แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประชุมเพื่อวิพากษ์
(ร่าง) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จ.เชียงใหม่
จากการนำเสนอร่างคู่มือให้วิพากษ์ แสดงความคิดเห็น ก่อนนำข้อเสนอแนะจาก 9 เครือข่าย
ไปพิจารณาปรับเป็นเล่มสมบูรณ์นั้น เริ่มวิพากษ์โดย รศ.ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง
ชี้แจงตัวบ่งชี้ว่ามีการแบ่งเป็น 3 ระดับการประกันคุณภาพการศึกษา
คือ หลักสูตร คณะวิชา และมหาวิทยาลัย
แล้วแต่ละระดับยังแบ่งออกเป็นเกณฑ์ของระดับการศึกษา
คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ซึ่งกระผมสนใจส่วนของปริญญาตรีเป็นหลัก
พบว่า
ตัวบ่งชี้ 1.1 – 1.14 เป็นของระดับหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 2.1 – 2.8 เป็นของระดับคณะวิชา
ตัวบ่งชี้ 3.1 – 3.10 เป็นของระดับมหาวิทยาลัย
หลังการชี้แจงมีการแบ่งกลุ่มของหลักสูตร กับ กลุ่มคณะวิชาและสถาบัน
เพื่อรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดทำคู่มือ เป็นลำดับต่อไป
โดยมี รศ.อุษณีย์ คำประกอบ เป็นผู้นำกลุ่มคณะวิชาและสถาบัน
แล้วกลุ่มหลักสูตรมี ศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ และนพ.ณัฐพงษ์ อัครผล (คุณหมอต้น) ร่วมกันดำเนินการ
สำหรับรายละเอียดของตัวบ่งชี้ ปี 2557 นั้น พบว่า
ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
1.จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้
2.คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน
3.คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือตำแหน่ง ผศ.อย่างน้อย 2 คน
4.มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด
5.การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพ หลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยต้องผ่านตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ทุกตัว
ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย
การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
การประเมินในระดับคณะ
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับคณะ จำนวนรวม 8 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี)
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม
+ การบริหารจัดการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์
การประเมินในระดับสถาบัน
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับสถาบัน จำนวนรวม 10 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
3.2 การบริการนักศึกษา
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม
+ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มี 1 ตัวบ่งชี้
3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
+ การบริหารจัดการ มี 2 ตัวบ่งชี้
3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
3.10 ผลการบริหารงานของคณะ
(คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคุณทุกคณะ)
http://thainame.net/edu/?p=3754
http://www.scribd.com/doc/221987061/
สำหรับ ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1.อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2.มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3.มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4.การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5.จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ซึ่งเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อจากทั้งหมด 12 ข้อนี้ อยู่ในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ของสกอ.
http://www.arc.cmu.ac.th/newmis/qa/manual/intro_manual_2553.pdf หน้า 160
การประชุมครั้งนี้มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 11 คน คือ
1. คุณภูษณิศา เนตรรัศมี
2. อ.อัศนีย์ ณ น่าน
3. อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ
4. อ.อาภาพร ยกโต
5. อ.ฉัตรชัย หมื่นก้อนแก้ว
6. อ.คนึงนิจ ติกะมาตรย์
7. อ.ศศิวิมล แรงสิงห์
8. อ.เกศริน อินเพลา
9. ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
10. อ.ปฏิญญา ธรรมเมือง
11. อ.ดร.วันชาติ นภาศรี
เฉพาะ เกณฑ์ สกอ.ที่ประเมินระดับหลักสูตร สมศ. ยังไม่ประเมินถึงหลักสูตร