คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดการความรู้ (KM) : แนวปฏิบัติในการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

การจัดการความรู้ (KM): แนวปฏิบัติในการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา

                                                                     โดย อาจารย์ เบญจวรรณ นันทชัย**

**คณบดีคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น  ผู้แลกเปลี่ยนความรู้

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Desired State): อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สนใจ     

เนื้อหา (Content)  

    ความนำ

            กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework for Higher Education: TQF)     ได้กำหนดให้ทุกหลักสูตรต้องดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ        ในกลยุทธ์หรือกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ที่จัดให้แก่นักศึกษาเพื่อเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้    ในแต่ละด้านตามแผนที่การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) โดยความรู้และทักษะนั้น ๆ จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่สาขาวิชากำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2 หมวดที่ 4,5) และวิธีการดำเนินการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่ระบุไว้ในรายละเอียด ของรายวิชาทุกวิชา (มคอ. 3 มคอ.4 : หมวดที่ 7)  ทั้งนี้ให้มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาอย่างน้อย   ร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา

 

แนวทางปฏิบัติ :  การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

มหาวิทยาลัยเนชั่น มีนโยบายในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้คณะวิชาต่าง ๆ พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรให้สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเครื่องมือปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (Learning Outcome) เป็นสำคัญ ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ข้อ 6 กำหนดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 และมคอ. 4 อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพจึงกำหนดวิธีการ     ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาซึ่งคณะ ฯ ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

1. ดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำคณะ ฯ ที่เป็นคณะกรรมการวิชาการ

2. คณาจารย์พิจารณาคัดเลือกรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษาเพื่อดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยใช้แนวทางการพิจารณา คือ การคัดเลือกในรายวิชาแกน/วิชาเอก รายวิชาที่ระบุการเรียนการสอนสอดคล้องกับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการสุ่มรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคของแต่ละปีการศึกษาและไม่ทวนสอบรายวิชาเดิมหรือซ้ำซ้อน สำหรับการดำเนินการทวนสอบรายวิชาในรายวิชาศึกษาทั่วไป และรายวิชาพื้นฐาน ขึ้นอยู่กับการดำเนินการมหาวิทยาลัย

3. ใช้กระบวนการทวนสอบในหลายวิธี เช่น การสังเกต การตรวจสอบ ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย การสอบถามนักศึกษา เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นนั้นได้มีการดำเนินการและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์  เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเป็นที่เข้าใจตรงกันและมีการจัดการเรียนการสอนจนบรรลุผลสำเร็จ

4. วิธีการทวนสอบ ดำเนินการโดยให้นักศึกษาประเมินตนเองเกี่ยวกับระดับความรู้ความสามารถ ทักษะ พฤติกรรมหลังจากเรียนทุกรายวิชาวิชาเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาในระบบการประเมินของมหาวิทยาลัย คณะกรรมการทวนสอบ ฯ นำผลการประเมินมาบันทึกในแบบรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่คณะ ฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการในทิศทางเดียวกัน

หมายเหตุ 

  1. ตัวบ่งชี้กำหนดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
  2. การทวนสอบเป็นการหาหลักฐานว่าได้มีการดำเนินการตามมาตรฐานผลการเรียนรู้และมีการจัดการเรียนการสอนจนบรรลุผลสำเร็จ
  3. แบบประเมินเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบประเมินเพื่อให้นักศึกษาได้ประเมินตนเองภายหลัง  การเรียนรายวิชาว่าเกิดผลการเรียนรู้อะไรบ้าง ซึ่งผู้ประเมินต้องนำไปเทียบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา (ตาม มคอ. 3) และ มคอ. 4 ว่าผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นของนักศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ หรือไม่

 

 

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพได้กำหนดให้มีระบบและกลไกการทวนสอบทางการศึกษาเพื่อตรวจสอบว่านักศึกษา     มีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และการได้รับการพัฒนาคุณลักษณะครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ตามที่กำหนดไว้           ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (มคอ. 2) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรโดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชาการทวนผลการเรียนรู้ได้ดำเนินการทวนสอบทั้งในระดับรายวิชา และในระดับหลักสูตร โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในระดับรายวิชา
กำหนดแนวทางดำเนินการ วิธีดำเนินการ/ แหล่งข้อมูลที่ทำการทวนสอบฯ
  1. มีคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

2. อาจารย์ผู้สอนต้องดำเนินการดังนี้

– จัดทำ มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) ล่วงหน้าก่อนเปิดภาคเรียน ในทุกรายวิชา

– จัดทำมคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)

– จัดทำมคอ. 6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report)

** ให้ครบทุกรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษา

1. แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการภายในคณะทำการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาระดับรายวิชาทุกรายวิชาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ โดยดำเนินการร่วมอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาทุกรายวิชา

