นโยบายวช. ด้านมาตรฐานการวิจัย และรูปแบบและวิธีการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ดร.จินตนาภา โสภณ ที่ปรึกษาด้านการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้บรรยายสรุปในประเด็นดังต่อไปนี้
-วิสัยทัศน์ วช.
-พันธกิจ วช. (จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย จัดทำมาตรฐานและแนวทางในการวิจัยของประเทศ)
-โครงสร้าง วช.
หน่วยงานที่สำคัญหน่วยงานหนึ่ง คือ กองมาตรฐานการวิจัย หน้าที่ของกองมาตรฐานการวิจัย ที่สำคัญคือ การกำหนดมาตรฐานการวิจัยของประเทศ และส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย
-ปัญหา อุปสรรคของงานวิจัย
- นโยบาย
- งบประมาณ
- หน่วยงาน
- จำนวนและคุณภาพนักวิจัย
- มาตรฐานการวิจัย
- การบูรณาการงานวิจัย
- การบริหารจัดการและการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
-ก่อนการปฏิรูประบบมาตรฐานการวิจัย
จะให้ความสำคัญเฉพาะจรรยาบรรณในการทำวิจัย ขาดการกำหนดมาตรฐานการวิจัย ขาดระบบและกลไก ตลอดจนไม่มีความเป็นสากล
-หลังการปฏิรูประบบมาตรฐานการวิจัย : มีการกำหนด
- มาตรฐานที่เกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์
- มาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
- มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ
- มาตรฐานการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ระบบมาตรฐานการนำส่งข้อมูลของโครงการวิจัยที่เสนอขอรับงบประมาณ (NRPM > NRMS)
-นโยบายด้านมาตรฐานการวิจัย
- พัฒนากระบวนการการจัดทำมาตรฐาน
- พัฒนากระบวนการขับเคลื่อน
- พัฒนากลไกในการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
- พัฒนามาตรฐานการวิจัยเพิ่มขึ้น
-รูปแบบและวิธีการเผยแพร่ผลงานวิจัย
- ประชุมวิชาการ
- เผยแพร่ในรูปแบบโปสเตอร์
- นำเสนอในวารสารวิชาการ
จะนำเสนอในรูปแบบใดก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญคือ จะต้องมีการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน ซึ่งกรณีนำเสนอผลงานฯ อาจแบ่งออกได้ ดังนี้
- สิ่งตีพิมพ์ปฐมภูมิ
- สิ่งตีพิมพ์ทุติยภูมิ
- สิ่งตีพิมพ์ตติยภูมิ
- คู่มือ พจนานุกรม
- ตำรา
ในการพิจารณาว่าสิ่งพิมพ์/วารสารเป็นวารสารวิชาการหรือไม่ ดูจาก
- มีบทความวิชาการประกอบอย่างน้อยครึ่งหน้า
- กรณีเป็นข่าวหรือเป็นการวิจารณ์หนังสือ ต้องมีสาระในเชิงวิชาการ
- มีศัพท์ทางเทคนิค
- มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
- มีหมายเลข
- มีการตรวจแก้ไขโดยผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์สาขานั้นๆ
- มีบทคัดย่อ/บทนำ/บทวิจารณ์/บทสรุป
- มีรายการเอกสารอ้างอิง
- อยู่ใน TCI List
การเขียนบทความวิชาการมักพบความบกพร่อง ดังนี้
- ยาวเกินไป
- ไม่แม่นข้อมูล
- บรรยายไม่กระจ่าง
- บกพร่องด้านภาษา
- ใช้ภาพประกอบอย่างฟุมเฟือย
– โครงสร้างบทความวิชาการ
– การเตรียมความพร้องก่อนเขียนและส่งบทความวิชาการ
– การเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์
การนำข้อมูลเผยแพร่ในระบบ TNRR
นายชัยยุทธ ชัยสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนามาตรฐานการวิจัย กองมาตรฐานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บรรยายในประเด็น ดังนี้
– บทบาทของ วช. เกี่ยวกับการให้ทุน
- เป็นผู้ประเมิน
- เป็นแหล่งทุน
2.1 งบวิจัยมุ่งเป้า
2.2 งบการจัดการความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยและนวัตกรรม
2.3 ทุนบัณฑิตศึกษา
2.4 ทุนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย (แม่ไก่-ลูกไก่)
– ระบบบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS) ขยายขอบเขตมาจาก NRPM และ TNRR
- Proposal Assessment
ประกาศทุน > ยื่นข้อเสนอ > ตรวจสอบ > ประเมิน > แจ้งผล
- Ongoing and Monitoring
นำเข้าจัดสรรงบประมาณ > เบิกจ่าย > รายงานความก้าวหน้า > ส่งรายงาน
- Research Evaluation
รายงาน/ผลิตภัณฑ์
– การจัดการโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
– คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR : www.TNRR.in.th)
– ประโยชน์ของ TNRR
- มีระบบฐานข้อมูลแบบบูรณาการ
- ลดความซ้ำซ้อนของโครงการวิจัย
- มีข้อมูลสำหรับฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ได้
- ฝ่ายบริหารสามารถมองภาพรวมงานวิจัยของทั้งประเทศได้
- นักวิเคราะห์สามารถมองเห็นรายได้ที่จะเกิดขึ้นได้
-เครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ
- วช.
- สกว.
- สวทช.
- สวก.
- สวรส.
- สวทน.
- สกอ.
การเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายสรุปประเด็นได้ดังนี้
-สังคมไทยต้องเปลี่ยนผู้เรียนจากการเป็น “ผู้บริโภค”(ความรู้) ไปเป็น “ผู้ผลิต”(ความรู้)
ที่ผ่านมา ประเทศไทยลงทุนทางการศึกษาสูงที่สุดในอาเซียน แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างผู้เรียนให้มีความสามารถในการผลิตความรู้
-จริยธรรมสูงกว่ากฎหมาย
นักวิจัยทุกคนต้องตระหนักในเรื่องจริยธรรมในการทำวิจัย การทำวิจัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือมากหรือพิเศษ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องบันทึกให้ถูกต้อง และอาจารย์ทุกคนต้องทำงานวิจัย เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ งานวิจัยเพื่อสังคมนั้นสามารถนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ แต่งานวิจัยเพื่อสังคมหรืองานวิจัยใดๆก็ตามที่เป็นงานบริการวิชาการจะนำงานนั้นๆมาขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้ หากต้องการนำงานนั้นๆมาขอตำแหน่งทางวิชาการต้องนำงานบริการวิชาการนั้นมาเขียนเป็นบทความวิชาการ เผยแพร่ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ จึงจะสามารถนำมาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ ดังนั้น จึงต้องแยกระหว่าง “วิชาการ” กับ “วิชาชีพ” “วิชาการ”นำมาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ “วิชาชีพ”นำมาขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้
-การทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ
ต้องมีความอดทน ซื่อสัตย์ กตัญญู
อดทน : งานวิจัยเป็นเรื่องใช้เวลา
ซื่อสัตย์ : ผลได้อย่างไร ต้องเป็นอย่างนั้น
กตัญญู : ต้อง acknowledge ผู้ที่เกี่ยวข้อง
-จริยธรรมในยุคดิจิตอล
ปัจจุบันงานวิจัยเผยแพร่ทางสื่อดิจิตอล ทำให้การเผยแพร่มีความรวดเร็วมาก การนำเสนอความรู้จึงต้องมีหลักฐานและต้องไม่ละเมิดผู้อื่น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำวิจัยในยุคดิจิตอลก็คือ
- แพร่กระจายได้รวดเร็ว
- Conflict of interest
- ต้องแยกระหว่าง belief กับ knowledge
-ความซื่อสัตย์ จริยธรรมและงานวิจัย
- Fabrication
ในงานวิจัยถือเป็นเรื่องร้ายแรงมาก เพราะเป็นการ make up ข้อมูลงานวิจัย เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองและประโยชน์ในการตรวจสอบ นักวิจัยจึงจำเป็นต้องมี Log book หรือสมุดบันทึก เพื่อใช้เป็นหลักฐานว่ามีการทำวิจัยจริง โดยการแก้ไขใดๆในสมุดบันทึกจะต้องไม่ใช้น้ำยาลบคำผิดแต่ให้ขีดฆ่าและเซ็นต์กำกับเพื่อให้เห็นร่องรอยการแก้ไข และเห็นข้อมูลก่อนการแก้ไข
- Falsification
หมายถึง การดัดแปลงข้อมูลหรือการแก้ไขข้อมูล ตัวเลข ทำไม่ได้ การนำรูปของผู้อื่นมาใช้ จะนำมาตกแต่ง ดัดแปลงไม่ได้ เว้นแต่เป็นการใส่ลูกศร หรือสิ่งจำเป็นอื่นๆ หรือเพิ่มเติมตัวหนังสือ การใช้ภาพของผู้อื่ต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตแล้วจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นภาพที่เจ้าของให้สิทธิในการนำไปทำซ้ำได้ก็จะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต (ตรวจสอบได้โดยการ search ไปที่คำว่า “สิทธิในการใช้งาน”)
- Plagiarism
หมายถึง Stealing another’s work หรือการขโมยงานของผู้อื่น เน้นการลอกงานของผู้อื่น วิทยากรมองว่าประเด็นที่ 3 นี้ร้ายแรงน้อยกว่า 1และ 2
– ปัจจุบันมีวารสารที่ออกมาหลอกลวงจำนวนมาก ผู้ที่ประสงค์จะเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานวิชาการควรพิจารณาให้ดี ไม่ว่าจะเป็น Phantom of conference หรือ วารสารที่อยู่ใน Beall’s list
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมการและการแก้สมการ ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
ชื่อผู้รายงาน : นางสาวพจณีย์ กาญจนเสนา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2559
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es โดยจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการและการแก้สมการ ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ซึ่งได้ผ่านการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด และขอบข่ายการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง และเรียบเรียงสาระตามโครงสร้างทางคณิตศาสตร์และครอบคลุมรูปแบบสมการของจำนวนตรรกยะบวกและศูนย์ทุกรูปแบบที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระดับประถมศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยกำหนดวงจรการปฏิบัติการไว้ 3 วงจร แต่ละวงจรปฏิบัติการมีการดำเนินการ 4 ขั้นคือ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action)ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติการ (Reflection) ตามแนวคิดของ Kemmis & Mctaggart การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่านักเรียนร้อยละ 83.33 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) ผลการศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการและการแก้สมการ ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es พบว่านักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยรวม 33.87 จากคะแนนเต็ม 45 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.27 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายทักษะ พบว่า นักเรียนทุกคนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ครบทั้ง 5 ทักษะ โดยนักเรียนมีทักษะการจำแนกมากที่สุด มีคะแนนคะเฉลี่ยร้อยละ 89.33 รองลงมาคือทักษะการจัดหมวดหมู่ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.87 ทักษะการการเชื่อมโยง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 73.33 ทักษะการสรุปความ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 65.57 และทักษะการประยุกต์ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 63.33 ตามลำดับ
3) ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าด้านรูปแบบกิจกรรม/สื่อ ด้านเนื้อหาและด้านประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.47 4.40 และ 4.68 ตามลำดับ ซึ่งด้านรูปแบบกิจกรรม/สื่อ และด้านเนื้อหามีค่าอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านประโยชน์มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า แต่ละข้อมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 4.23 ถึง 4.90 อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด