คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดการความรู้(KM) : การทำวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

การจัดการความรู้(KM): การทำวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

                                                 โดย  อาจารย์ ดิลกา ไตรไพบูลย์**

Tacit Knowledge **อาจารย์ผู้สอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณทิตและพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาพยาบาลชุมชนและสาขาพยาบาลอาชีวอนามัย) และหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นวิทยากร ในการทำ KM และการเขียนบทความทางวิชาการ

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Desired State): อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สนใจ

 เนื้อหา (Content) : การทำวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการควรเป็นงานวิจัย  ที่มีลักษณะ เป็นงานค้นคว้าอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล  หลักการ  หรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ  หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์  ใช้ให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ เช่นใช้ในการจัดการเรียนการสอน หรือสามารถประยุกต์ใช้กับงานบริการวิชาการเป็นต้น  ตลอดจนเป็นเอกสารที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและ งานวิจัยที่คณาจารย์ทำแล้ว  ให้นำเผยแพร่ควรมีลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

–        ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัย ในวารสารทางวิชาการ ที่มีคุณภาพตั้งแต่ดีจนถึงดีเด่น

–        ตีพิมพ์ในหนังสือรวมงานวิจัยระดับนานาชาติ  ซึ่งเป็นงานที่ได้รับเชิญให้เขียน  และ / หรือมีกองบรรณาธิการ ตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัยนั้นๆ

–        เสนองานวิจัยในรูปของเอกสารต่อที่ประชุมทางวิชาการ  ซึ่ง            เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ โดยมีการ นำไปรวมเล่มเผยแพร่ในรูปของเอกสารวิชาการ  (proceeding) จากการประชุมครั้งนั้น

–        ในกรณีที่งานวิจัยฉบับสมบูรณ์  มีความยาวขนาดเล่มหนังสือ  จะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  ก่อนนำเผยแพร่ไปยังสถาบันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

–        ได้รับการพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา  และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

–        ผลงานที่มิได้จัดทำแต่ผู้เดียว  ให้ระบุผู้ขอมีส่วนร่วมจัดทำร้อยละเท่าไหร่

จัดทำอยู่ในส่วนใด  และผู้ร่วมจัดทำ  ต้องรับรองว่าผู้ร่วมจัดทำ  ได้จัดทำในส่วนใด

** ข้อควรระวังคือ ผลงานทางวิชาการ ต้องไม่เป็นผลงานที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือ เคยใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่ง หรือเลื่อนวิทยฐานะ มาแล้ว เช่น ขอตำแหน่ง ศาสตราจารย์ (ศ.) ผลงานวิจัยไม่ควรซ้ำกับการที่เคยขอตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ (รศ.) หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) เป็นต้น

เรื่องนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น