การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติของคณะนิเทศศาสตร์

ความสำคัญและแนวคิดสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติของคณะนิเทศศาสตร์

จากพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2544 ได้กล่าวในหมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่า  ผู้เรียนมีความสำคัญ ที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย ต้องเน้น ความสำคัญ ทั้งความรู้คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับ
กระแสสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก เพราะงานของวิชาชีพสายนิเทศศาสตร์เป็นงานที่เกี่ยวกับความเป็นไปกระแสหลักที่ต้องยึดเอาไว บนพื้นฐานของจรรยาบรรณและศีลธรรมอันดีงาม รวมทั้งรักษาความเป็นชาติ ความจงรักภักดีต่อสถาบันทั้ง 3 อย่างเหนียวแน่น

(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจแลประสบการณ์   เรื่องการ จัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนาศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

(๔) ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างงถูกต้อง

(๕) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้มีกระบวนวิชาในหลักสูตรที่สนับสนุนและตอบสนองต่อกฎหมายการศึกษามาตรา ๒๒ และ มาตรา ๒๓ ได้แก่

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 34 หน่วยกิต แบ่งออกเป็น

ก. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์                          14 หน่วยกิต

ข. กลุ่มวิชาภาษา                                                                  11 หน่วยกิต

ค. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์                              6 หน่วยกิต

ง. กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม                                          3 หน่วยกิต

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะนิเทศศาสตร์ดำเนินการจัดการทั้งวิชาที่เน้นการปฏิบัติทั้งกลุ่มวิชาแกน อันได้แก่วิชา COMM 104การออกแบบนิเทศศิลป์เบื้องต้น  COMM201 การถ่ายภาพสำหรับนิเทศศาสตร์ COMM203 จิตวิทยาและทักษะการสื่อสาร รวมไปถึงกลุ่มวิชาชีพทางนิเทศศาสตร์ ดังต่อไปนี้ คือ

(๑). จัดเนื้อหาหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดย คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น กรณีของการเรียนร่วมกันระหว่างชั้นปี  ทางคณะนิเทศศาสตร์มีการแก้ปัญหาโดยการทำงานกลุ่มสำหรับช่วงแรก และทำงานเดี่ยวเพื่อฝึกฝนทักษะต่อไป

(๒). ฝึกทักษะ กระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยอาจารย์ผู้สอนจะคิดโจทย์ในการปฏิบัติการเพื่อให้นักศึกษาได้แก้ปัญหา­­­ตลอดเวลาของการฝึกฝนทักษะวิชาชีพผ่านโครงการนักข่าวอาสา โครงการฝึกบิน (ฝึกวิชาชีพเสริมทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกไปทำ สหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน)

(๓). จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง­­ จากกิจกรรมรายวิชา เช่น วิชา COMM104 การออกแบบนิเทศศิลป์เบื้องต้น วิชา COMM201 การถ่ายภาพสำหรับงานนิเทศศาสตร์ DITR301 การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิตัล DITR302 การเขียนเพื่องานวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิตัล DITR303 การสื่อข่าวและการเป็นผู้ประกาศ DITR304 ความคิดสร้างสรรค์และการนำเสนอ DITR305 สุนทรียของการใช้ภาพและเสียงประกอบ ADPR302 การผลิตและการเขียนเพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ADPR306 การสร้างสรรค์งานโฆษณาและประชาสัมพันธ์  โดยนักศึกษาจะต้องค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเตรียมการทำงานเนื่องจากก่อนจะลงมือทำชิ้นงานแต่ละชิ้น นักศึกษาต้องมีการนำเสนอข้อมูลและขั้นตอนของการปฏิบัติงานต่ออาจารย์ผู้สอนก่อน และเมื่อผ่านกระบวนการนี้ไปได้ จึงจะสามารถผลิตชิ้นงานได้ และเข้าสู่กระบวนการของ คิดได้ ทำเป็น

(๔). จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ซึ่งแต่ละส่วนของโครงสร้างหลักสูตร
นั้นถูกออกแบบมาให้วิชาต่างๆสัมพันธ์กัน จึงทำให้นักศึกษาสามารถที่จะประกอบแต่ละวิชาไว้ด้วยกันและสามารถสร้างองค์ความรู้เพื่อไปตอบโจทย์ของวิชาอื่นๆได้ เช่น วิชา DITR301 การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิตัล นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้จากวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ DITR305 สุนทรียของการใช้ภาพและเสียง ADPR302 การผลิตและการเขียนเพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ADPR306 การสร้างสรรค์งานโฆษณาและประชาสัมพันธ์  มาประกอบกันได้ โดยมีวิชา DITR 304 ความคิดสร้างสรรค์และการนำเสนอ มาเสริมเป็นเทคนิกในการนำเสนอเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนผ่านงานเพื่อไปผลิตรายการวิทยุ วิทยุโทรทัศน์ หรือ สื่อดิจิตัล ขั้นสูงต่อไปได้

