ความรู้เรื่องต้นไม้ชุมชน และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

community tree

community tree – ภาพโดย อ.วิเชพ ใจบุญ

ต้นไม้ชุมชน คือ เครื่องมือวิเคราะห์ชุมชน
โดยแบ่งต้นไม้ออกเป็นส่วน ๆ ที่มีหน้าที่สัมพันธ์กัน
แล้วเปรียบเทียบว่าแต่ละส่วนของต้นไม้ก็เหมือนแต่ละส่วนของชุมชน
และให้คนในชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ว่าแต่ละส่วนที่ชุมชนมีนั้นมีอะไรบ้าง
ประกอบด้วย
1. ราก – ประวัติ วัฒนธรรม รากเหง้า
2. ลำต้น – ทรัพยากร
3. กิ่ง – เครือข่ายในชุมชน
4. ใบ – ผู้นำหาอาหารมาหล่อเลี้ยงทั้งต้น
5. ผล – สิ่งที่เจริญงอกงาม โดดเด่นได้จากองค์ประกอบข้างต้น

บางครั้งอาจพบการเปลี่ยนจากต้นไม้ชุมชนเป็นต้นไม้ปัญหา
เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา โดยแบ่งรากเป็นสาเหตุ ลำต้นเป็นปัญหา และผลเป็นผลกระทบ

วรวัช ไชยธิ

วรวัช ไชยธิ

วรวัช ไชยธิ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง ต้นไม้ชุมชน ว่า
เรื่อง ต้นไม้ชุมชน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์
ในเรื่องของรายละเอียด ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา การเปลี่ยนแปลง หรือ สิ่งใหม่ที่เกิดกับชุมชน
แบ่งความสัมพันธ์ได้ 5 ส่วน คือ ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ผล
1.ราก คือ ประวัติศาสตร์ รากเหง้า ของชุมชน
2.ลำต้น คือ ทรัพยาการที่ล่อเลี่ยงชุมชน
3.กิ่ง คือ ระบบความมสัมพันธ์ในชุมชน
4.ใบ คือ ผู้นำของชุมชน
5.ผล คือ ผลกำไรจากการประกอบอาชีพในชุมชน
5 ส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
และสามารถบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละส่วนในชุมชนนั้น ๆ ได้
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

ณัฐชนน แก้วตัน

ณัฐชนน แก้วตัน

ณัฐชนน แก้วตัน แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง ต้นไม้ชุมชน ว่า
ต้นไม้ชุมชน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์
ในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีหรือวิถีชีวิตของคนในชุมชน
ซึ่งจะแบ่งความสัมพันธ์ออกเป็น 5 ส่วน
คือ ส่วนของราก ลำต้น กิ่ง ใบ และผล ซึ่ง ส่วนต่างๆ มีความหมายดังนี้
1. ราก เปรียบเสมือนประวัติศาสตร์
2. ลำต้น เปรียบเสมือนวัฒนธรรมประเพณี
3. กิ่ง เปรียบเสมือนวิถีชีวิต
4. ใบ เปรียบเสมือนผู้นำชุมชน
5. ผล เปรียบเสมือนความเปลี่ยนแปลงในชุมชน
ซึ่ง 5 ส่วนนี้ หมายถึง การสืบทอดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
หรือการเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบันนั่นเอง
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น