การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบแบบอัตนัย และปรนัย

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร เสริตานนท์ เป็นวิทยากร

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

จุดมุ่งหมายของการวัดผล คือ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของนักเรียนว่านักเรียนมีความบกพร่องหรือไม่เข้าใจเรื่องใด อย่างไร แล้วครูก็ต้องพยายามพัฒนาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และให้มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน ให้เป็นตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

1937296_970496249698490_1102094653564916616_n

ข้อสอบแบบอัตนัย

แบบทดสอบแบบอัตนัยหรือเขียนตอบที่ดีสามารถวัดพฤติกรรมระดับ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์

หลักการสร้างข้อสอบแบบอัตนัย
1) กำหนดให้ชัดเจนว่าจะวัดพฤติกรรมด้านใด
2) เขียนคำถามให้ชัดเจน คำถามในสถานการณ์ใหม่ๆ คำถามเฉพาะจุดที่สำคัญ
3) กำหนดความยากง่ายให้เหมาะสมกับวัยของผู้ตอบ
4) ควรเฉลยคำตอบไปพร้อมๆ กับการเขียนคำตอบ
5) กำหนดเวลาการตอบนานพอสมควร

12509216_970496533031795_1816087811335109886_n   12790992_970450533036395_7697437467766134147_n

ข้อสอบปรนัย

ข้อสอบปรนัยสามารถแบ่งแยกย่อยได้ 5 ประเภท คือ
1) แบบตอบสั้นๆ
2) แบบเติมคำ
3) แบบจับคู่
4) แบบถูกผิด
5) แบบเลือกตอบ
หลักการสร้างข้อสอบแบบปรนัย
1) ตั้งปัญหาเป็นรูปคำถาม และต้องการคำตอบเพียงสั้นๆ
2) ต้องเป็นคำถามที่มีคำตอบตายตัวแน่นอน

ข้อดีของข้อสอบแบบตอบสั้นๆ คือ สร้างง่าย สะดวกรวดเร็ว  เขียนคำตอบได้ง่ายกว่าข้อสอบอัตนัย  สามารถเขียนคำถามได้มากข้อ และเหมาะสำหรับวัดพฤติกรรมการความรู้-ความเข้าใจ

12800145_970618376352944_5864717281896159318_n

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น