ระบบและกลไก การนำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุม
บทเรียนจาก nccit.net
ทุกปีการศึกษาต้องมีบทความทางวิชาการ
ที่เขียนโดยอาจารย์ในคณะวิชา เพื่อสะท้อนอะไรบางอย่างที่เรียกว่าตัวตน
ดังนั้นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงกำหนดให้มีการพูดคุยกัน
เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อการตีพิมพ์
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ
1. เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีของการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อการตีพิมพ์
2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้คณาจารย์ในการเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ
3. เพื่อให้ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ได้รับการตีพิมพ์เพิ่มมากขึ้น
ในการประชุมหลายครั้ง เราได้พูดคุยถึง good practice
ของอาจารย์หลายท่านที่เขียนบทควาทางวิชาการ แล้วนำเสนอ
ซึ่งมีเวทีมากมายที่จะรับผลงานตีพิมพ์ เชื่อมโยงกับฐานข้อมูล TCI
ก็จะช่วยให้บทความที่นำเสนอมีความน่าเชื่อถือ น่าสนใจ และเป็นที่ยอมรับ
บุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเวทีต่าง ๆ เรื่องการเขียน และการให้ความสำคัญ
กับการเขียนบทความวิชาการ
เช่น การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อใช้เป็นผลงานทางวิชาการหนึ่ง
ที่ถูกใช้เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ
โดยคณะสนับสนุนให้เข้าร่วมอบรม เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557
ซึ่ง ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ วิทยากร
พูดถึงความสำคัญของการเลือกนำเสนอในเวที ที่อยู่ในรายการของ TCI
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002
https://scontent-b-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-prn2/t1.0-9/p180x540/1511240_818713478142785_1400895810_n.jpg
มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้บุคลากรเขียนบทความทางวิชาการเสนอในเวทีต่าง ๆ
เช่น เวทีของมหาวิทยาลัยเนชั่น งานประชุม lampang 2020
การประชุมวิชาการ อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ ประจำปีการศึกษา 2556
การสนับสนุนให้นักศึกษานำเสนอภาคโพสเตอร์
ซึ่งผ่านการกลั่นกรองจาก อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย อ.ที่ปรึกษา
โดยมีงานที่ผ่าน 2 ชิ้นคือ น.ส.ศัลณ์ษิกา ไชยกุล และนายณภัทร เทพจันตา
https://www.facebook.com/ajarnburin/photos/a.779721072042026.1073741916.506818005999002/779721945375272/
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.779721072042026.1073741916.506818005999002
การจัดเวทีให้นักศึกษา และอาจารย์ได้มีโอกาสนำเสนอในเวที
ช่วยให้บุคลากรมีความเข้าใจเทคนิคการเขียนบทความ และการนำเสนอในเวทีดีขึ้น
ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอาจารย์ร่วมนำเสนอหลายบทความ
ทั้งในเวทีของมหาวิทยาลัย และเวทีนอกมหาวิทยาลัย
แล้วนำประสบการณ์มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในคณะวิชา
อาทิ ntc 2014 หรือ nccit 2014
เพื่อเชิญชวนทุกท่านได้ออกไปนำเสนอในเวทีต่าง ๆ
http://www.nation.ac.th/ntc2014/
หลาย ๆ คณะก็มีการจัดเทคนิคแบบนี้ หากทุกคณะมีการรวมงานที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ไว้เวลาเดียวกัน ก็จะประหยัดเวลาได้
เห็นด้วยกับ อาจารย์รุ่งรัตน์ อย่างยิ่งครับ