(๕). ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ

(๖). จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือมืออาชีพในสาขาต่างๆทุกฝ่ายในเครือเนชั่นและพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนานักศึกษาของคณะนิเทศศาสตร์ให้มีศักยภาพดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติสามารถตอบสนองพระราชบัญญัติการศึกษาพุทธศักราช 2544 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

 

แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ

(๑) เป็นผสมผสานระหว่างวิชาการและวิชาชีพ โดยการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ( Learning by doing )

(๒) ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงฝึกค้นคว้า ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองและฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มและเดี่ยว

(๓) ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวทางสายอาชีพเฉพาะทาง และเรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตย โดยการแบ่งกลุ่มทำงานผู้สอนจะดำเนินการร่วมกับผู้เรียนแบ่งกลุ่มย่อย มอบให้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น ศึกษาค้นคว้า แก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรม ฯลฯ
(๔) เน้นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการทำงานร่วมกัน เพื่อทดสอบการทำงานร่วมกันแบบทีม การสอนแบบนี้ต้องดำเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์คือ มีจุดประสงค์ของการทำงาน นักศึกษาจะต้องมีการกำหนดหน้าที่แต่ละคนให้แน่นอนและอาจารย์จะเป็นที่ปรึกษา เสนอแนะให้รู้ว่าจะหาความรู้ได้อย่างไร เมื่อไร ที่ใด

 

การจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการปฏิบัตินี้จะมีความเข้มข้นของสัดส่วนในการผสมผสานระหว่างวิชาการหรือทฤษฎีและวิชาชีพหรือปฏิบัติอยู่ที่ตัวเลข 50-50 จึงจะเป็นตัวเลขของความเข้มข้นทีลงตัวที่สุดและมีขั้นตอนดังนี้ คือ      

  1. ให้นักศึกษาเรียนรู้ในส่วนของวิชาการก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติ
  2. เมื่อลงมือปฏิบัติก็จะมองเห็นปัญหา
  3. และเมื่อมองเห็นปัญหานักศึกษาก็จะหาหนทาในการแก้ไขด้วยตนเอง
  4. เมื่อตนเองแก้ไขไม่ได้ก็จะปรึกษากับผู้รู้ หรือ อาจารย์ผู้สอน
  5. นำคำสอนหรือคำแนะนำมาแก้ปัญหาโดยผ่านการวิเคราะห์ร่วมกัน
  6. เมื่อวิเคราะห์ปัญหาได้ นักศึกษาก็จะสามารถสังเคราะห์ได้
  7. เมื่อสังเคราะห์ได้ก็จะสามารถจำวิธีการแก้ปัญหาได้และเกิดความทรงจำ
  8. เมื่อกระบวนการทั้งหมดถูกนำมาผ่านการฝึกฝนอีกซ้ำๆก็จะเกิดความทรงจำที่ยั่งยืน

ในรายวิชาของการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติของคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยเนชั่น สามารถที่จะจำแนกส่วนต่างๆนั้น คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่นได้จัดอาจารย์เพื่อสอนในรายวิชาดังกล่าวแยกออกเป็นสองวิทยาเขต เอาไว้ดังนี้ คือ

คณะนิเทศศาสตร์ บางนา ได้แก่

  1. อาจารย์สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ ( นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารเพื่อการพัฒนา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง / นิเทศศาสตร์บัณฑิต (วิทยุโทรทัศน์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2. อาจารย์ชินกฤต อุดมลาภไพศาล (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) เกียรตินิยมอับดับ1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  3. อาจารย์รัตนาวดี ลำพาย ( พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การจัดการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม นิด้า , ศิลปะศาสตร์บัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะนิเทศศาสตร์ ลำปาง ได้แก่

  1. อาจารย์พิมพ์พธู พินทุเสนีย์ ( ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. อาจารย์ปวิณรัตน์ แซ่ตั้ง (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต และ มหาบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม) Master of Science in Industrial Education (Industrial Design Technology) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  3. คุณสราวุธ เบี้ยจรัส เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษาชำนาญการ สอนเกี่ยวกับ การใช้อุปกรณ์สายวิชาชีพ ( นศบ.นิเทศศาสตร์บัณฑิต การโฆษณาประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 

เอกสารอ้างอิง

http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

รายงานการวิจัยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เรื่องนี้ถูกเขียนใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น