องค์กรแห่งการเรียนรู้

หากจะให้คำนิยามในทัศนะของผม องค์กรแห่งการเรียนรู้ น่าจะหมายถึง องค์กรที่มีโครงสร้าง และกลไก ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีบุคลากรที่ตระหนักและขวนขวายในการเรียนรู้ จากประสบการณ์การทำงานของตนเอง จากเพื่อนร่วมงาน ทั้งจากภายในและภายนอก ในเรื่องนี้อยากสะท้อนความคิดเห็นบางอย่างจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง ในการประชุมชี้แจงแผนกลยุทธ์ และแผนการตลาด ที่ผ่านมา โดยสรุปเป็นประเด็นดังนี้

1. คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยนำประสบการณ์หรือความรู้ในอดีต มาคิดวิเคราะห์เพื่อนำมาปรับปรุงและทำกิจกรรมหรืองานในครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะขาดระบบและกลไกในการเรียนรู้และตรวจสอบว่า ภาระงานต่างๆ สมบูรณ์ในทุกขั้นตอนแล้วหรือยัง

2. การทำงานที่พูดกันเสมอว่าต้องบูรณาการ แต่เอาเข้าจริงๆ แทบทุกงานขาดการบูรณาการ ใครที่เคยรับผิดชอบก็ต้องรับผิดชอบต่อไป แต่ถ้ามองในแง่ดี คนๆ นั้น จะรู้ทุกเรื่อง แต่จะได้คุณภาพหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง วิธีการบูรณาการในงานต่างๆ ไม่ขอแสดงความคิดเห็น

ผมขอแนะนำในบางเรื่องดังต่อไปนี้

1. เรื่องเครื่องปรับอากาศที่มีปัญหา เป็นความรับผิดชอบของใคร คงต้องไล่กันเป็นทอดๆ แน่นอน เหมือนงูกินหาง แต่ในเรื่องนี้ ผมคิดว่า ผู้รับผิดชอบในการจัดการประชุม ต้องตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ก่อน ถ้าห้องไม่พร้อม ต้องหาห้องใหม่ หรือเลื่อนการประชุมออกไป

2. ในการประชุมครั้งนี้ เป็นหัวข้อที่สำคัญ และทุกคนต้องมีส่วนร่วมรับรู้ และนำไปปฏิบัติ ดูเหมือนว่า อาจารย์ต่างประเทศมากันมาก แต่จะรับรู้ได้สักกี่เปอร์เซ็นต์ ผมว่าน่าจะจัด Session แยกสำหรับอาจารย์ต่างประเทศ น่าจะได้ผลที่ดีกว่านี้

3. เทคโนโลยีดูจะมีปัญหาในการนำเสนอในครั้งนี้ เพราะแต่ละ Slide ต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะ Load ขึ้นมาบนจอภาพ ไม่แน่ใจว่าเป็นที่ Hardware หรือ Virus หรือ Software ผมคงไม่ต้องแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะมีทางออกหลายทาง

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับไปที่ องค์กรแห่งการเรียนรู้

  1. อาจารย์กล่าวถึงระบบและกลไก ทำให้ผมนึกถึง กศน. หรือโรงเรียน ที่เขาติดประกาศขั้นตอนการทำงานซึ่งเป็นระบบ และมีคณะกรรมการมาขับเคลื่อนระบบให้ดำเนินไป สำหรับมหาวิทยาลัยโยนกของเรา เคยมีคนเขียนเรื่องระบบและกลไกใน blog แห่งนี้แล้วครับ โดยลอกมาจากเอกสารที่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ แจกในที่ประชุมผู้บริหาร คิดว่าทุกคนคงทราบกันแล้ว ซึ่งมีใจความว่า
    “ระบบ (System) จะเน้นที่กระบวนการ
    หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ
    กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบมาดำเนินการ ควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีรายงานการประชุมคณะทำงาน รายงานผลการดำเนินการ การประเมินระบบ และสรุปผลการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้”

  2. atichart พูดว่า:

    สรุปแล้ว โยนกยังไม่มีทั้งระบบและกลไก หรือมีระบบแล้วแต่ขาดกลไก แล้วใครจะเป็นผู้กำหนดหรือบอกได้ว่า โยนกต้องมี หรือควรมีสักกี่ระบบ คณะและหน่วยงานบริการต่างๆ ควรเป็นผู้คิดเองหรือไม่ว่าแต่ละหน่วยงานควรจะมีสักกี่ระบบ หรือจะใช้ตามจำนวนองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ตาม QA ก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว

ใส่ความเห็น