การจัดทำหลักสูตรตามกรอบมาตฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ

  1. อาจารย์มีความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน TQF ที่แตกต่างกัน แก้ปัญหาโดย จัดประชุมร่วมกันในคณะ เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน รวมทั้งกำหนดอาจารย์ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ มคอ.3 แต่ละรายวิชาในหลักสูตร
  2. อาจารย์บางท่านขาดความเข้าใจในการเขียน มคอ.3 และ มคอ.5 ที่สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตร แก้ไขโดย มีอาจารย์พี่เลี้ยงที่เข้าใจในเรื่องดังกล่าวในการอธิบายเป็นรายบุคคลและรายวิชา
  3. อาจารย์บางท่านขาดความเข้าใจในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง มคอ.3 และ มคอ.5 แก้ปัญหาโดย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ในการเขียน มคอ.3 และ มคอ.5 และเปิดโอกาสให้อาจารย์ฝึกปฏิบัติจริง
  4. ในการจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.5 ไม่มีการกำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ทำให้รายละเอียดของเนื้อหาใน มคอ.3 และ มคอ.5 มีความแตกต่างกัน แก้ไขโดย ให้สำนักงานหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดรูปแบบ มคอ.3 และ มคอ.5 ที่เป็นมาตรฐานสำหรับทุกคณะวิชา
  5. ขาดคู่มือเพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.5 แก้ปัญหาโดยการ มอบหมายให้สำนักงานหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำต่อไป
  6. อาจารย์มีความเข้าใจในเรื่องของการทวนสอบที่แตกต่างกัน แก้ปัญหาโดย ให้สำนักงานหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดรูปแบบการทวนสอบที่เหมาะสมสำหรับทุกคณะวิชา

สรุปองค์ความรู้โดย อ.เกศริน อินเพลา

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น