โต๊ะออกแบบ (โต๊ะทำงานออกแบบ)
เกิดขึ้นจากวิธีการและกระบวนการ การสร้างสรรค์ผลงานของนักออกแบบที่เป็นวิธีการออกแบบสมัยใหม่ แตกต่างจากการสร้างสรรค์ผลงานในอดีต ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบและผลิตผลงานการออกแบบของตนเองมักอยู่ในตัวคนๆเดียว คือช่างฝีมือผู้สร้างสรรค์งานหัตถกรรมรับใช้สังคม ต่อมาเมื่อมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความสลับซับซ้อนของสภาพความต้องการของผู้ใช้ จนเกินกว่าที่ช่างฝีมือเพียงผู้เดียวจะจัดการออกแบบและผลิตสนองความต้องการให้ได้ครบถ้วน จึงทำให้เกิดอาชีพนักออกแบบขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่นี้มักเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนมาโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงวิธีการทำงานออกแบบในอดีตที่ผ่านมาจึงอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. วิธีการของช่างฝีมือ
เป็นวิธีการทำงานโดยการลองผิด-ลองถูกของช่างฝีมือด้วยความคุ้นเคยกับปัญหาในงานของตน ช่างฝีมือจะจัดการแก้ไขปัญหาอย่างได้ผลตรงจุดนั้นโดยการค่อยปรับเปลี่ยน ช่างฝีมือได้รับการฝึกฝนขณะทำงานเป็นลูกมือมาก่อนจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ วัสดุและกรรมวิธีการผลิตสะสมไว้อยู่ในความทรงจำเนื่องจากไม่มีการบันทึกและการวาดภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น การพัฒนาในงานออกแบบจึงกินเวลานาน และทำให้ยากที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งหมดมักเป็นการค่อยปรับเปลี่ยนไปทีละเล็กทีละน้อยในระหว่างการทำงาน
2. วิธีการของช่างเขียนแบบ
เป็นวิธีการทำงานที่ใช้แบบ(Drawing) เป็นศูนย์กลางในการคิด การปรับปรุงและการพัฒนาแบบ เนื่องจากในการทำงานออกแบบที่มีความซับซ้อนและมีขนาดใหญ่มากขึ้น เช่น การออกแบบอาคารหรือเรือเดินสมุทร เป็นต้น จำเป็นต้องมีการแบ่งงานออกเป็นแผนกตามความถนัดของแรงงานเพื่อช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วิธีการของช่างเขียนแบบต่างจากการทำงานของช่างฝีมือตรงที่ต้องใช้การวาดภาพสำเร็จขึ้นก่อนการลงมือทำ และใช้การคาดคิดล่วงหน้าไปในอนาคต วิธีการออกแบบในลักษณะนี้ช่วยให้มีอิสระในการเปลี่ยนแปลงและสามารถแก้ไขแบบได้ง่ายขึ้น
วิธีการทำงานออกแบบทั้ง 2 ลักษณะดังกล่าวเป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจนว่า มีแนวทางการเข้าสู่ปัญหาของงานออกแบบด้วยการใช้สัญชาตญาณและความชาญฉลาดเฉพาะตัวของช่าง ซึ่งไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอในการแก้ปัญหางานออกแบบในปัจจุบัน เนื่องจากสภาพความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น และความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบในงานออกแบบตั้งแต่มนุษย์ผู้ใช้งาน ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งงานออกแบบลักษณะเดิมไม่สามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้พัฒนาการทางเทคโนโลยีทำให้เกิดอุปกรณ์เครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานได้จำเป็นต้องใช้วิธีการทำงานอย่างเป็นระบบดังนั้นจึงทำให้เกิดความพยายามในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพออกแบบเพื่อทำการพัฒนาด้านกระบวนการออกแบบอย่างเป็นขั้นตอนโดยได้แบ่งการออกแบบเป็นขั้นตอนย่อยต่อเนื่องกัน มีการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่มของผู้เชียวชาญฝ่ายต่างๆและพยายามผสมผสานร่วมกันระหว่างวิธีการออกแบบลักษณะดั้งเดิมซึ่งใช้จินตนาการ ความชาญฉลาดและประสบการณ์ของนักออกแบบ กับวิธีการคิดอย่างนักวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ความเป็นเหตุเป็นผลและการทำงานอย่างเป็นระบบ ดังนั้นกระบวนการออกแบบใหม่จึงมีลักษณะที่สนับสนุนให้ผู้ออกแบบมีการคิดทั้ง 2 ลักษณะเกิดขึ้นด้วยกันคือ
1. การปล่อยให้จิตใจผู้ออกแบบมีอิสระในการสร้างความคิดจินตนาการ การคาดเดาและการเห็นแจ้งสำหรับทางเลือกต่างๆในเวลาใดก็ได้ โดยไม่ถูกยึดติดหรือครอบงำด้วยข้อจำกัดใดๆ
2. การใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการแยกแยะหาความเกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลตลอดจนการนำข้อมูลมาใช้อธิบายและเปรียบเทียบแนวความคิดเพื่อหาคำตอบหรือทางออกที่ถูกต้องเหมาะสมสูงสุด
ดังนั้นวิธีการออกแบบสมัยใหม่(Design Drawing)และวิธีการของช่างเขียนแบบ(Drafting)มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันดังนี้ คือ Design Drawing เป็นวิธีการใช้วงจรของความต่อเนื่องของข้อมูลจาก กระดาษ-ตา-สมอง-มือ-กระดาษ เพื่อจุดประสงค์ในการอธิบายแนวความคิดโดยอาศัยวิธีการทางด้านศิลปะในการหาทางเลือกจากหลายๆทางเลือก โดยการค้นหาจากรูปแบบที่มีความชัดเจนและเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และในโอกาสนี้เองที่นักออกแบบมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติการอย่างรวดเร็วโดยอาศัยสื่อกลางในการตอบสนองที่เป็นตัวแทนถึงรูปแบบของปัญหาเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้วสื่อกลางเหล่านี้ประกอบด้วยภาพเสก็ตต่างๆอย่างรวดเร็ว อาจจะบนกระดาษเปล่าหรือแม้กระทั่งซองจดหมาย
แม้ว่านักออกแบบจะSketch ได้ทุกสถานที่ แต่วิธีการแบบนี้เป็นวิธีการที่ถูกคิดไว้อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งแตกต่างกับวิธีการ Sketch งานบนโต๊ะที่ข้อมูลยังถูกคิดไม่สำเร็จดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำงานควบคู่กันไประหว่างการคิดและการ Sketch งานเพื่อนำเสนอ โดยระหว่างการทำงานจะใช้วิธีการแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่าUseful fild of view
