การพัฒนาแนวทางการนิเทศงานวิชาฝึกประสบการณ์สร้างเสริมวิชาชีพสาธารณสุข สำหรับอาจารย์ใหม่

ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) : ประเด็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

เรื่อง การพัฒนาแนวทางการนิเทศงานวิชาฝึกประสบการณ์สร้างเสริมวิชาชีพสาธารณสุข

สำหรับอาจารย์ใหม่

 

โดย  อาจารย์ ดิลกา ไตรไพบูลย์**

Tacit Knowledge**อาจารย์ผู้สอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณทิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น และเป็นวิทยากร ในการทำ KM และการเขียนบทความทางวิชาการ

 

เรียบเรียงโดย: คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

 

เป้าหมาย/ผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Desired State): อาจารย์นิเทศงานใหม่ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

เนื้อหา (Content) : กระบวนการนิเทศงานนักศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีลักษณะการดำเนินงาน ที่ใช้ในการกำกับ ติดตาม ให้คำแนะนำ การวัดผล และประเมินผลผู้ฝึกปฏิบัติ หรือนักศึกษา โดยให้ผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันประกอบด้วย อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน เป็นผู้ใช้กระบวนการดังกล่าว สำหรับการประเมินองค์ความรู้ ทักษะ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้จากศาสตร์และศิลป์ที่ได้เรียนรู้มาของนักศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งบัณฑิตที่มีคุณภาพ และสามารถนำองค์ความรู้ หรือทักษะที่ได้จากการเรียนและการฝึกปฏิบัติงาน มาใช้ในการทำงานในสาขาวิชาชีพนั้นได้อย่างเต็มความสามารถ การนำกระบวนการนิเทศงานมาใช้งาน ผู้นิเทศจึงต้องมีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากดำเนินงานตามกระบวนการไม่ถูกต้อง หรือเหมาะสมแล้ว อาจทำให้นักศึกษา หรือผู้ฝึกปฏิบัติ มีคุณภาพ และความสามารถในการทำงานในสาขาวิชาชีพนั้นได้อย่างไม่เต็มความสามารถเท่าที่ควร ซึ่งรูปแบบของการนิเทศงานในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์จะจำแนกออกเป็น ระดับต่างๆ อันประกอบด้วย

– ระดับที่ 1 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการสุขาภิบาลมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มคนไม่มีความเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

– ระดับที่ 2 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรค อันได้แก่ การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ การป้องกันควบคุมงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และการป้องกันควบคุมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพที่ดี ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

– ระดับที่ 3 การนิเทศงานที่เน้นการนำองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษา และการฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยจากโรค ในกลุ่มคนที่มีความเจ็บป่วย ให้มีสุขภาพดีขึ้น ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน

ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการนำรูปแบบการนิเทศงานทั้ง 3 ระดับมาใช้ในการดำเนินงานนั้น ผู้นิเทศงานต้องสามารถจำแนกระดับของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างชัดเจนว่าอยู่ในการนิเทศระดับใด เพื่อเป็นการป้องกันการผิดพลาดในการใช้กระบวนการนิเทศงาน ที่ไม่ถูกต้องกับระดับการฝึกปฏิบัติ

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำเป็นคู่มือสำหรับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์สำหรับนักศึกษาเป็นระดับต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้อาจารย์ที่นิเทศงานสามารถดำเนินการนิเทศได้อย่างถูกต้อง และมีคุณภาพต่อการจัดการเรียนการสอน 

manual-wil-1_58

ข้อความนี้ถูกเขียนใน KM:ด้านการวิจัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น