 

3. คณะกรรมการทำการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับรายวิชา อย่างน้อย 25% ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาภายใน 2 สัปดาห์หลังสิ้นสุดการเรียนการสอน

3.1 อาจารย์ประจำสาขาวิชามีส่วนร่วมในการทวนสอบ ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3.2 คะแนนผลการประเมินความ       พึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน   ในแต่ละรายวิชา และสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ประเมินโดยนักศึกษาต้อง        ไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (องค์ประกอบที่ 2 สกอ. ตัวบ่งชี้ 2.6 )

 

 

3. ทำการทวนสอบโดยวิธีการวิเคราะห์จากเอกสาร/หลักฐาน ดังนี้

3.1 มคอ. 2 รายละเอียดหลักสูตร (Programme Specification)

3.2 มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification)

– หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

(ข้อ 2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้)

– หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

(ข้อ 1.  ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา)

(ข้อ 2. ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษาหรือการสังเกตการณ์สอน)

(ข้อ 4. ทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชา ได้แก่

การทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ งานที่มอบหมาย เช่น กรณีศึกษา

การนำเสนอรายงาน คะแนนการปฏิบัติงาน บันทึกประสบการณ์)

3.3มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification)

– หมวดที่ 3การพัฒนาผลการเรียนรู้

(ข้อ 3 วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง)

– หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา

(ข้อ 2 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา)

  1. คณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทำการวิเคราะห์ และสรุปผลการดำเนินการทวนสอบ ฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะ ฯ เพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
4. วิเคราะห์ และสรุปผลการทวนสอบ ฯ

4.1 มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)

– หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา

(ข้อ 7.การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ระบุวิธีการทวนสอบ และสรุปผลการทวนสอบ)

– หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง (ข้อ 2. การดำเนินการในการปรับปรุงรายวิชา)

 

 

 

 

แหล่งข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในระดับรายวิชา

 

มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification)

การจัดการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องรายละเอียด ของหลักสูตร แต่ละรายวิชาจะกำหนดวัตถุประสงค์และรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ในรายวิชา แนวทางการปลูกฝังทักษะและคุณลักษณะที่นักศึกษาจะได้รับ         การพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน วิธีการเรียน การสอนการวัดและประเมินผลในรายวิชา

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

ข้อ 1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

ข้อ 2. กลยุทธ์การประเมินการสอน

ระบุวิธีการประเมินที่จะได้ข้อมูลการสอน เช่น จากผู้สังเกตการณ์ หรือทีมผู้สอน หรือผลการเรียนของนักศึกษา     เป็นต้น

ข้อ 4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา      เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย กระบวนการอาจจะต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน

 

 

 

 

 

 

มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม  (Field Experience Specification)

การบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม โดยต้องวางแผน            ให้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร วัตถุประสงค์และกิจกรรมการฝึกต้องมีความชัดเจน                 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และทักษะจากประสบการณ์ภาคสนาม รวมทั้งเกณฑ์การวัดและประเมินผลประสบการณ์ภาคสนาม

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 3การพัฒนาผลการเรียนรู้

(ข้อ3วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง)

หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา

(ข้อ 2 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา)

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

(ข้อ 1 กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้

1.1 นักศึกษา

1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ

1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม

1.4 อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่)

มคอ.6

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 5 การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

-ความเห็น/ข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนามเสนอต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

– อาจารย์พี่เลี้ยงที่ดูแลกิจกรรมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

 

มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report)

การรายงานผล การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของ        การจัดการเรียนการสอนในวิชานั้น ๆ ว่า ได้ดำเนินการสอนอย่างครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียด          ของรายวิชาหรือไม่และหากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการเรียน    การสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงผลการเรียนของนักศึกษา จำนวนนักศึกษาตั้งแต่   เริ่มเรียนจนสิ้นสุด ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา

หมวดที่ทำการทวนสอบ ฯ

หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา

(ข้อ 7.การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ระบุวิธีการทวนสอบ และสรุปผลการทวนสอบ)

หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

(ข้อ 2. การดำเนินการในการปรับปรุงรายวิชา)

 

เครื่องมือที่ใช้ในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในระดับรายวิชา

1. แบบประเมินเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : แบบสัมภาษณ์นักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน

  1. แบบประเมินเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : แบบประเมินผลการนำเสนอรายงาน
  2. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา : แบบประเมินคุณลักษณะของตนเอง5 ด้าน
  3. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ : การจัดการเรียนการสอนชองอาจารย์ (ภาคทฤษฎี)

5. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ : แบบประเมินพฤติกรรมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา (ภาคสนาม)

6. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ : แบบประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย

 

เรื่องนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น