ต.ย. หัวข้องานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

research structure

research structure

กรณีนี้ เป็นเอกสารที่จำลองขึ้นมาว่า .. มีโอกาสได้สื่อสารกับนักศึกษา เรื่องการเตรียมเอกสารนำเสนอหัวข้อ หรือสอบป้องกันหัวข้อ สำหรับ 3 บทแรก ในกลุ่มนักศึกษาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก่อนจะเข้าสู่สนามสอบก็ต้องผ่านการพิจารณาซักซ้อมกับอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน ในการพิจารณาหลายครั้งนั้น ก็จะมีการให้ข้อเสนอแนะปรับแก้ และติดตามให้มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ได้เอกสารสื่อออกมาได้ตรงกับที่ตั้งใจ ซึ่งรายละเอียดที่ใช้ในแต่ละสถาบัน แต่ละหลักสูตรก็จะมีการกำกับดูแล มีตัวแบบ ขั้นตอน หรือเกณฑ์พิจารณาที่แตกต่างกันไป

ตัวแบบหัวข้อ การศึกษาค้นคว้าอิสระ
สำหรับ 3 บทแรก (ตัวเลขหัวข้อย่อย เวลาเขียนจริง ไม่ต้องมีตัวเลขกำกับนะครับ)

บทที่ 1 บทนำ
1. ชื่อหัวข้อ - มักพบว่ามีคำที่ใช้เป็นตัวแปรตามในกรอบแนวคิด
2. บทนำ
2.1 ภาพกว้าง
2.2 พบประเด็นอะไร
2.3 เสนอแนวทางหาคำตอบที่สอดรับกับหัวข้อ
3. วัตถุประสงค์ - ตอบหัวข้อ และบทนำ
4. ขอบเขต - เนื้อหา+ประชากร+ตัวแปร+เวลา+สถานที่
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - สอดรับกับวัตถุประสงค์
6. นิยามศัพท์ - อธิบายคำที่ต้องขยายความ
7. สมมติฐานการวิจัย - มักได้คำตอบด้วยค่าสถิติ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - ต้องถูกใช้ในแบบสอบถาม
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - ต้องถูกใช้ในการอภิปรายผล
3. กรอบแนวคิดในการวิจัย - สิ่งที่เรารู้ กับสิ่งที่เราค้นหา
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
1.  ขั้นตอนดำเนินการวิจัย - เป็นข้อ จนถึงสรุปผล
2.  แหล่งข้อมูล - ปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ
3.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง
4.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - ให้เหตุผลของแต่ละเครื่องมือ
5.  การเก็บรวบรวมข้อมูล - ใช้เครื่องมือใด ที่ไหน อย่างไร
6.  การวิเคราะห์ข้อมูล - ค่าสถิติใด ใช้เพื่ออะไร

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น