ในการศึกษาทางจิตวิทยาด้านการรับรู้ทางการมอง ระบุว่า เหตุผลที่นักออกแบบชอบการเขียนรูปเล็กๆสำหรับการทำงานโดยมากเพราะว่ารูปภาพเล็กๆไม่เพียงแต่จะทำให้เขียนได้เร็วกว่าแล้ว ยังทำให้มีประสิทธิภาพดีกว่ารูปใหญ่ๆ ดังนั้นรูปภาพเล็กๆจะให้รายละเอียดมากกว่าจากการถูกควบคุมบริเวณพื้นที่ตรงกลางของ Retina (ที่ซึ่งการรับภาพได้ถูกเพ่งไปยังจุดนั้นๆ และพื้นที่ตรงกลางได้ถูกจำกัดทางด้านหน้าที่เสมือนขอบเขตที่ใช้ประโยชน์ได้ดีโดยปราศจากการถูกรบกวน) ด้วยเหตุนี้โต๊ะที่นักออกแบบใช้งานอยู่ทั่วไปจึงมีลักษณะที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆส่วนเพื่อสร้างทางเลือกที่อยู่ในขั้นตอนของการสร้างแนวคิดหลัก การออกแบบร่าง และการคัดเลือก
ที่มา : นวลน้อย บุญวงศ์.2542.หลักการออกแบบ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โต๊ะออกแบบสวยมากนะครับ
อยากได้ไปนั่งที่บ้านสักตัว คงทำให้ผมมีความสุขกว่าโต๊ะธรรมดาได้มากดังหมาย
เพราะนั่งวิปัสนากรรมฐานทีไรจิตไม่นิ่งสักที อยากได้ความสุขจากความสงบครับ
อ.เก๋
นุชจะเรียนอ.ว่า ท่านั่งสมาธิที่จริงส่งให้น้องตุ๊กทางเมล์แล้ว คือท่านั่งกับพื้นเสื่อนี่แหละ แต่จะเหยียดแขนวางที่หัวเข่าแจบนิ้วให้มีสติ…นั่งหายใจเข้าออกเป็นจังหวะ ไม่คิดอะไรมาหมายนัก เรียนจบออกแบบ แต่ที่บ้านไม่มีอะไรสวยงามและใหม่เลย ใช้ของมรดกตกทอดเก่าแก่ทั้งสิ้น ลมหายใจที่เคยทุกข์อยากมีอยากได้ พอเห็นแต่ของเก่าแล้วสงบเจ้า ช่างมันเถิดยังใช้ได้อีกนาน
ผมคิดว่านักออกแบบแต่ละคนมีแนวทางในการออกแบบไม่เหมือนกัน เช่น ความชอบส่วนตัว อากาศแวดล้อม ฯลฯ
เป็นบทความที่ดีมากคะ ทำให้หนูได้ความรู้ขึ้นมากมาย ขอบคุณสำหรับบทความดีๆคะ
จากที่อ่านบทความ เป็นบทความที่ดี อาจจะเป็นได้ว่าในการเป็นนักออกแบบแฟชั่นไทยสู้ตลาดโลก นักออกแบบที่ดีนั่นจะต้องมีศํกยภาพที่ดี โดยต้องมีการพัฒนาความรู้ด้านการตลาด เพื่อการส่งออก เพื่อการสร้างภาพลักษณ์นักออกแบบ และอื่นๆเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักออกแบบแฟชั่นไทยให้ทัดเทียมนักออกแบบระดับสากล รวมทั้งสามารถสร้างมูลค้าสินค้าแฟชั่น และส่งเสริมถาพลักษณ์การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาคเอเชีย อย่างโต๊ะออกแบบเป็นการออกแบบโดยรูปทรงเน้นทันสมัยสีสันสะดุดตาดีคะและการออกแบบเป็นการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
โดยนักออกแบบที่กำหนดเทรนด์ได้จะต้องมีความสามารถเฉพาะตัว มีวืสัยทัศน์ ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่เป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และได้รับความนิยมกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จากผลงานต้นแบบของเราให้เราเป็นผู้นำให้คนอื่นลอกเราบ้าง ไม่ใช่แค่เราเอาเขามาใช้และพัฒนาเพียงอย่างเดียว ซึ่งการมีความคิดริเริ่มต่างๆนี้จะทำให้มีสิ่งใหม่ๆ และคิดค้นโดยคนไทยมากๆ
จากบทความแล้ว อ่านแล้วมีเนื้อหาสาระมากคะ สมารถนำความรู้เล่านี้ไปใช้ในการเรียนวิชา PDSN412 ของอาจาน ได้อย่างดีเลยคะ ไม่ว่าจะเปนในเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ สามารถใช้เปนความรู้พื้นฐาน ของการเรียนได้ดีคะ
เนื่อหาบทความสามารถนำไปพัฒนาในกานเรียนวิชา PDSN412 ได้อย่างดีเยี่ยมเลยคะ