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ช่วยประสานงานด้วยความจริงจังและชัดเจนครับ