ความรู้เรื่องแผนที่ความคิด และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย

mind map

mind map – ภาพโดย อ.วิเชพ ใจบุญ

แผนที่ความคิด (Mind Map)
คือ แผนผัง (Diagram) ที่ใช้แสดงแนวความคิดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ จากจุดศูนย์กลาง
แล้วแตกแขนงออกไปเหมือนเส้นประสาทในสมองของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกัน
โดยที่แผนที่ความคิดถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นจุดกำเนิด หรือการเริ่มต้นในการทำงานต่าง ๆ
การเขียนแผนที่ความคิดจะมีโครงสร้างและแนวความคิดแตกต่างกันออกไป
ขึ้นอยู่ว่าจะนำมาเขียนในประเด็นอะไร
อาทิ นักศึกษาใช้เล่าเรื่อง programmer

อ้างอิงจาก บทความแผนที่ความคิดของ ดร.อาณัติ รัตนถิรกุล
ที่ http://www.arnut.com/b/node/286
ซึ่ง อ.วิเชพ ใจบุญ ได้แบ่งปันมาในกลุ่มเฟสบุ๊ค

พิทยา กานต์อาสิญจ์

พิทยา กานต์อาสิญจ์

พิทยา กานต์อาสิญจ์ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง Mind Mapping ว่า
Mind Mapping เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ดี และกว้างมากในการเขียนแผนผังความคิดที่ไม่มีขอบเขต
สามารถที่จะเขียนเรื่องราวได้จากหัวข้อเดียว
แล้วขยายเป็นรากแยกออกไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุดที่จะจำกัดความคิดของเราได้
แต่ต้องมีความรู้ด้านนั้น ๆ เพื่อเขียนออกมาเป็นเรื่องราว
ถ้าหากไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านนั้นจริง ๆ ควรไปศึกษาสิ่งที่ต้องการเขียนออกมาก่อน
ไม่งั้นจะไม่สามารถเขียนอะไรออกมาได้เลย ถึงจะชอบเรื่องนั้น ๆ มากก็ตามครับ
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจากคุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

เกี่ยวกับ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

เป็นอาจารย์ฺประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ สอนด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล การโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบงานบริการวิชาการ สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การประกันคุณภาพการศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัยในชั้นเรียน และระบบสารสนเทศ
เรื่องนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น